วิธีแก้ท้องอืดปรับสมดุลลำไส้ ปล่อยทิ้งไว้นานอาจเป็นสัญญาณโรคมะเร็ง
ท้องอืด แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เป็นอาการหนึ่งของโรคร้ายแรงได้ เช่น หากเกิดอาการท้องอืดนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ กินยาแล้วไม่ดีขึ้น รวมถึงน้ำหนักลด ซีด เบื่ออาหาร ตัวเหลือง อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งบางชนิดได้
อาการท้องอืด คือ ความรู้สึกมีลมในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ ทำให้อึดอัดไม่สบายตัว อาจมีอาการปวดท้องคลื่นไส้ หรืออยากอาหารน้อยลง
สาเหตุท้องอืดอาจเกิดจาก พฤติกรรมการกินไปจนถึงอาการบ่งบอกโรคร้ายที่แฝงเร้นอยู่ โดยทั่วไป
- อาหารที่กิน อาหารบางอย่างทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงทำให้กระเพาะบีบตัวช้า ใช้เวลานานในการย่อยอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทถั่ว ผักดิบบางชนิด ดังนั้นให้สังเกตว่ากินอาหารประเภทใดแล้วท้องอืดให้ลดอาหารประเภทนั้นลง
กลุ่มอาหารลด อาการท้องอืด ขับลม อาหารไม่ย่อย เพิ่มประสิทธิภาพลำไส้ให้สมดุล
ท้องอืด แน่นท้อง คลำพบก้อน “มะเร็งรังไข่” ภัยร้ายของผู้หญิง
- พฤติกรรมการการกิน บางคนกินอาหารแล้วนั่งเฉยๆ หรือกินเยอะเกินไป ทำให้อาหารย่อยช้า ค้างอยู่ในกระเพาะนาน เมื่ออาหารค้างอยู่ในกระเพาะจะเกิดการหมัก ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะ ทำให้แน่นท้องและเกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ หลังมื้ออาหารควรเดินสักพักหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้มีการเคลื่อนไหว
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ระบบการย่อยอาหารจะช้าลง
- ท้องผูก ทำให้ความดันภายในทางเดินอาหารสูงขึ้น ทำให้มีอาการอืดท้อง เสียดท้อง ควรฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา ดื่มน้ำมากขึ้น ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายและกินอาหารที่มีกากใย
สำหรับบางรายที่มีอาการท้องอืดมากหรือนาน อาจเนื่องมาจากโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- กระเพาะเป็นแผล
- มะเร็งทางเดินอาหารหรือลำไส้
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มีการติดเชื้อพวกพยาธิ
- โรคลำไส้แปรปรวน หรือเป็นการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้เอง
- โรคที่เกี่ยวกับระบบอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดร่วมด้วย ซึ่งต้องมีการตรวจเพิ่มเติม
หากมีอาการดังที่กล่าวมา โดยไม่พบสัญญาณเตือน สามารถเลือกรับประทานยาขับลม หรือช่วยย่อย และปรับพฤติกรรมการกิน แต่ถ้าเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสืบค้นสาเหตุของอาการโดยละเอียด
การดูแลตัวเองเบื้องต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ย่อยยาก
- ไม่รับประทานอาหารครั้งละมากเกินไป
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอต่อเนื่อง
หากเกิดอาการ ท้องอืดอย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะแม้ท้องอืดจะเป็นเพียงอาการ ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ท้องอืดก็อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคร้ายแรง หรือพัฒนาไปสู่โรคอื่นๆ ได้
ปวดท้องแบบไหน? "ไส้ติ่งอักเสบ" ไม่รีบรักษาอาจ“ไส้ติ่งแตก”อันตรายถึงชีวิต
ปรับสมดุลการขับถ่าย
- รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ ผัก ผลไม้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หากปรับพฤติกรรมแล้ว ยังไม่ดีขึ้น และมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น ปวดท้อง ถ่ายมีเลือดปน ผอมลง น้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อค้นหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
“สะดือเหม็น” ปัญหาสุขอนามัย ไม่ควรมองข้าม อาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อ
“โรคกระเพาะอาหาร”ปวดท้องแบบไหน อาการใดบอกความรุนแรง รู้ก่อนเป็นแผลทะลุ