ตัดวงจร “ภาวะท้องมาน”จากโรคด้วยการปรับพฤติกรรมเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
ภาวะท้องมาน มักเป็นภาพจำว่าเป็นอาการของโรคตับระยะท้ายๆ เนื่องจากการทำงานของตับลดลงทำให้น้ำในช่องท้องมากขึ้น ซึ่งเราสามารถตัดวงจรของท้องมานได้แค่หันกลับมาใส่ใจสุขภาพ
ท้องมาน (Ascites) เป็นอาการท้องโตที่คล้ายกับการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการทำงานของตับลดลงทำให้โปรตีน อัลบูมินลดต่ำลง รวมถึงทำให้เลือดออกจากทางเดินอาหารวิ่งผ่านตับไม่ได้เนื่องจากท่อหลอดเลือดตีบตันจากตับแข็ง ทำให้น้ำซึมออกจากหลอดเลือดและผนังช่องท้องไปสะสมอยู่ที่ช่องท้อง ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 10 ลิตร ใน 1 คน
อาการของท้องมาน
ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมานอาจมีอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันก็ได้
เช็กสัญญาณ“ไขมันพอกตับ”จุดเริ่มต้น ตับแข็ง – มะเร็งตับ คนผอมก็เสี่ยงได้!
กินดึก กินซ้ำ กินแต่อาหารสำเร็จรูป พฤติกรรมการกินเพิ่มอัตราเสี่ยงมะเร็ง
ขึ้นอยู่กับสาเหตุอาจเป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรงอย่างการทำงานของตับล้มเหลวได้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ
- ไม่อยากอาหาร
- ปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- แสบร้อนกลางอก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องบวมขึ้น
- หายใจลำบากเมื่อนอนลง
- มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง หรือมีอาการคล้ายหวัด
- มีอาการสับสนทางจิต ระดับการรับรู้ลดลง มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้
อย่างที่บอกว่าท้องมานเกิดจากตับไม่ทำงาน ซึ่งสามาเหตุเกิดได้จากโรค ดังต่อไปนี้
- โรคตับแข็ง ที่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกกว่า 25,000 คนต่อปี ซึ่งในส่วนมากเกิดจากพฤติกรรมการกินดื่มแอลกอฮอล์จนตับไม่สามารถรับได้ ทำให้เกิดแผลเป็นขึ้นหลังจากที่มีการอักเสบหรืออันตรายต่อตับ และเมื่อเนื้อตับส่วนที่ดีถูกทำลายลงจากการอักเสบหรือสาเหตุอื่น ๆ เนื้อตับที่เหลือจะล้อมรอบ และทดแทนด้วยเนื้อเยื่อประเภทพังผืด ส่งผลให้เลือดที่ไหลผ่านตับถูกอุดกั้น ไหลไม่สะดวก และสมรรถภาพการทำงานลดลง หากอาการมากขึ้นจะมีการสร้างโปรตีนลดลงทำให้เท้าบวม มีน้ำในช่องท้องเกิดท้องมาน อาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองเป็นดีซ่านได้
- ไวรัสตับอักเสบ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมทั่วไป สามารถติดเชื้อได้จากการจากการกินอาหารร่วมกัน การสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อน และการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อตับได้รับเชื้อไวรัส ก็จะเกิดภาวะตับอักเสบ ส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ มีอาการตับบวมโต ร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิดดังที่กล่าวมาแล้ว เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี แต่ที่พบบ่อย คือ ไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี
- ตับอ่อนอักเสบ ภาวะที่ตับอ่อนเกิดการอักเสบรุนแรงเฉียบพลัน โดยเป็นการอักเสบที่บริเวณเซลล์ของตับอ่อน เกิดขึ้นจากการที่น้ำย่อยในตับอ่อนไหลผ่านท่อของตับอ่อนไม่ได้ ทำให้น้ำย่อยย่อยเนื้อเยื่อตับอ่อนแทนจึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โดยจะเป็นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน
- มะเร็งตับ ขั้นกว่าของโรคตับแข็ง เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ที่เกิดในผู้ชายไทย พบในคนอายุ 30-70 ปี โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงจากการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี การได้รับสารอะฟลาทอกซิน ที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่มักพบในอาหารแห้ง ความเป็นพิษของแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด และการได้รับสารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็ง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว
นอกจากโรคตับโดยตรงแล้วยังเกิดได้กับผู้ป่วย ไตวาย หัวใจล้มเหลว ไฮโปไทรอยด์ วัณโรคมะเร็งบางชนิด และการขาดสารอาหารทำให้เกิดภาวะขาดแอลบูมินด้วย ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็งจะมีน้ำในช่องท้องเกิดขึ้นภายใน 10 ปี ซึ่งผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาเมื่อเกิดภาวะท้องม้านร้อยละ 50 จะมีโอกาสคงอยู่เพียง 2 ปี แต่ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาขับปัสสาวะแล้วจะมีโอกาสรอดเพียงแค่ร้อยละ 25 เท่านั้น
“อ้วนลงพุง” พฤติกรรมก่อโรคเรื้อรัง มะเร็ง- เบาหวาน - ไขมันพอกตับ
การรักษาท้องมาน
- ผู้ป่วยที่ไม่รุนแรง จะเริ่มจากการแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมโดยจำกัดปริมาณโซเดียมจากอาหารไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน ซึ่งอาจให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเป็นผู้แนะนำและช่วยวางแผนมื้ออาหารในแต่ละวัน รวมทั้งควบคุมปริมาณการดื่มน้ำและหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ หากยังไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาใช้ยาขับน้ำและเกลือส่วนเกินออกจากร่างกาย
- การเจาะน้ำออกจากช่องท้อง หากการควบคุมอาหารหรือกินยาไม่ได้ผลและมีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์อาจใช้เข็มเจาะโพรงช่องท้องเพื่อนำของเหลวออกจากท้อง ซึ่งวิธีนี้ต้องทำควบคู่กับการลดปริมาณโซเดียมและปริมาณของเหลวที่ร่างกายได้รับ แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อจากการเจาะช่องท้องได้ แพทย์จึงอาจป้องกันด้วยการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะร่วมด้วย และแม้วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณน้ำในช่องท้อง ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้นและรู้สึกอึดอัดน้อยลง แต่ผู้ป่วยมักกลับมามีท้องโตจากการที่ร่างกายพยายามสร้างน้ำในช่องท้องมากขึ้นอีกได้
- การผ่าตัด ในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีอื่นใช้ไม่ได้ผลและภาวะท้องมานเกิดจากตับเสื่อมการทำงานระยะสุดท้าย ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดทำทางระบายน้ำในช่องท้อง เพื่อเปิดทางให้เลือดไหลเวียนภายในตับได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้รับการปลูกถ่ายตับซึ่งมักใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย
- สำหรับผู้ที่มีภาวะท้องมานเนื่องจากเกิดมะเร็งในช่องท้อง แพทย์อาจให้การรักษามะเร็งด้วยการผ่าตัด หรือใช้การฉายแสงและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
การป้องกันท้องมาน นั้น ไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผลเต็ม 100 แต่ลดความความเสี่ยงได้
- ลด เลี่ยง ห้าม เลิก ดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันโรคตับแข็ง
- เข้ารับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ระมัดระวังในการใช้ยารักษาโรค อาหารเสริม หรือสมุนไพรต่าง ๆ ที่อาจมีผลข้างเคียงทำลายตับ
- ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการใช้ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
รีบดูแลร่างกายห่างไกลปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่ต้องแข็งใจ ก่อนตับจะแข็ง นำไปสู่โรคต่างๆที่มีอัตราการรอดชีวิตน้อย และหากพบความผิดปกติของร่างกายควรรีบพบแพทย์ และไม่ควรละเลย เข้ารับการคัดกรองตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช,โรงพยาบาลกรุงเทพ,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
‘ยาแก้ปวด’ กินเกินขนาด ไม่หายปวดหัวแถมตับพัง แนะปริมาณยาที่เหมาะสม
“อ้วนลงพุง” พฤติกรรมก่อโรคเรื้อรัง มะเร็ง- เบาหวาน - ไขมันพอกตับ