โรคหลงลืมชั่วคราว คืออะไร? เกี่ยวกับอัลไซเมอร์หรือไม่?
การสูญเสียความทรงจำจากการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ว่ามีจริงหรือไม่ และการสูญเสียความทรงจำชั่วคราวต่างจาก อัลไซเมอร์ อย่างไร?
โรคทางสมองเสื่อมที่เราคุ้นเคยกันส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ที่มีปัจจัยอายุและความเสื่อมของเซลล์สมองรวมถึงกรรมพันธุเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งกลุ่มนี้จะมีอาการหลงลืมและต้องรับการรักษาดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อชะลอโรคต่างๆ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด รู้หรือไม่? มีอีกหนึ่งอาการ คืออยู่ๆ ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปช่วงคราว หรือ "โรคหลงลืมชั่วคราวหรือTGA" แล้วอาการดังกล่าวเป็นหนึ่งในสัญญาณอัลไซเมอร์หรือไม่ ?
5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน โรคสมองส่งต่อได้ทางพันธุกรรม สัญญาณ-วิธีชะลอโรค
โรคหลงลืมชั่วคราว (Transient Global Amnesia, TGA) ทำให้เกิดการสูญเสียความทรงจำ เกี่ยวกับ เวลา สถานที่ และรายละเอียด ของเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้ อย่างเฉียบพลัน ซึ่งเรียกว่าความจำชนิด อีพิโซดิก (Episodic memory) ขณะเกิดอาการนั้นผู้ป่วยมักมีลักษณะ กังวล รู้สึกงงว่าเกิดอะไรขึ้นและมักมีอาการถามซ้ำว่า เกิดเหตุการณ์นี้ ได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไรมาที่นี่ได้อย่างไร แต่ผู้ป่วยจะยังรู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตัวเองได้และความจำชนิดอื่น ๆ ยังปกติ โดยการสูญเสียความจำจากโรคนี้จะเป็นอาการชั่วคราว ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมงโดยความจำที่เสียไปจะค่อย ๆ คืนกลับมา โรคหลงลืมชั่วคราวนั้นปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุ แต่พบว่า ผู้ที่เป็นโรคมักมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น
- อายุ 50 – 80 ปี
- เป็นโรคไมเกรน
- โรคหัวใจ
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- โรคทางจิตเวช
- ออกกำลังกายอย่างหนัก
- มีความเครียดรุนแรง เช่น การได้รับข่าวร้าย การทำงานหนัก การทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้น
- บาดเจ็บบริเวณศีรษะ
ขณะที่ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ยกตัวอย่างเคสของผู้ป่วยโรคลืมชั่วคราว(Transient global amnesia)ไว้ว่า
ผู้ป่วยชายไทยอายุ 56 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เป็นเบาหวาน ความดันหรือโรคหัวใจ ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แต่นอนค่อนข้างน้อย เมื่อ 9 ปีก่อน ขับรถไปซื้อของ หลังซื้อของเสร็จ จะเดินกลับมาขึ้นรถ พยายามหารถยนต์ของตัวเอง หาไม่เจอ เดินวนไปวนมา จนกระทั่งแม่ค้าที่นั่งอยู่บริเวณนั้นถามว่ากำลังหาอะไร ผู้ป่วยตอบว่าหารถยนต์ของตัวเอง แม่ค้าก็ชี้ไปที่รถ รถคันนี้ไม่ใช่หรือเพราะเห็นผู้ป่วยคนนี้ขับมาจอดเอง ผู้ป่วยจึงจำได้ว่ารถคันนี้เป็นรถของตัวเอง
ความจำของผู้ป่วยคนนี้หายไปประมาณ 15 นาที ช่วงนั้นจำอะไรไม่ได้เลย
หลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นก็รีบมาตรวจที่โรงพยาบาลทำการตรวจสมอง ทำเอ็มอาร์ไอรังสีแม่เหล็กสมอง พบว่าทุกอย่างปกติ แนะนำให้ผู้ป่วยนอนหลับให้เพียงพอ ติดตามผู้ป่วยมา 9 ปี อาการลืมชั่วคราวก็ไม่กลับมาอีก
โรคลืมชั่วคราวเป็นโรคที่พบทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่ในวัยกลางคน พบไม่บ่อย ไม่ทราบสาเหตุ มักลืมไม่นาน ไม่กี่ชั่วโมง จะลืมบางเรื่องเท่านั้น ความจำช่วงนั้นจะหายตลอดไป โรคนี้ผิดปกติเฉพาะความจำ การเคลื่อนไหว การพูด การมองเห็น การได้ยินยังปกติ มักเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว และไม่เกิดซ้ำอีก ไม่พบความผิดปกติของสมอง ไม่เป็นสัญญาณว่าคนที่ลืมชั่วคราวจะเป็นโรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคลมชักในอนาคต
สั่นแบบไหน? โรคพาร์กินสันแท้ ปล่อยลุกลามอาจเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
อาการ “ลืม” แบบไหนเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงถึง 4 ด้านด้วยกัน คือความจำ ความคิด คำพูด แลtพฤติกรรมหรือการกระทำ
- หลงลืมในเรื่องที่ไม่น่าลืม มีความจำที่แย่ลง
- ลืมทำขั้นตอนที่เคยทำเป็นประจำ เช่น ตักข้าว กินข้าว การติดกระดุมเสื้อ การใส่เสื้อผ้า
- ลืมเส้นทาง หลงทาง สิ่งที่เคยทำได้ดีกลับทำได้แย่ลง
- สับสนเรื่องวัน เวลา และสถานที่
- ไม่เข้าใจในภาพที่เห็น ไม่สามารถรวบยอดความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับตัวเองได้
- มีปัญหาในการพูด การเขียน การเลือกใช้คำ
- ลืมของ วางของผิดที่ผิดทาง
- สูญเสียการตัดสินใจที่ถูกต้อง ความสามารถในการตัดสินใจลดลง
- มีการแยกตัวและลดการเข้าสังคมลง
- อารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคหลงลืมชั่วคราวนั้นแตกต่างจากอัลไซเมอร์และโรคทางสมองอื่นๆ ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากมีโรคที่ให้อาการคล้ายกันได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack, TIA) โรคลมชัก ซึ่งโรคดังกล่าวต้องการการดูแลรักษาที่ต่างกันไป และอาจจะไม่หายเอง ดังนั้น หากเกิดอาการหลงลืมอย่างเฉียบพลัน ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ซึ่งต้องมีการดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอออกกำลังกายสม่ำเสมอและทานอาหารอย่างเหมาะสมควบคู่กันไปด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ โรงพยาบาลเปาโล
พิษแอลกอฮอล์ทำลายสมอง เสี่ยงสมองฝ่อ สาเหตุอัลไซเมอร์-พาร์กินสันในคนอายุน้อย