"มือเท้าเย็น" อาจไม่ใช่แค่ขี้หนาว เสี่ยงสัญญาณโรคโลหิตจาง-เส้นเลือดตีบ
ทุกส่วนของร่างกายล้วนสัมพันธ์กันทั้งสิ้น อาการขี้หนาว ไวต่ออากาศเย็น มือและเท้าเย็นตลอดเวลา ที่อาจเป็นสัญญาณบอกโรค บางชนิดที่ต้องเร่งรักษา อาทิ โลหิตจาง,โรคเบาหวาน ,โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เป็นต้น
กลไกของมนุษย์เรานั้นเดิมทีอุณหภูมิภายในจะอยู่ที่ประมาณ 36.1–37.2 องศาเซลเซียส ตามแต่ละช่วงอายุ และเมื่อสัมผัสกับอากาศเย็น ก็จะทำให้รู้สึกเย็นและหนาว ซึ่งร่างกายจะทำการรักษา อุณหภูมิภายในด้วยการสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายผ่านหลอดเลือดขนาดเล็กและใหญ่ รวมไปถึงบริเวณมือและเท้าอวัยวะปลายสุดของร่างกายที่มีเส้นเลือดประกอบอยู่ด้วย
มือและเท้ามักจะไม่ได้รับการปกปิดจากเครื่องนุ่งห่ม เมื่อสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นจากภายนอกก็อาจทำให้หลอดเลือดบริเวณมือและเท้าหดตัว
สภาพอากาศวันนี้! อุณหภูมิลดลงอีก กลาง-กทม. ลง 1-2 องศา เหนือ-อีสานลดลง 2-4 องศา
รับมืออากาศหนาวฉับพลัน สุขภาพแข็งแรง ทริปปลายปีไม่ล่ม!
เนื่องจากร่างกายจะเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะสำคัญ อย่างหัวใจและสมองก่อนอวัยวะส่วนอื่นเพื่อรักษาอุณหภูมิและการทำงานของอวัยวะ ส่งผลให้เลือดสูบฉีดไปยังมือและเท้าได้น้อยลง โดยเฉพาะปลายนิ้ว ทำให้หลอดเลือดและเซลล์บริเวณนั้นไม่สามารถรักษาอุณหภูมิปกติไว้ได้จนเป็นต้นเหตุให้มือเท้าเย็น
อาการร่วมอื่มๆของอาการมือเท้าเย็น
- นิ้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือดูซีดลง
- มือเท้าชา มือและเท้าแข็งขยับได้ยากขึ้น เป็นต้น
- งานศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า คนในกลุ่มเด็ก ผู้หญิงรูปร่างผอม ผู้ชายตัวหนา และผู้สูงอายุ อาจรู้สึกไวต่ออากาศเย็นกว่าคนกลุ่มอื่น
อาการมือเท้าเย็นส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย แต่บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น
- โลหิตจาง
- โรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)
- ภาวะขาดไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus)
- โรคหนังแข็ง (Scleroderma)
- โรคเรเนาด์ (Raynaud's Disease)ที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับหลอดเลือดเมื่อเจอความเย็นหรือมีความเครียด ทำให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการมีสีซีดลง
- โรคเบอร์เกอร์ (Buerger's Disease) ความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณแขนและขา ทำให้เกิดการอักเสบ บวม และอุดตันของหลอดเลือด
หากมีอาการมื้อเท้าเย็นหรือขี้หนาวไวต่ออากาศเย็นเกินกว่าคนรอบข้างและบ่อยครั้ง หรือเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
สภาพอากาศทั่วไปของประเทศไทยอาจส่งผลให้เกิดอาการมือเท้าเย็นได้น้อยกว่าประเทศเมืองหนาว แต่ก็อาจมีผลอยู่บ้างในช่วงหน้าหนาวหรือในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
อากาศเย็นไมเกรนถามหา แนะวิธีรับมือลมหนาวป้องกันโรคอันตราย
วิจัยพบ“การกอด”คลายหนาวได้ แถมยังช่วยให้อายุยืน เพิ่มพูนฮอร์โมนความสุข
เท้าเย็นง่ายควรป้องกันตัวเองอย่างรัดกุม
- สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
- หันมาดื่มน้ำอุ่นแทนน้ำเย็นและใช้มือประคองแก้วช่วยบรรเทาอาการมือเท้าเย็นได้มากขึ้น
- นวดหรือถูมือและเท้าอย่างรวดเร็วเพื่อเพิ่มความอบอุ่น
- ออกกำลังกาย เดิน หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย
- งดดื่มกาแฟและสูบบุหรี่ เพราะคาเฟอีนจากกาแฟและนิโคตินในบุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหดตัวได้ จึงอาจเสี่ยงต่อความรุนแรงของอาการได้
- หมั่นทาครีมทาผิวเสมอ แม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับอุณหภูมิ แต่ความหนาวเย็นมักมาพร้อมอากาศที่แห้ง ดังนั้นเพื่อป้องกันมือแห้งแตกที่อาจทำให้เกิดแผล จึงควรรักษาความชุ่มชื่นของผิวหนังไว้
สำหรับครอบครัวที่มีทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ควรใส่ใจเรื่องมือเท้าเย็นมากเป็นพิเศษเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการผิดปกติดูรุนแรง เช่น นิ้วมือนิ้วเท้ามีสีม่วงคล้ำหรือเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน หายใจลำบาก มือเท้าบวม ปวดข้อ น้ำหนักลง เป็นไข้ เป็นต้น
หน้าหนาวนี้มาอย่างฉับพลัน อย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองและคนใกล้ชิดนะคะ ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad
อย่าหลงเชื่อ! อาการขี้หนาวเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคไตขวาเสื่อม
สธ.แนะดูแลกลุ่มเสี่ยงรับมืออากาศเปลี่ยนแปลงเลี่ยงป่วยฉับพลัน