ปวดโรคกระเพาะจนยาเอาไม่อยู่ อย่าชะล่าใจ! อาจเป็นอาการแรก“มะเร็งกระเพาะอาหาร”
ปวดท้องเรื้อรัง ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อย่าคิดว่าตัวเองปวดแค่โรคกระเพาะแบบปกติจนชะล่าใจ เพราะปวดท้องคล้ายๆโรคกระเพาะอาจเป็นสัญญาณหนึ่งเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แล้วจะสังเกตตัวเองได้อย่างไรว่าเข้าข่ายโรคไหนกันแน่ เรามีคำตอบมาบอกคุณ!
ปวดท้องแบบไหน “มะเร็งกระเพาะอาหาร” ในระยะแรกเริ่มของมะเร็งกระเพาะอาหาร
- รู้สึกไม่สบายท้อง
- อาหารไม่ย่อย
- ท้องอืด
- แสบร้อนหน้าอก
- แน่นท้องตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่
ซึ่งลักษณะอาการคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ป่วยจึงมักทานยารักษาโรคกระเพาะและอาการปวดท้องที่เป็นก็จะค่อยๆ ทุเลาลง แต่เมื่อไหร่ที่การทานยาไม่สามารถรักษาอาการได้ หรือได้ผลเพียงชั่วคราวและต่อมาไม่ได้ผล อาจสันนิษฐานได้ว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
“ลมในท้องเยอะ” ท้องอืด เรอ ผายลมบ่อย อาจเป็นสัญญาณโรคระบบทางเดินอาหาร
“มะเร็งกระเพาะอาหาร” อาหารไม่ย่อย-ท้องอืด สัญญาณเล็กๆ หากมองข้ามอาจลุกลาม
มะเร็งกระเพาะอาหาร ไม่ใช่แค่ปวดท้อง...แต่ยังมีอาการอื่นร่วม ไม่เพียงยาโรคกระเพาะจะไม่สามารถรักษาอาการปวดท้องของผู้ป่วยได้ แต่เมื่อระยะโรครุนแรงมากขึ้นอาจทำให้มีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีภาวะโลหิตจาง
- อาจคลำพบก้อนตรงบริเวณเหนือสะดือหรือใต้ชายโครงด้านซ้าย
ปัจจัยสำคัญที่ให้มีโอกาสเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
- อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 60-80 ปี
- มักพบโรคนี้ในคนเอเชีย
- เพศชายมีความเสี่ยงงกว่าเพศหญิง 2-3 เท่า
- พันธุกรรม
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ กินเค็ม กินอาหารหมักดอง ไม่ชอบกินผักและผลไม้
อาหารสำหรับผู้ป่วย “โรคแผลในกระเพาะอาหาร” กินแบบไหนไม่ปวดท้อง
วินิจฉัยโรคกระเพาะอาหารด้วยการส่องกล้อง
เพราะอาการแสดงที่คล้ายกับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ป่วยจึงมักสับสนและเข้าใจว่าตัวเองเป็นแค่โรคกระเพาะ ทำให้ยังคงชะล่าใจ! กว่าจะมาพบแพทย์ก็คือมีอาการรุนแรงมากแล้ว หรือระยะของโรคเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ 4 แล้ว ซึ่งการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคได้มากกว่า 95% และใช้เวลาตรวจเพียง 10-15 นาทีเท่านั้น
ทำให้แพทย์ตรวจพบความผิดปกติได้เร็วและนำไปสู่วิธีการรักษาที่ตรงจุด
นอกจากการตรวจพบโรคช้าจะทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง เซลล์มะเร็งยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น แพร่กระจายไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก… เสี่ยงต่อการเกิดไตวาย ดังนั้น หากคุณมีอาการปวดท้องคล้ายโรคกระเพาะเป็นๆ หายๆ และมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมควรมาพบแพทย์
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล
“โรคกระเพาะอาหาร”ปวดท้องแบบไหน อาการใดบอกความรุนแรง รู้ก่อนเป็นแผลทะลุ
"กลืนอาหารลำบาก - ปวดท้องบ่อย" ควรตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร