อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน โรคสมองส่งต่อได้ทางพันธุกรรม สัญญาณ-วิธีชะลอโรค
"อัลไซเมอร์"และ"พาร์กินสัน" อันดับ1 และอันดับ 2 ที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคในกลุ่มความเสื่อมของระบบประสาทและสมองซึ่งเกิดความผิดปกติของสมอง แล้วทำให้สมองส่วนนั้นเสียการทำงานไป นอกจากปัจจัยด้านอายุและการใช้ชีวิตแล้ว ยังเป็นโรคที่สามารถติดต่อทางพันธุกรรมได้
ความแตกต่างระหว่างอัลไซเมอร์ และ พาร์กินสัน
อัลไซเมอร์(Alzheimer's disease) เกิดจากมีการสะสมของโปรตีนผิดปกติที่สำคัญคือ เบต้าอะไมลอยด์ที่สะสมเพิ่มขึ้นตามระยะของโรค ตำแหน่งสำคัญในช่วงแรกคือฮิปโปแคมปัสที่สมองกลีบขมับ(Temperal lobe) ซึ่งทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลใหม่เข้าสู่กระบวนการจำ จึงทำให้มีอาการหลงลืมในเรื่องปัจจุบันที่พึ่งเกิดขึ้น
สาเหตุการเกิดอัลไซเมอร์
- การเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย
- พันธุกรรม
- อุบัติเหตุทางสมอง
- โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์
กลุ่มอาหารทำลายสมอง เพิ่มความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน
ระยะเวลาในการก่อโรคนาน 15 – 20 ปี กว่าจะแสดงออกถึงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน เดิมพบว่าคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 10% ส่วนคนที่อายุ 85 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 40 – 50% มีการศึกษาพบว่า โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์จะเริ่มมีอาการเริ่มต้น คือ ความจำถดถอยก่อน ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป จากการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยเกือบ 50 ล้านคน และในเมืองไทยคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงระยะเวลา ใน 10 ปีข้างหน้า
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคความจำถดถอยในกลุ่มที่จะเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะเกิดโรค สามารถที่จะชะลอตัวโรค
พาร์กินสัน(Parkinson's disease) โรคทางสมองที่พบได้เป็นอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ความผิดปกติของระบบการเคลื่อนไหว (Motor System Disorders) ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่มาของโรคได้แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากเซลล์สมองผลิตสารที่ชื่อว่า ‘โดพามีน’ ไม่เพียงพอ ซึ่งต้องใช้การสแกนสมองและเทคโนโลยีเครื่องสแกนรังสี สำหรับการวินิจฉัยการทำงานของสมองและตรวจปริมาณสารโดพามีน หน้าที่ของโดพามีนคือ เป็นสารสื่อประสาทที่ผลิตขึ้นในสมอง ช่วยให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวอย่างสมดุลและประสานกัน เมื่อขาดสารนี้ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางประสาทส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้
- สั่น (Tremor) ที่มือ แขน ขา กราม และใบหน้า
- กล้ามเนื้อเกร็ง (Rigidity) แขนขาหรือลำตัวแข็งไม่สามารถขยับได้
- เคลื่อนไหวช้าลง (Bradykinesia)
- เสียการทรงตัว (Postural Instability)
- กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
เมื่ออาการเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะเดิน พูด หรือทำกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ได้อย่างยากลำบาก มีปัญหาด้านการกลืน การเคี้ยว การพูด การถ่ายปัสสาวะ มีอาการท้องผูก นอกจากนี้อาจมีความจำหลงลืม อาการซึมเศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลง และนอนไม่หลับร่วมด้วย
แม้จะเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีต่างๆเพื่อช่วยชะลอโรค ทั้งการกินยาไปจนถึงการผ่าตัด อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีทางการแพทย์มีเทคโนโลยีใหม่ในการติดตามการดำเนินของโรคในผู้ป่วยคือ เครื่องบันทึกการเคลื่อนไหวพีเคจี (PKG : Parkinson Kinetic Graphy) เป็นการบันทึกการเคลื่อนไหวของพาร์กินสันไคเนติกราฟที่จะถูกนำมาใช้ประเมินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทั้งวันและทุกวันโดยอัตโนมัติ เหมือนนาฬิกาสวมใส่ที่ข้อมือของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณ 6 – 10 วัน และเมื่อผู้ป่วยส่งเครื่องบันทึกข้อมูลกลับมาแพทย์ก็จะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหว หลังจากที่ผู้ป่วยทานยาเลโวโดปา (levodopa) แต่ละวันของผู้ป่วย รวมไปถึงเครื่องจะแจ้งเตือน บันทึกของการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
Eisai ผลิตยารักษาอัลไซเมอร์ หวังอนุมัติใช้ในญี่ปุ่นภายในปีนี้
วิธีป้องกันและชะลอโรคทางสมอง
- เล่นเกม ฝึกสมอง ศึกษาเรียนรู้ไม่หยุด ช่วยบริหารสมอง
- รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมตามมาตราฐาน
- อย่าปล่อยให้หูเป็นอะไร หรือรีบรักษา (หูตึง หูเสีย ได้ยินไม่ชัดเจน) จะทำให้การรับรู้เสียงต่างๆ แย่ลง สมองที่ทำหน้าที่แปลงเสียงเป็นความหมายก็จะค่อยๆ ถูกปิดกั้นไปด้วย
- รักษาความดันโลหิต-ระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ
- พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์
- เลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ (ปัจจัยสมองฝ่อในคนอายุน้อย)
- จำกัดการกินของเค็ม หวาน มัน อาหารรสจัดและอาหารแปรรูปด้วย
- หาเวลาพักร้อนไปเที่ยวบ้าง ไม่ให้เครียดเกินไป เพื่อให้สมองได้พักผ่อน
- ออกกำลังกาย ร่างกายแข็งแรง เลือดสูบฉีด สมองแจ่มใส
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงสมองกระทบกระเทือน หรือใส่เครื่องป้องกัน อย่างหมวกกันน็อค
ทั้งนี้หากมีอาการสุ่มเสี่ยงให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแม้โรคทางสมอง ยังไม่มียาที่ช่วยให้รักษาอย่างหายขาด แต่สามารถชะลอโรคได้นานขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล
“กลิ่นปาก” สัญญาณบอกสุขภาพช่องปากแย่ เช็กอาการบอกโรคเรื้อรัง
นิสัย “แคะจมูก” เสี่ยงติดเชื้ออักเสบ วิจัยพบอาจสัมพันธ์กับอัลไซเมอร์