นอนแบบไหน? ถึงเรียกว่านอนหลับดี สมองได้พัก ลดเลี่ยงอัลไซเมอร์
นอนครบ 7-9 ชั่วโมง ไม่กรีดร้อง ไม่ผวากลางดึก นับเป็นพฤติกรรมที่ดีในการนอนหลับ ช่วยให้สมองได้พัก สามารถลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ได้
สมองยิ่งตื่นนอน ใช้ชีวิตในแต่ละวันนาน พลังงานยิ่งลดลง ในทางตรงกันข้ามเศษของพลังงานดังกล่าวจะเริ่มสะสมในเซลล์ประสาทเหมือนเป็นขยะ เกะกะ กีดขวางความสามารถในการส่งกระแสประสาท และที่พบบ่อยคือ
- เศษของโปรตีนเทา (Tau Protein)
- ชิ้นส่วนของอะไมลอยด์ (Amyloid Beta)
7 วิธี ลับคมสมองให้ใสกิ๊ก! ห่างไกลจากโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
นอนไม่หลับ! ใช้ “ยาแก้แพ้” ได้หรือไม่? รู้จักชนิดและผลข้างเคียงของยา
หากเป็นผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ เช่น
- ใช้เวลานานกว่าจะหลับได้
- นอนไม่หลับ หรือนอนหลับแต่ละครั้งไม่มีคุณภาพ เช่น นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนกัดฟัน นอนดิ้น นอนละเมอ
- ตารางการนอนหลับไม่สม่ำเสมอ
ต้องหลับแบบไหน ถึงจำกัดว่าเป็น การนอนที่ดี ?
การนอนหลับที่มีคุณภาพช่วยให้สมองกำจัดโปรตีนเทา อะไมลอยด์ และผลิตผลขยะเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของสมองและร่างกายอีกครั้ง ประกอบไปด้วย
- นอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม 7 – 9 ชั่วโมงในผู้ใหญ่
- รูปแบบและตารางการนอนหลับที่สม่ำเสมอในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามนาฬิกาโลก
- เริ่มต้นหลับได้ไม่ยาก หลับได้ต่อเนื่อง ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อ
- สมองหลับได้ทั้งระยะหลับตื้น หลับลึก และหลับฝันครบวงจรอย่างสมบูรณ์
- หายใจได้ดี ไม่หยุดหายใจ ไม่ติดขัด
- ไม่กรน ไม่กัดฟัน
- หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ
- กล้ามเนื้อผ่อนคลายขณะหลับ
- ไม่ละเมอ
- ไม่มีการกระตุกของร่างกาย หลับสงบไม่ผวากรีดร้อง
เสริมสร้างการทำงานของสมอง การนอนหลับจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องหาเวลาที่เหมาะสมกับการเข้านอน ช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อมจะหลับ ปรับเพิ่มคุณภาพการนอนหลับให้เหมาะสมกับความต้องการของสมองและร่างกายตามวัย เพื่อให้สมองได้พัก ซ่อมแซม และเสริมสร้างความคิดความจำอย่างมีประสิทธิภาพ
รู้แบบนี้แล้ว รีบเข้านอนกันเถอะค่ะ ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
“อดนอน” ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง การเผาผลาญพัง เสี่ยงเบาหวาน
4 ท่านอนผิดๆ ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ แนะปรับเพื่อคุณภาพการหลับที่ดีขึ้น