มดขึ้นปัสสาวะ-ปัญหาผิวหนัง อาการบอกโรคเบาหวาน เช็กสัญญาณติดหวานก่อโรค
“เบาหวาน” วินิจฉัยได้จากค่าน้ำตาลในเลือด และร่างกายฟ้องสัญญาณหลายอย่างหนึ่งในนั้นคือ “มดขึ้นปัสสาวะ” สามารถตัดวงจรเบาหวานได้หากควบคุมน้ำตาลได้ เช็ก! ติดหวานแค่ไหนอันตรายเสี่ยงก่อโรค ได้ที่นี้!
โรคเบาหวาน หรือ Diabetes Mellitus: DM คือภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่ออินซูลินทำให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ที่กระตุ้นให้เกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการกินการดื่ม อาหารลดจัดไขมันสูง ละเลยการออกกำลังกาย เป็นต้น
สัญญาณเตือน “โรคเบาหวาน” รู้สึกมดไต่ที่ปลายนิ้ว-แผลหายช้า
โรคเบาหวานส่งต่อทางพันธุกรรมได้ เลี่ยงยากแต่ลดโอกาสก่อโรคได้
โดยพฤติกรรมเริ่มแรกของเบาหวาน มักจะเกิดจากการติดของหวาน และจะรู้ได้อย่างไรว่าติดของหวาน
- คุณเป็นคนต้องเดิมของหวานตบท้ายหลังมื้ออาหารหรือไม่ ?
- เติมเครื่องปรุงเพิ่ม แม้อาหารจะปรุงสำเร็จมาอยู่แล้ว
- ใส่น้ำตาลในเครื่องดื่มสูงทะลุ 100 %
- ดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวานแทนน้ำเปล่า
- มีของหวานติดตัวเป็นประจำ
- นึกถึงแต่ขนม,ผลไม้รสหวาน แม้จะอิ่มแล้ว
- หากไม่ได้กินขนมหวานจะรู้สึกไม่มีแรง เหนื่อย หงุดหงิด
สัญญาณร่างกายที่บ่งบอกโรคเบาหวาน
- มดขึ้นปัสสาวะ พบมากในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากร่างกายจะดึงเอาน้ำตาลส่วนเกินออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ซึ่งจะมีอาการร่วมคือปัสสาวะบ่อยและหิวน้ำบ่อยตามมา และควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือด และตรวจสุขภาพในทันที
- กลิ่นปาก หากมีการรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอและมีกลิ่นปากอาจเป็นสัญญาญว่ามีเชื้อแบคทีเรียที่สะสมในช่องปากมากกว่าปกติ และถือเป็นหนึ่งในสัญญาณบอกโรคได้อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นโรคตับ ไซนัส การทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหารกรดไหลย้อน โรคทางช่องปาก รวมถึงโรคเบาหวาน ด้วย
- แผลหายช้า เกิดจากเส้นเลือดตีบ และไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ เมื่อเกิดแผล หรือผิวหนังเกิดความเสียหายขึ้น ทำให้แผลสมานช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- อาการคันตามตัว เหงื่อที่ถูกผลิตออกมามีปริมาณของน้ำตาลที่ค่อนข้างสูง คนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จึงมีเชื้อราในร่มผ้าเยอะ เช่น กาก เกลื้อน เกิดขึ้นตรงบริเวณที่มีความอับชื้น
- ชาปลายมือปลายเท้า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนทำลายเส้นประสาทส่วนปลาย ส่งผลให้อวัยวะบางส่วนชา หรือความรู้สึกจากการสัมผัสลดลงจนไม่เหลือความรู้สึกบริเวณปลายประสาท
- ความดันโลหิตสูง หรือต่ำผิดปกติ คือภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันของเบาหวาน ความดันโลหิตต่ำเกิดจากการรักษาที่มากไปด้วยยา ส่วนความดันโลหิตสูงเกิดจากการที่ผู้ป่วยละเลยทางการรักษา มักเกิดกับผู้ป่วยกลุ่มเบาหวาน ชนิดที่1
โรคเบาหวานมีกี่ประเภท? แล้วทำไมอินซูลินถึงสำคัญ?
สัญญาณทุกอย่างล้วนมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันเป็นวงจร เราทุกคนล้วนปรับแต่งและตัดปัจจัยก่อโรคเหล่านี้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรม แต่สำหรับผู้ที่พบอาการบอกโรคในเบื้องต้น หรือสงสัยในความผิดปกติของตนเองบ้างแล้ว ควรรับการตรวจเลือดและตรวจสุขภาพ เพื่อหาวิธีรักษาให้ทันโรค อย่างถูกจุด เพราะการรักษาแบบไม่ทันโรคอาจส่งผลให้ลุกลามเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งขณะนี้วงการแพทย์เองก็มีการพัฒนาและวิจัยวิธีรักษาแบบใหม่อยู่เสมอ หนึ่งในนั้นคือ วิธีปลูกถ่ายตับอ่อน หรือการใช้สเต็มเซลล์จากตับอ่อนมาปลูกถ่ายให้กับผู้เป็นเบาหวานวิธีรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแต่ละราย แต่การป้องกันไม่ให้เกิดโรคอย่างไรก็ดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
น้ำตาลในเลือดต่ำไป-สูงเกิน ภาวะระวังของผู้ป่วยเบาหวาน
ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม