สั่นแบบไหน? โรคพาร์กินสันแท้ ปล่อยลุกลามอาจเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
“โรคพาร์กินสัน” หรือที่คุ้นหู ว่าโรคสันนิบาตลูกนก ซึ่งเป็นโรคจากความเสื่อมของเซลล์บริเวณก้านสมอง ทำให้ไม่สามารถการผลิตสารโดพามีน (Dopamine) ที่เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมระบบการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อลดลง เป็นโรคทางสมองที่พบบ่อยให้ผู้สูงอายุ วั ย 50 ปีขึ้นไป อันดับ 2 รองลงมาจากอัลไซเมอร์ ลักษณะที่เด่นชัดคือ อาการสั่นเกร็ง ของกล้ามเนื้อซึ่งอาจลุกลามภาวะแทรกซ้อนจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้แม้กระทั่งการกลืนอาการ
พาร์กินสัน โรคที่มักเกิดในผู้สูงอายุ จากความเสื่อมของเซลล์บริเวณก้านสมอง ส่งผลให้ร่างกายเกิดจากความผิดปกติจากการขาดสารโดพามีน ที่ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่เต็มประสิทธิภาพ ระบบการรับรู้ทำงานได้น้อยลง ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน จึงอาจมีอาการรับกลิ่นได้น้อยลง ทรงตัวไม่ดี เคลื่อนไหวช้า เคลื่อนไหวลำบาก หลังโก่งโค้งงอ บางรายอาจเกิดภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ วิตกกังวล กลับกันผู้ป่วยอาจร้องตะโกนขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับร่วมด้วย
5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน โรคสมองส่งต่อได้ทางพันธุกรรม สัญญาณ-วิธีชะลอโรค
โรคพาร์กินสัน อันตรายแค่ไหน?
ถ้าหากเป็นความอันตรายในแง่ของตัวโรค ก็คงจะไม่อันตรายและน่ากลัวเท่าโรคลุกลามอื่นๆ แต่พาร์กินสันก็เป็นโรคที่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ทั้งในแง่ของร่างกายและจิตใจ ที่สำคัญปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถประคับประคอง ควบคุมความรุนแรง
รักษาอย่างไรเพื่อลดความรุนแรง
- รักษาด้วยยา ปรับสมดุลสารโดพามีน ที่จะช่วยให้ชะลอและลดความรุนแรง แต่ไม่สามารถฟื้นฟูเซลล์สมองส่วนเสื่อมไปให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็ควรที่จะ ออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย ควบคู่กันไปด้วย
- รักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation, DBS) หากมีการใช้ยามาระยะเวลาหนึ่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์มักพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดใส่ตัวนำกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาและยุโรป การผ่าตัดจะช่วยให้การออกฤทธิ์ของยาสม่ำเสมอมากขึ้น อาการยุกยิกลดลง และผู้ป่วยส่วนมากสามารถลดปริมาณยารักษาโรคพาร์กินสันลงได้ มากกว่า 50% แต่ไม่ว่าอย่างไรการผ่าตัดก็เป็นเพียงการควบคุมอาการของโรค ไม่ใช่เป็นวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาดจากโรคได้
พาร์กินสันเทียมคืออะไร ? ต้องบอกว่าปัจจัยการสั่นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ใช่โรคพาร์กินสันหรือแม้กระทั่งไม่ทราบสาเหตุเช่น
- พันธุกรรม
- โรคทางสมองอื่นๆ
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- ภาวะติดเชื้อ
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาต้านเศร้า ยาขยายหลอดลม
ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลพญาไท
เช็ก 10 อาการเตือน “ไทรอยด์” รู้ทันรักษาได้ ก่อนเสี่ยงหัวใจล้มเหลว
“ไทรอยด์เป็นพิษ” ส่งผลต่อร่างกายทั้งระบบ เสี่ยงหัวใจวาย-สูญเสียการมองเห็น