“ภาวะสมองล้า” จุดเริ่มต้นของสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ก่อนวัย
รู้หรือไม่? ภาวะสมองล้า เป็นจุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ในคนอายุน้อยที่ล้วนมาจากปัจจัยการใช้ชีวิต เพราะสมองทำงานหนักและแบกรับความเครียดมากเกินไปจนแปรปรวน
ภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog ซึ่งเกิดจากสมองทำงานหนักมาก แตกต่างจาก Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งเกิดจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน จนส่งผลต่อสภาพจิตใจ และมีผลต่อการลาออกของพนักงาน แต่ทั้ง2 ภาวะก็มีความสัมพันธ์กันไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งในวันนี้ เราจะมาพูดถึง ภาวะสมองล้า ที่อาจจะส่งผลต่อร่างกายทั้งระบบเช่นกัน โดยเฉพาะสมอง
สาเหตุของภาวะสมองล้า
- พักผ่อนน้อย จนมีอาการอ่อนล้า
- ขาดการดูแลด้านโภชนาการที่ดี
เช็ก 10 ข้อ ขี้หลงขี้ลืมแบบไหนเป็นสัญญาณเตือนโรคสมองเสื่อม
อาการขี้ลืมแบบไหนไม่ปกติเสี่ยงอัลไซเมอร์ เช็กสัญญาณโรคสมองเสื่อม
- มีการสะสมของสารพิษโลหะหนัก สารพิษจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหาร
- ความเครียดสะสม
- อนุมูลอิสระในร่างกาย
- การอักเสบซ่อนเร้น
- ขาดการออกกำลังกาย
- ความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ
- ขาดน้ำหรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- มีอาการทางจิตประสาทหรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ร่วมด้วย
สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ ต่อมหมวกไตจึงทำงานหนักขึ้น สารสื่อประสาทในสมองเริ่มแปรปรวน การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเริ่มลดลงหากปล่อยไว้อาจมีโอกาสเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยได้
อาการภาวะสมองล้า
- หัวตื้อ มึนงง ปวดหัว คิดช้า
- จำเรื่องราวหรือสิ่งที่เพิ่งจะทำลงไปไม่ได้
- เหนื่อยล้าทางจิตใจง่าย
- อารมณ์แปรปรวน
ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงภาวะสมองล้า
- จัดลำดับงานที่สำคัญจากมากไปน้อยลดความเครียดจัดตารางชีวิตได้สมดุล
- หยุดเสพติดข่าวหรือสื่อที่ทำให้เครียดในช่วงที่กำลังเครียดจากงาน
- หาเวลาทำกิจกรรมโปรด เพื่อปรับอารมณ์และผ่อนคลาย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารเช้า
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบุหรี่ ในช่วงที่มีความเครียด เพราะยิ่งทำให้สมองล้า
- ฝึกสมาธิ เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลาย
แพทย์เผยอัลไซเมอร์เพาะพิษนานถึง 15 ปี วิจัยชี้ออกกำลังกายลดเสี่ยง2เท่า
การตรวจวินิฉัย ภาวะสมองล้า
ปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพในกลุ่มที่เริ่มมีภาวะสมองล้า เพื่อป้องกันความเสื่อมของสมองก่อนที่จะเกิดโรค ซึ่งจะมีการตรวจดังนี้
- ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4) เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยทำให้สมองทำงานได้ปกติ กระฉับกระเฉง และกระตุ้นระดับการเผาผลาญในร่างกาย
- ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA: Dehydroepiandrosterone) หรือฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ และชะลอความเสื่อมของร่างกาย ผู้ที่มีความเครียดสะสมนานๆ ระดับฮอร์โมนตัวนี้จะลดลง
- ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด หากมีมากจนเกินไปจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
- การตรวจหากรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic) เป็นการตรวจการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยมีรายการตรวจดังนี้
- ระบบการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต, กรดไขมัน, วิตามินบี, โปรตีน
- สมดุลสารสื่อประสาทในสมอง
- สมดุลแบคทีเรียในลำไส้
- การสัมผัสสารพิษในร่างกายและการดีท็อกซ์
- การตรวจสารพิษโลหะหนักสะสมในปัสสาวะ (Toxic Heavy Metal) เพราะอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้า จนมีอาการสับสน และสูญเสียความจำ เกิดจากสารพิษโลหะหนักที่สะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น สมอง ดังนั้นการหาสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย จึงต้องอาศัยการตรวจจากปัสสาวะ
จะเห็นได้ว่าสมองเป็นสิ่งที่บอบบาง และส่งตรงทั้งระบบร่างกายและความรู้สึก จึงต้องหมั่นดูแลรักษาเพื่อไม่ให้สมองเครียดและเกิดภาวะล้าจนเป็นจุดเริ่มต้นของสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
3 ระยะดำเนินโรคอัลไซเมอร์ ที่ไม่มีวันหายแต่สามารถดูแลได้อย่างเข้าใจ