ปัญหาเรื่องหู ทำสมองเสื่อมได้ เช็กสัญญาณเตือนหูเสื่อม วัยไหนก็เป็นได้
ประสาทหู คือประสาทเดียวในร่างกายที่ใช้ในการฟังเสียง และ ส่งให้สมองประมวลผล เมื่อไหร่ที่ การรับรู้เสียงน้อยลง นั้นหมายถึงสมองก็จะทำงานได้น้อยลงด้วยนำไปสู่ความเสื่อมสมองในที่สุด เช็ก 9 สัญญาณเตือนหูเสื่อมก่อนวัย ที่ใครก็เป็นได้!
ปัจจัยหนึ่งของโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ คือ ปัญหาเรื่องหู แล้วเรื่องหู แล้วหูเกี่ยวอะไรกับสมอง มันเสื่อมได้อย่างไร? อันที่จริงสมองของเราจะประมวลผลผ่านทางการรับรส การมอง กลิ่น และเสียง ซึ่งข้อมูลที่ส่งผ่านทางหู ที่ใช้อยู่ตลอดเวลาแม้แต่ช่วงเวลาที่นอนหลับ จึงทำให้สมองได้รับข้อมูลที่สูงมาก เมื่อไหร่ก็ตาม ที่หูเริ่มเสื่อมหรือฟังได้น้อยลง จะทำให้การรับรู้เสียงต่างๆ แย่ลง สมองที่ทำหน้าที่แปลงเสียงเป็นความหมายก็จะค่อยๆ ถูกปิดกั้นไปด้วยนำไปสู่สมองเสื่อมในที่สุด
5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์
พิษแอลกอฮอล์ทำลายสมอง เสี่ยงสมองฝ่อ สาเหตุอัลไซเมอร์-พาร์กินสันในคนอายุน้อย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูตึงที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย
- อายุมากขึ้น ระบบประสาทเสื่อมถอย
- ความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด
- การใช้ชีวิตที่อยู่กับเสียงดังหรืออาชีพที่ต้องอยู่กับเครื่องจักร
- โรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน
สัญญาณ เสี่ยงหูตึง
- ได้ยินคนรอบข้างพูดงึมงัม
- มักขอให้คู่สนทนาพูดซ้ำหลายๆครั้ง
- เข้าใจบทสนทนาลำบาก เมื่ออยู่ในที่ที่มีเสียงจอแจ
- หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน
- คนรอบข้างต้องพูดเสียงดังขึ้นจึงจะได้ยิน
- ดูโทรทัศน์เสียงดังกว่าปกติ
- ได้ยินไม่ชัด บางคำหายไป ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค
- มีเสียงดังในหู
- พูดเสียงดังกว่าปกติ
วิธีป้องกันและชะลอประสาทหู ด้วยการปรับพฤติกรรม
- เลี่ยงการใช้หูฟังแบบเปิดเพลงเสียงดังลั่น จนแก้วหูสะเทือน เพราะนี้แหละค่ะ ตัวการทำประสาทหูเสื่อมก่อนวัย
- เลี่ยงการแคะหูบ่อย เพราะคิดว่าดี ต้องเข้าใจก่อนว่าขี้หู มีหน้าที่ในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าหู ไม่ว่าจะแมลง ผง หรือฝุ่นละอองต่างๆ รวมทั้งคอยทำลายเชื้อแบคทีเรีย ฉะนั้นแคะเท่าที่จำเป็น นานๆแคะที อย่าเพลินจนไม่มีเกราะป้องกันหูนะคะ
- ดำน้ำพอประมาณ กิจกรรมผ่อนคลายอย่างการดำน้ำ อาจไม่ใช่กิจกรรมที่ดีต่อประสาทหูเท่าไหร่ เพราะเมื่อเราต้องดำลงไปใต้น้ำ แรงกดดันใต้น้ำจะก่อให้เกิดการบีบอัดต่อศีรษะและอวัยวะในช่องหู และหากไม่สามารถปรับความดันระหว่างการดำน้ำได้ อาจส่งผลให้เกิดอาการ Barotruama หรืออาการปวดหูที่เกิดจากความดันที่ไม่สมดุลนั่นเอง ฉะนั้น ดำได้แต่อย่าบ่อย หรือ ควรมีวิธีป้องกันหูบ้างเพื่อความปลอดภัยนะคะ
- เลี่ยงการเที่ยวในสถานบันเทิงเสียงดังบ่อยๆ หรืออยู่ใกล้เครื่องจักรโดยไม่มีเครื่องป้องกัน เพราะอาจจะได้รับความดังของเสียงมากเกินไป แม้จะไม่กินระยะเวลานานถึง 8 ชั่วโมง แต่หากไปเที่ยวเป็นประจำติดต่อกันนานๆ อาจส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมก่อนวัยได้
- ลดการกิน“รสเค็ม” ไม่เพียงแค่พฤติกรรมการฟังเสียงดังบ่อยๆ เท่านั้นนะ แต่พฤติกรรมการกิน โดยเฉพาะ “กินเค็มจัด” เป็นประจำ ก็ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วได้ เพราะการกินเค็มสะสมเป็นเวลานานๆ ทำให้ท่อน้ำในหูชั้นในโป่งและแตก เกิดภาวะไม่เท่ากันของเกลือแร่ หรือที่เราเรียกกันว่า “อาการน้ำในหูไม่เท่ากัน”
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน โรคสมองส่งต่อได้ทางพันธุกรรม สัญญาณ-วิธีชะลอโรค
โรคหลงลืมชั่วคราว คืออะไร? เกี่ยวกับอัลไซเมอร์หรือไม่?
ปัจจุบันไม่มียารักษาภาวะเสื่อมตามวัยของระบบประสาทหู ดังนั้นในกรณีที่อาการหูตึงมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาให้ใส่เครื่องช่วยฟัง (hearing aids) ซึ่งช่วยทำหน้าที่เสมือนเครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยใส่ไว้ในช่องหู สามารถถอดเก็บได้ ในกรณีหูตึงขั้นรุนแรงหรือหูหนวก แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม (Cochlear implant) ในกระดูกก้นหอยที่อยู่ในบริเวณหูชั้นในเพื่อลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แม้จะไม่ใช่ปัจจัยหลักแต่ก็เพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล และ โรงพยาบาลสมิติเวช
“หมากรุก”เกมที่ดีที่สุดในผู้สูงอายุ ฝึกไหวพริบ-พัฒนาสมอง-ลดอัลไซเมอร์
จุฬาฯ ชวนโหลดแอปพลิเคชันเช็กสมองเสื่อม โดยการตรวจการได้ยินฟรี!
กลุ่มอาหารทำลายสมอง เพิ่มความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน