น้ำตาลในเลือดต่ำไป-สูงเกิน ภาวะระวังของผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวาน โรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลเรื่องระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด เพราะสูงเกินหรือต่ำเกิน ก็ล้วนเป็นอันตรายถึงขั้นหมดสติได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) หรือที่เราคุ้นชินกันว่า “น้ำตาลตก” คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร มักทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลียซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุซึ่งมักมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลิน
อาการเด่นชัดของน้ำตาลตก
- เหงื่อออก
- ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
- เวียนศีรษะ,สับสน
- ผิวหนังเย็น
- ตาพร่า
- หิวบ่อย
- ตัวสั่น,ชัก
- ขาดสติ
- หัวใจเต้นเร็ว
- อาการโคม่า
เปิดความลับ! คาร์โบไฮเดรตในผัก ที่ผู้ป่วยเบาหวานเลือกกินได้โรคสงบ
ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม
วิธีรักษาและดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ
ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซึ่งปริมาณอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมเลือก อย่างใดอย่างหนึ่ง อาการมักดีขึ้นภายใน 20 นาที หลังได้รับอาหารในปริมาณดังกล่าว ได้แก่
-
ลูกอม 3 เม็ด
-
น้ำส้มคั้น 180 มิลลิลิตร
-
น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา
-
ขนมปัง 1 แผ่น
-
ไอศกรีม 2 สกูป
-
กล้วย 1 ผล
จากนั้นให้ติดตามระดับกลูโคสในเลือดโดยใช้กลูโคสมิเตอร์ทุก 20 นาทีหลังรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตครั้งแรก ให้ผู้ป่วยกินคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำถ้าระดับกลูโคสในเลือดยังคงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร
เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นและผลการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 80 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรให้รับกินอาหารต่อเนื่องทันทีเมื่อถึงเวลาอาหารมื้อหลักหรือถ้าต้องรอเวลาอาหารมื้อหลักนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงให้กินอาหารว่างที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมและโปรตีนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ
นอกจากภาวะน้ำตาลตกแล้ว หากผู้ป่วยเบาหวานปประเภท 2 ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเจอกับ...
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ได้อีก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยจะมีอาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และซึมลง หากเป็นมากความดันโลหิตจะต่ำ และอาจจะหมดสติได้ในที่สุด
สาเหตุ ของน้ำตาลในเลือดสูง
- คุมเบาหวานได้ไม่ดี รับประทานอาหารมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย รับประทานยา หรือฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอ
- การเจ็บป่วยรุนแรง เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีภาวะติดเชื้อ
- ได้รับยาต้านอินซูลิน เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ
อาการน้ำตาลในเลือดสูง
-
กระหายน้ำมาก ดื่มน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน
-
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ตามัว
-
เริ่มซึมจนกระทั่งหมดสติ หรือบางรายอาจจะมีอาการชักกระตุกร่วมด้วย
“อดนอน” ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง การเผาผลาญพัง เสี่ยงเบาหวาน
การช่วยเหลือเบื้องต้นของภาวะน้ำตาลสูง
-
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
-
หยุดทํากิจกรรม และนอนพัก
-
หากอาการไม่ดีขึ้น โดยเจาะเลือดด้วยตนเองแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ให้รีบมาพบแพทย์
-
หากอาการดีขึ้น ควรตรวจเลือด และปัสสาวะซ้ำทุก 4 ชม. รวมถึงดื่มน้ำสะอาดมากๆ
-
หากมีอาการชักกระตุกเฉพาะที่ หรือมีอาการซึม และมีระดับน้ำตาลในเลือดมาก ให้พบแพทย์ทันที
การป้องกันน้ำตาลในเลือดสูง
-
ควบคุมเบาหวานให้ดี โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา
-
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ
-
กรณีไม่สบายควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง และควรบอกแพทย์ว่าเป็นเบาหวาน
- อย่าหยุดยาฉีด หรือยารับประทาน แม้ว่าจะรับประทานอาหารได้น้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล
สัญญาณเตือน “โรคเบาหวาน” รู้สึกมดไต่ที่ปลายนิ้ว-แผลหายช้า
ผู้ป่วยเบาหวานกินอาหารอย่างไร ? โรคสงบควบคุมระดับน้ำตาลอยู่หมัด