โรคเบาหวานมีกี่ประเภท? แล้วทำไมอินซูลินถึงสำคัญ?
เบาหวาน หนึ่งในโรคที่คุ้นหู แนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ผู้เสียชีวิตทั่วโลกมี 1 ราย ทุก 5 วินาที โรคภัยที่มาพร้อมกับการใช้ชีวิต รู้จักเบาหวานที่มากกว่าเพื่อหาแนวทางป้องกันโรค
ก่อนไปทำความรู้จักกับโรคเบาหวานที่มากกว่าที่เคยรู้ เรามาสำรวจสถานการณ์โรคเบาหวานกันก่อนนะคะ ข้อมูลปี 2564 ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านคน โรคเบาหวานมีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที สำหรับประเทศไทย จากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี
สัญญาณเตือน “โรคเบาหวาน” รู้สึกมดไต่ที่ปลายนิ้ว-แผลหายช้า
น้ำตาลในเลือดต่ำไป-สูงเกิน ภาวะระวังของผู้ป่วยเบาหวาน
ขณะที่ไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.3 ล้านคน ในปี 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 16,388 คน (อัตราตาย 25.1 ต่อประชากรแสนคน) ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมากเลยทีเดียว
โรคเบาหวานคืออะไร ?
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) คำว่า ‘เบา’ คือปัสสาวะ ส่วนหวานในที่นี้หมายถึงการมีน้ำตาลผสมอยู่ ‘เบาหวาน’ จึงมีความหมายว่า “ปัสสาวะหวาน” นั่นเพราะมีน้ำตาลในปัสสาวะ นั่นเอง ทางการแพทย์ ระบุว่า เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินทำให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ เสื่อม จนเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น
โรคดังกล่าวเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดตามมา จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิตในที่สุด ซึ่ง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในประชากรไทย โดยพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ
เบาหวานแบ่งเป็นกี่ประเภท?
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1เป็นโรคที่กิดจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลาย โดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย มักพบในเด็ก คนอายุน้อย รูปร่างไม่อ้วน บางครั้งอาการของโรคอาจเกิดรวดเร็วและรุนแรง เช่น เกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนคั่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดนี้เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด พบประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด คือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่วมกับการที่เบต้าเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้อินซูลินลดลงเรื่อยๆ มักพบในคนอายุ 30 ปีขึ้นไป รูปร่างท้วมหรืออ้วน อาการมักไม่ค่อยรุนแรง เป็นแบบค่อยๆ เป็น สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ เป็นผลร่วมกันระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม น้ำหนักตัวที่มาก การขาดการออกกำลังกาย
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนที่หลั่งมาจากรก และระดับฮอร์โมนต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ภาวะเบาหวานชนิดนี้มักจะเป็นภาวะเบาหวานแอบแฝง คือ ถ้าอดอาหารแล้วมาเจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับน้ำตาลจะปกติ แต่ถ้าให้หญิงมีครรภ์ดื่มน้ำหวาน (75 gram oral glucose tolerance test) ร่างกายจะไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยทั่วไปโรคเบาหวานชนิดนี้มักจะหายได้หลังคลอด
- โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เป็นโรคเบาหวานที่มีสาเหตุชัดเจน ได้แก่โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมโรคเบาหวานที่เกิดจากโรคของตับอ่อน , จากยา, หรือโรคเบาหวานที่พบร่วมกับกลุ่มอาการต่างๆ เช่น Down syndrome, Turner syndrome, Prader-Willi syndrome
ค่าน้ำตาลสูงแค่ไหนถึงบ่งชี้ว่าเสี่ยงเป็นเบาหวาน ?
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาจำแนกผู้ป่วยด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากหลังงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชม.และวัดค่าน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิด โรคเบาหวานประเภทที่ 2 คือเบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ อันนำไปสู่โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น
นั้นหมายความว่า หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็จะเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
เช่นเดียวกับ หากมีการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลโดยไม่อดอาหาร และพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับคนไข้มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย และน้ำหนักลด ก็จัดว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน เช่นกัน
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยสร้างและหลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่พาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญและใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาดอินซูลินหรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็น “โรคเบาหวาน” นอกจากนี้การขาดอินซูลินยังทำให้เกิดความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต รวมถึงมีความผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น มีการสลายตัวของสารไขมันและโปรตีนในร่างกาย
สาเหตุใดที่ทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเพราะอะไรที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินนั้น ในทางการแพทย์ก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า ปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยคนที่เป็นโรคเบาหวานมักมีประวัติพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือญาติเป็นโรคเบาหวานด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วนจะทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมอยู่แล้วก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้น
ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม
โรคเบาหวาน มีอาการอย่างไร ?
อาการหลักๆ ที่เป็นสัญญาณว่าคนๆ นั้นมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย รวมถึงอาการต่างๆ เหล่านี้ อาทิ
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
- ผิวแห้ง เกิดอาการคันบริเวณผิว
- ตาแห้ง
- มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า
- ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้
- เมื่อเกิดบาดแผลที่บริเวณต่างๆ ของร่างกายมักหายช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะแผลที่เกิดกับบริเวณเท้
- สายตาพร่ามัวในแบบที่หาสาเหตุไม่ได้
สัญญาณอันตราย โรคเบาหวาน
- อ่อนเพลียง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้
- ผอมลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- หิวน้ำมากกว่าปกติ
- ตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดขา ปวดเข่า
- ผิวหนังแห้งและมีอาการคัน อาจจะคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
- เป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
- อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย
- แผลหายช้า ไม่แห้งสนิทหรือขึ้นสะเก็ด
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว ทำการตรวจร่างกาย เจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยวิธี
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
- การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
- การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)
การรักษาโรคเบาหวาน
- เบาหวานประเภทที่ 1 ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยการฉีด เพื่อเข้าไปทดแทน ควบคู่ไปกับการคุมอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรกๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วย หรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน เช่นเดียวกับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1
ทั้งนี้โรคเบาหวานส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
- โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต เป็นต้น
- โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น
- โรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท และโรคที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ และการแท้งบุตรได้
การป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด!
- หมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลและโรงพยาบาลพญาไท
เปิดสถิติป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมากกว่า 500 ล้านคน คร่าชีวิต 5 วินาทีต่อราย
ผู้ป่วยเบาหวานกินอาหารอย่างไร ? โรคสงบควบคุมระดับน้ำตาลอยู่หมัด