อาการขี้ลืมแบบไหนไม่ปกติเสี่ยงอัลไซเมอร์ เช็กสัญญาณโรคสมองเสื่อม
“อาการหลงๆ ลืมๆ” จนกลายเป็นเรื่องปกติ บางทีมันก็ไม่ปกติหากกระทบในการใช้ชีวิต เช็กก่อนว่าขี้ลืมปกติหรือสัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์ที่คนอายุน้อยก็เป็นได้
อาการลืม สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย บางครั้งเราต้องทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้ขาดสมาธิ, นอนไม่พอ หรือแม้แต่การกินยานอนหลับ ก็อาจทำให้มีอาการหลงลืมอะไรไปบ้าง แต่ถ้าหากลืมบ่อยๆ ถึงขั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิต อาจเป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
ขี้ลืมธรรมดา หรือ โรคสมองเสื่อม
อาการขี้ลืมแตกต่างจากโรงสมองเสื่อมชัดเจน ตรงที่จะไม่สามารถจำได้เลยว่าเพิ่งหยิบของมาหรือว่าเพิ่งทำอะไรไปก่อนหน้านั้น
แพทย์เผยอัลไซเมอร์เพาะพิษนานถึง 15 ปี วิจัยชี้ออกกำลังกายลดเสี่ยง2เท่า
สัญญาณเตือน! หลอดเลือดสมองตีบ รู้ก่อนอัมพฤกษ์อัมพาต
เช่น จำไม่ได้ว่ากินข้าวไปหรือยัง ทั้งๆ ที่เพิ่งกินข้าวไปเมื่อกี้ นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โดยไม่มีสาเหตุ หรืออยู่ดีๆ ก็หัวเราะ ยิ้มขึ้นมาเองทั้งๆ ที่ไม่มีเรื่องอะไรให้ยิ้มหรือหัวเราะ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้ในโรคสมองเสื่อมเช็กสัญญาณเตือนโรคสมองเสื่อม
- เริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ย้ำคิดย้ำทำ ชอบถามอะไรซ้ำ ๆ บ่อย ๆ
- แสดงอาการหลงทิศหลงทาง สับสนเรื่องเวลา
- มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึมเศร้าง่าย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว
- มักพูดไม่รู้เรื่อง มีการเรียงลำดับในการใช้คำพูดผิดไปจากเดิม
- สติปัญญาด้อยลง คิดเรื่องยากๆ หรือแก้ปัญหาไม่ค่อยได้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามปกติ
- มักวางของผิดที่ เช่น เอาโทรศัพท์มือถือไปวางในตู้เย็น วางในตู้เสื้อผ้า โดยที่ไม่คิดว่าตัวเองวางผิดที่
- ทำงานซับซ้อนไม่ได้ เช่น วางแผนงาน ลำดับงานไม่ได้ หรือแม้กระทั่งเลขง่าย ๆ ก็ไม่สามารถคิดได้
- บุคลิกเปลี่ยนไป มักไม่เข้าสังคม มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น อยู่ ๆ ก็ยิ้ม หัวเราะเสียงดัง โดยไม่มีสาเหตุ
จริงอยู่ที่ อัลไซเมอร์มักเกิดในคนอายุน้อย วัย 40 อัพ แต่ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่จะทำให้เกิดอัลไซเมอร์ในคนอายุน้อยได้ เพราะปัจจัยเสริม อาทิ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดต่างๆ โรคตับและโรคไตเรื้อรัง หรือมีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ไม่ออกกำลังกาย นั่งทำงานไม่ค่อยขยับตัว มีความเครียด นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้ย่อมเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้เร็วขึ้นนั่นเอง
อย่าคิดว่าแค่ไม่สวยจนชะล่าใจ “เส้นเลือดขอด” โชคร้ายถึงขั้นเสียชีวิต
ความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์
- การขาดวิตามินบางตัว เช่น วิตามินบี 12 และอี
- การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม สารเสพติด หรือยาบางชนิด
- การติดเชื้อจำพวกซิฟิลิส หรือเชื้อไพรออน CJD ที่เป็นโรคเรื้อรัง ไวรัส HIV
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- เป็นโรคโพรงน้ำในสมองโต
- มีเนื้องอกในสมอง
- เกิดอุบัติเหตุจนสมองได้รับความกระทบกระเทือน
อีกทั้งอัลไซเมอร์ยังเพาะเชื้อในร่างกายได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไปแสดงอาการในตอนอายุเยอะได้อีกโดยที่เราไม่รู้ตัวด้วย
วิธีห่างไกลอัลไซเมอร์- เล่นเกมฝึกสมอง เพื่อให้สมองได้มีการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา
- ออกกำลังกาย เพราะอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 60-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะทำให้ร่างกายแข็งแรง
- กินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ช่วยบำรุงเซลล์สมอง เช่น ผลิตภัณฑ์จากใบแปะก๊วย จมูกข้าว ข้าวกล้อง ไข่แดง และผักใบเขียว ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปโซเดียมสูง หวานจัด เค็มจัด ไขมันสูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอันจะส่งผลเสียต่อเซลล์สมองและภาวะอัลไซเมอร์
- งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคต่างๆและเร่งให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ด้วย
ทั้งนี้หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพื่อที่จะได้หาทางรักษาอย่างทันท่วงที
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
“หมอธีระวัฒน์” เผยงีบกลางวันนานและบ่อยเสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์
นักวิจัย เผย 3 วิธี ลับคมสมองให้เฉียบและแข็งแรงไม่เสื่อมง่าย