อากาศเย็นไมเกรนถามหา แนะวิธีรับมือลมหนาวป้องกันโรคอันตราย
เข้าสู่ปลายปี ลมหนาวมาแล้ว นอกจากเตรียมซักเสื้อกันหนาวแล้วขอให้เตรียมสภาพร่างกายก่อนพลาดเที่ยวปลายปี
หน้าหนาวไม่ใช่แค่ผิวแตก แต่ยังแฝงไปด้วยโรคจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ไม่ต่างจากหน้าฝนและหน้าร้อนแม้ประเทศไทยจะไม่ได้มีอากาศที่หนาวยาวนานแต่ก็เสี่ยงปรับสภาพร่างกายไม่ทันเช่นกัน ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า ปีนี้จะหนาวเย็นและนานมากกว่าปกติ
ไข้หวัด เกิดจาก อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อไวรัสก็เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
- อาการ ไข้ต่ำ มีน้ำมูก คัดจมูก จาม
- วิธีรักษา หากเป็นไข้หวัดจากเชื้อไวรัส การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ ทานอาหารครบ 5 หมู่ ก็สามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งยารักษา
หน้าหนาวปีนี้ ไทยเข้าสู่ฤดูหนาวปลายเดือนต.ค.จนถึงปลาย ก.พ. 66
ปลายฝนต้นหนาว ฤดูไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก รู้ทันป้องกันก่อนทริปปลายปีล่ม
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจาก เชื้อไวรัส อินฟลูเอ็นซา (influenza virus) ที่มักพบมากในฤดูหนาว- อาการ มีไข้ปานกลาง ถึง สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อมาก ปวดหัว อาจมีน้ำมูก ไอ
- วิธีรักษา ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม หรือป้องกันโดยการฉีดวัคซีน
ปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ เกิดจาก ที่ปอดของเรามีเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าไปอยู่ตามถุงลม ทำให้เนื้อปอดบริเวณนั้นไม่สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ
- อาการ แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก ไอ มีเสมหะ มีไข้สูง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำลง
- วิธีรักษา ควรมาพบแพทย์ เพื่อรับยาปฏิชีวนะและยาลดไข้ ตามความเหมาะสมของอาการ นอกจากนี้การดื่มน้ำเยอะก็ช่วยลดเสมหะได้เช่นกัน
โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า (Rotavirus) ที่พบได้ง่ายในฤดูหนาว และ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี
- อาการ ท้องเสียถ่ายเหลว และบ่อย อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ อ่อนเพลีย
- วิธีป้องกัน ในปัจจุบันได้มีวัคซีนป้องกันไวรัสนี้แล้ว โดยให้ทางปากในเด็กเล็ก (ไม่ได้ฉีดเหมือนวัคซีนชนิดอื่นๆ)
- อาการ มีไข้ ไอมาก ตาแดง น้ำตาไหล มีตุ่มเล็กๆ สีแดงคล้ำขึ้นตามผิวหนัง มีและจะหายไปเอง ภายใน 7 วัน บางรายต่อมน้ำเหลืองหลังใบหูบวม
- วิธีรักษา เนื่องจากโรคหัดไม่ใช่โรคร้ายแรง การรักษาจึงสามารถรักษาตามอาการจนกว่าจะหาย นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนที่สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่เด็ก
นอกจากโรงทางร่างกายแล้ว อาจจะเกิดสภาวะทางร่างกาย อาทิ
- อาการปวดหัว เนื่องจากสารเคมีและคลื่นไฟฟ้าในสมองเปลี่ยนแปลงจนอาจกระทบต่อเส้นประสาทและเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวหรือกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ นอกจากนี้ การเผชิญกับอากาศหนาวโดยตรงหรือการสูดหายใจนำอากาศเย็นเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้รู้สึกปวดหัวคล้ายกับตอนรับประทานไอศกรีมอย่างรวดเร็วได้อีกด้วย
- ผิวแห้ง ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในฤดูหนาว เพราะอากาศเย็นที่สัมผัสผิวหนังจะดูดเอาความชุ่มชื้นบนผิวหนังออกไปด้วย จนอาจทำให้รู้สึกได้ว่ามีบริเวณใบหน้า มือ หรือเท้า ซึ่งบางคนอาจมีอาการคัน ผิวแตก ผิวหนังอักเสบ หรืออาจทำให้โรคผิวหนังบางชนิดอย่างภูมิแพ้ผิวหนังมีอาการรุนแรงขึ้นได้
- ลมพิษ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับความเย็น ซึ่งจะทำให้ผิวหนังมีสีแดง แตก เป็นรอยนูนบวม และคันคล้ายผื่นลมพิษ
- ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ผู้ที่เผชิญภาวะนี้อาจมีอาการเหมือนผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่จะมีอาการป่วยเป็นช่วง ๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นในฤดูหนาว และอาการจะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจแสดงอาการในฤดูร้อนต่อไปได้เช่นกัน
"ไข้หวัดใหญ่" เปลี่ยนสายพันธุ์ทุกปี ฉีดวัคซีนจึงจำเป็น!
การดูแลตนเองและป้องกันภัยจากอากาศหนาว- สวมเครื่องแต่งกายที่ช่วยป้องกันความหนาวเย็น
- ดื่มน้ำอุ่นหรือรับประทานอาหารบางชนิด อย่างช็อกโกแลต ข้าวโอ๊ตบด ซุปฟักทอง น้ำขิง อาการเสริมภูมิต้านทาน และอาหารฤทธิ์ร้อน
- หากเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ หรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ไม่ควรออกนอกบ้านในวันที่มีอากาศเย็นจัด และควรทำให้อุณหภูมิภายในบ้านสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส
- ปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อป้องกันลมหนาว
- ทาครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง
- พยายามเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกายพอประมาณ
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และหากเกิดความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง
ข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลเปาโล,pobpad
“แก้วมังกร” ซูเปอร์ฟู้ดเพื่อสุขภาพ ลดน้ำหนักดีงาม แถมสร้างภูมิคุ้มกัน
นักวิจัย เผยความลับ น้ำผลไม้มีแอลกอฮอล์ตามธรรมชาติ