“อ้วนลงพุง” พฤติกรรมก่อโรคเรื้อรัง มะเร็ง- เบาหวาน - ไขมันพอกตับ
แนวโน้มโรคอ้วนในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องและถือเป็นภัยที่ก่อตัวขึ้นช้าๆ เพราะนอกจากจะนำมาซึ่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NDCs)และยังเผชิญกับภาวะแทรกซ้อน อย่างไขมันพอกตับทีเป็นจุดเริ่มต้นของโรคตับอันตรายด้วย แล้วอ้วนแค่ไหนถึงเสี่ยงโรค ?
ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนในเด็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า คนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป มีภาวะอ้วน ร้อยละ 42.2 และอ้วนลงพุง ร้อยละ 39.4 ขณะที่คนกรุงเทพ มีความชุกของภาวะอ้วนสูงที่สุด ร้อยละ 47 และผู้หญิงในกรุงเทพฯ มีความชุกภาวะอ้วนลงพุงสูงสุดถึงร้อยละ 65.3 และ ทั้งนี้พบว่าคนไทยอายุ 35 ปีขึ้นไปมีปัญหาลงอ้วนลงพุงเกือบร้อยละ 30
เช็กสัญญาณ“ไขมันพอกตับ”จุดเริ่มต้น ตับแข็ง – มะเร็งตับ คนผอมก็เสี่ยงได้!
นอนไม่หลับ! ใช้ “ยาแก้แพ้” ได้หรือไม่? รู้จักชนิดและผลข้างเคียงของยา
ขณะที่ สถิติในปี 2017 ผู้ป่วยโรคอ้วนในประเทศไทยที่สูงเป็นลำดับที่ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศมาเลเซีย คิดเป็น 16 ล้านคนที่เป็นโรคอ้วน คิดเป็น 16 ล้านคนที่เป็นโรคอ้วน แบ่งเป็นผู้ชาย 4.7 ล้านคนและผู้หญิง 11.3 ล้านคน นำมาซึ่งความเสี่ยงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NDCs) ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง
นอกจาก โรค NDCs และที่น่ากลัวภายใต้ไขมันคือมันมักจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเป็นหนัก และหากไม่ได้รับการรักษาอาจถึงขั้นป่วนหนักและถึงชีวิตได้ คนอ้วนเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
- ไขมันพอกตับ ร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับร่วมอยู่ด้วย ซึ่งไขมันพอกตับเกิดจากการกินอาการไขมันสูง น้ำตาล รวมถึงแอลกอฮอล์ ที่มากเกินไป ซึ่งเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไขมันก่อตัวขึ้นในตับ จนตับทำงานนำไขมันไปใช้หรือย่อยสลายไม่ได้ จนก่อให้เกิดการสะสมของไขมันพอกตับนำมาซึ่งโรคตับเรื้อรัง อย่าง ตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับด้วย
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน มักมีไขมันสะสมในผนังลำคอมากขึ้น ผนังลำคอจึงหนาและมีลักษณะลำคอหดสั้นมากขึ้น ช่องลำคอจึงแคบลง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ และเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนมักทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยตรง เนื่องจากระดับของไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันสะสมในร่างกายสูงกว่าปกติ ส่งผลให้หลอดเลือดหนาขึ้น หลอดเลือดแดงจึงตีบแคบ ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อย จนเกิดหลอดเลือดอุดตันในที่สุดและอาจพัฒนากลายเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
- กรดไหลย้อน ในผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีความดันในช่องท้องและความดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้น ทำให้กรดและอาหารที่กำลังย่อยในกระเพาะอาหารไหลทวนย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร เกิดเป็นโรคกรดไหลย้อนได้
- ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด เกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่คอยพยุงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะหย่อนยาน สามารถเกิดขึ้นได้จากภาวะผิดปกติของร่างกายด้านต่าง ๆ รวมถึงโรคอ้วนด้วย
- ประจำเดือนผิดปกติในสตรีที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติและมีภาวะอ้วนอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขาดประจำเดือนไปได้คราวละหลาย ๆ เดือน เนื่องจากในคนอ้วนผิวหนังสามารถเปลี่ยนเซลล์ไขมันไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- โรคเบาหวาน เนื่องจากในผู้ป่วยโรคอ้วน อินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนอาจออกฤทธิ์ไม่ดี และส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เนื้อเยื่อตอนปลายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง เบตาเซลล์ไม่ทำงาน ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ (Metabolic Syndrome)
- โรคข้อเสื่อม ในการเดินของคนอ้วนแต่ละก้าวจะเกิดเเรงกดกระแทกที่ข้อเข่ามากกว่าคนไม่อ้วน อีกทั้งข้อเข่าที่มีเนื้อเยื่อไขมันมาก ๆ จะล้นไปกดเเละทำลายผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ใกล้ ๆ เป็นการเร่งให้เกิดโรคข้อเสื่อมเร็วขึ้น
- ภาวะซึมเศร้า โดยโรคเหล่านี้อาการมักจะทุเลาหรืออาจดีขึ้นเมื่อมีน้ำหนักตัวลดลง
‘ยาแก้ปวด’ กินเกินขนาด ไม่หายปวดหัวแถมตับพัง แนะปริมาณยาที่เหมาะสม
แค่ไหนถึงจะเรียกว่าอ้วนเกินเกณฑ์ ?
วิธีวัดไขมันมีหลายรูปแบบ ที่นิยมใช้คือการวัดจากดัชนีมวลกาย (BMI) [ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) /ส่วนสูง (เมตร)]
- ค่า BMI < 18.5 คือ น้ำหนักน้อยหรือผอม
- ค่า BMI 18.5 – 22.90 คือ เกณฑ์ปกติ
- ค่า BMI 23 – 24.90 คือ น้ำหนักเกิน ซึ่งหากถึงระดับนี้ ควรเร่งปฏิบัติตัวเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเพราะเสี่ยงภาวะโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
- ค่า BMI 25 – 29.90 คือ โรคอ้วนระดับที่ 1
- ค่า BMI 30 ขึ้นไป คือ โรคอ้วนระดับที่ 2
เกณฑ์วินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง
การวัดค่า BMI ร่วมกับการพบปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปใน 4 อย่างนี้จะช่วยประเมินความเสี่ยงโรคอ้วนได้
- ความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
- ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Triglyceride > 150 mg/dL)
- ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Fasting Plasma Glucose > 100 mg/dL)
- ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด หรือ High Density Lipoprotein (HDL – Cholesterol) น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้หญิง
ตัวการอ้วนลงพุงเสียงโรค
- การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกาย
- ขาดการออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลาออกกำลังกาย พฤติกรรมทำงานใช้กำลังกาย ร่างกายไม่พร้อม อดนอน
- กรรมพันธุ์
- ยาที่ทำให้น้ำหนักขึ้น เช่น ยาจิตเวช ยากันชัก อินซูลิน สเตียรอยด์
- โรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
ดังนั้นควรดูแลใส่ใจในเรื่องของโภชนาการ เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้คงที่สม่ำเสมอ พร้อมการออกกำลังกายเป็นประจำ หากทำทุกวิธีการที่แนะนำมานี้แล้วยังไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อร่วมหาแนวทางและวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล
ลบทัศนคติหมูที่แข็งแรงทิ้งและเดินทางสายสุขภาพ ร่างกายแข็งแรง ลดโรคกันเถอะค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
4 มีนาคม วันอ้วนโลก ค่า BMI เท่าไหร่? ถึงเรียกว่าน้ำหนักเกิน
‘ข้อเท้าบวม’บอกโรคได้ เช็กอาการแค่บาดจ็บหรือเข้าข่ายโรคหัวใจ-ตับ-ไต