4 มีนาคม วันอ้วนโลก ค่า BMI เท่าไหร่? ถึงเรียกว่าน้ำหนักเกิน
เนื่องในวันอ้วนโลก (World Obesity Day)ที่ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนใส่ใจสุขภาพลดโรคเรื้อรังด้วยการตรวจวางแผนการใช้ชีวิตด้วยการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย ‘BMI’ หรือ ‘Body Mass Index’เพราะคำว่าอ้วนไป-ผอมไป ไม่ได้วัดกันที่น้ำหนักตัว
การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index หรือที่รู้กันว่าค่า BMI นอกจากจะทำให้รู้ถึงรูปร่างและสัดส่วนแล้วยังทำให้วางโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับตัวเองได้แบบเฉพาะทางให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังทำให้รู้ถึงความเสี่ยงต่อการก่อโรค อาทิ ภาวะโรคอ้วน และอาจเสี่ยงต่อแทรกซ้อน อย่างโรคความดันโลหิตสูง ระดับโคเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง หรือภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยวางมาตรฐานในผู้ใหญ่ที่อายุ 20 ปีขึ้นไปเพื่อรับมือและเร่งปรับพฤติกรรมได้อีกด้วย
4 มีนาคม วันอ้วนโลก กินมื้อเช้าได้สุขภาพดี ไม่ต้องกลัวอ้วน ลดพุงลดโรค
5 ประเด็นสำคัญ กับโรคอ้วน ภัยร้ายที่ไม่ได้รับเชิญ
ค่า BMI คำนวณจาก ค่าของน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลัง 2 และแสดงในหน่วย กก./ม2
ดัชนีมวลกาย BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
____________________
ส่วนสูง (เมตร)2
ผลลัพธ์การแปลผลค่า BMI
- ค่า BMI < 18.5 คือ น้ำหนักน้อยหรือผอม มีภาวะความเสี่ยงสูงที่ร่างกายขาดสารอาหาร ส่งผลกระทบให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ภูมิคุ้มกันพกบร่อง การออกกำลังกายควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบโปรตีนสูง จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีสารอาหารมากพอไปซ่อมแซมการทำงานของอวัยวะภายในได้อย่างเพียงพอ
- ค่า BMI 18.5 – 22.90 คือ เกณฑ์ปกติ กลุ่มนี้จะมีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้น้อยที่สุดแต่ยังคงต้องหมั่นตรวจเช็คการคำนวณค่า BMI จากการตรวจสุขภาพประจำปี
- ค่า BMI 23 – 24.90 คือ น้ำหนักเกิน
- ค่า BMI 25 – 29.90 คือ โรคอ้วนระดับที่ 1
- ค่า BMI 30 ขึ้นไป คือ โรคอ้วนระดับที่ 2
ซึ่ง 3 ลำดับสุดท้ายที่ค่า BMI มากกว่า 23 ขึ้นไป ควรเร่งปฏิบัติตัวเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเพราะเสี่ยงภาวะโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
“อ้วนลงพุง” พฤติกรรมก่อโรคเรื้อรัง มะเร็ง- เบาหวาน - ไขมันพอกตับ
เมื่อทราบผลค่าดัชนีมวลกายแล้ว ต้องปฏิบัติตัวเองเพื่อให้ห่างไกลโรค- การเลือกอาหารและเครื่องดื่ม ให้ถูกตามหลักโภชนาการ ทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ธัญพืช ผัก และผลไม้ ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อหลักเกินวันละ 3 มื้อ ลดหรือเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูง ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน และเลือกดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำตาลสูง
- การออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายอย่างน้อย ครึ่งชม.ต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมัน และรักษาสมดุลของร่างกายให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคต่างๆ ที่สำคัญทำให้สภาพจิตใจโปร่งสบายไม่เครียดด้วยนะคะ
การรู้ทันร่างกายจะสามารถรับมือวางแผนการใช้ชีวิต บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ง่ายขึ้น และหากไม่ถนัดคำนวนเอง สามารถคำนวญผ่านโปรแกรมของโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ "คลิกที่นี้ได้เลยค่ะ "
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช,โรงพยาบาลกรุงเทพ,คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แป้งไม่ทำให้อ้วน! เปิดสูตรลดน้ำหนักด้วย “ข้าว” ไม่เสียสุขภาพ ไม่โยโย่อีก
งงนะ!ทำไมกินน้อยแล้วยังอ้วน หาคำตอบ-วิธีแก้ระบบเผาผลาญให้ดียิ่งขึ้น