พิษแอลกอฮอล์ทำลายสมอง เสี่ยงสมองฝ่อ สาเหตุอัลไซเมอร์-พาร์กินสันในคนอายุน้อย
ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์สามารถเข้าไปทำลายเซลล์สมองได้โดยตรง ส่งผลให้การกำจัดของเสียในเซลล์สมองแย่ลง การสร้างสารสื่อประสาทน้อยลง เนื้อสมองเสียหายและตายหรือฝ่อเร็วกว่าปกติ เสี่ยงเกิดโรคสมองในคนอายุน้อย อย่างอัลไซเมอร์และพาร์กินสันที่ปกติพบในคนสูงอายุ แนะวิธีฟื้นฟูสมองหรือกินปริมาณแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมไม่ทำลายสมอง
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจซึ่งมีรายงานพบว่า อาการความจำเสื่อมเป็นผลจากการใช้แอลกอฮอล์ในระยะยาวมากถึง 9-24% โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลา ปริมาณ ชนิดของเครื่องดื่มซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์แตกต่างกันไป เช่น รูปแบบของการดื่ม ช่วงงดเว้นการดื่ม
ภาวะสมองเสียหายจากสุรา
- อาการในระยะเฉียบพลัน สูญเสียการควบคุมตัวเอง สูญเสียความจำระยะสั้นในด้านความคิด การใช้เหตุผลลดลง เสียการควบคุมการเคลื่อนไหวทรงตัวได้ไม่ดี
5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์
สั่นแบบไหน? โรคพาร์กินสันแท้ ปล่อยลุกลามอาจเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
- อาการในระยะยาว บุคลิกภาพและอารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีภาวะความจำเสื่อม มีปัญหาการเรียนรู้และจดจำ รวมไปถึงมีการเติมความจำด้วยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องลงไป รวมไปถึงอาจทำให้สมองบางส่วนฝ่อลงได้
แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองของเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากความแตกต่างในหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยจากฮอร์โมนเพศ น้ำหนัก ปริมาณไขมันในร่างกายนอกจากแอลกอฮอล์จะส่งผลต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนอื่นๆ ได้แก่
- เส้นประสาทควบคุมการสั่งการเคลื่อนไหว (Motor nerve) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของแขนขา
- เส้นประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึก (Sensory nerve) ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการชา คล้ายเข็มทิ่มปลายมือเท้า มีอาการเดินเซควบคุมการทรงตัวลำบาก
- เส้นประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nerve) ทำให้การควบคุมความดันระหว่างการเปลี่ยนท่า การเต้นของหัวใจ ผิดปกติ การหลั่งของเหงื่อ น้ำลาย น้ำย่อยในทางเดินอาหารผิดปกติ ส่งผลทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้
บางครั้งผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา มักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคพาร์กินสัน แต่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา เป็นภาวะที่รักษาให้ดีขึ้นและยับยั้งความเสียหายเพิ่มเติมได้
การรักษาภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮออล์
- การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษที่เข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง ทำให้เซลล์สมองฟื้นตัวได้
- รักษาภาวะขาดวิตามินบี 1 ด้วยการให้วิตามินบี 1 เข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะให้ผลตอบสนองดี ถ้าสมองได้รับความเสียหายไม่มาก โดยสมองส่วนที่ยังไม่ถูกทำลายจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ดี ซึ่งต้องให้ผ่านการฉีดติดต่อกัน 5-7 วัน
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน โรคสมองส่งต่อได้ทางพันธุกรรม สัญญาณ-วิธีชะลอโรค
ทั้งนี้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่สามารถดื่มได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสมอง คือ ไม่เกิน 3 วันใน 1 สัปดาห์ โดยปริมาณการดื่มไม่เกิน 14 ดื่มมาตรฐาน (7 pints of beer หรือ เบียร์ 4 ขวด, 1 pint of beer เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ 8 กรัม) ต่อสัปดาห์ในผู้หญิง และ 21 ดื่มมาตรฐานในผู้ชาย หากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในปริมาณที่มากและรู้สึกมีอาการผิดปกติของร่างกายตามที่กล่าวมา แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
กลุ่มอาหารทำลายสมอง เพิ่มความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน
6 สุดยอดเครื่องดื่มอายุยืน ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์-โรคหัวใจ ร่างกายอักเสบ