ความเชื่อน้ำอัดลมช่วยทำให้เรอเพื่อระบายลมในท้อง-หายท้องร่วง จริงหรือไม่?
“กินน้ำอัดลม แล้วเรอออกมาทำให้ระบายแก๊สออกจากท้อง” หรือจะ“ใส่เกลือ แทนผงน้ำตาลเกลือแร่ในน้ำอัดลมทำให้หายท้องร่วง”นับเป็นความเชื่อที่ผิด หากดื่มอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือทำให้สุขภาพแย่ลงได้
หลายคนมีความเชื่อว่า “กินน้ำอัดลม เพื่อให้เรอ จะสามารถขับแก๊สออกมาจากท้อง” ทำให้สบายท้อง อันที่จริงเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะในน้ำอัดลมนั้นมีก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดไว้ในน้ำอัดลมให้มีความซ่าจะก่อให้เกิดแก๊สได้โดยตรง ส่วนสาเหตุที่ทำให้เรอเกิดจาก "กรดคาร์บอนิกที่อยู่ในน้ำอัดลมเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกลายเป็นแก๊สและไปสะสมตัวอยู่ในกระเพาะ สุดท้ายแก๊สนั้นย้อนกลับออกมาทางปากจึงเกิดเป็นเสียงเรอขึ้น"
“ลมในท้องเยอะ” ท้องอืด เรอ ผายลมบ่อย อาจเป็นสัญญาณโรคระบบทางเดินอาหาร
“น้ำอัดลม” ดื่มเกิดลิมิตเสี่ยงโรครุมเร้า ร่างพัง อัตราหัวใจล้มเหลวเพิ่ม 23%
ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคกระเพาะ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของน้ำตาลและคาเฟอีนที่ถ้าหากกินมากเกินไปอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ ที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำอัดลมตอนท้องว่างเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารซึ่งอาจกัดกระเพาะได้และหากดื่มในปริมาณมากและเป็นเวลานานก็จะทำให้กระดูกผุจริง
เช่นเดียวกับความเชื่อว่า “การดื่มน้ำอัดลมใส่เกลือ แทนผงน้ำตาลเกลือแร่ทำให้หายท้องร่วง” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำ เนื่องจากในน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ และยังมีการอัดก๊าซ หากดื่มอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือทำให้อาการท้องร่วงแย่ลงได้ และยังต้องระมัดระวังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและเด็กเล็ก วิธีที่ดีที่สุดในเบื้องต้นคือ การดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ ที่เรียกว่า โอ-อาร์-เอส (ORS : Oral Rehydration Salts) ช่วยทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากอาการท้องร่วง ใช้ป้องกันหรือแก้ไขภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ แต่ไม่สามารถหยุดหรือบรรเทาอาการท้องร่วงได้
หากไม่สามารถหาซื้อผงน้ำตาลเกลือแร่ได้จริงๆ อาจใช้ น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 1 ช้อนชา ผสมในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 750 มิลลิลิตร (หากละลายยาก สามารถใช้น้ำอุ่นพอประมาณได้ แต่ไม่ควรใช้น้ำร้อนจัด) ใช้ดื่มเพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ได้
วิธีขจัดปัญหาแก๊สแน่นท้อง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแก๊สสูง
หลีกเลี่ยง เพราะว่าในเครื่องดื่มที่มีก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดไว้ในน้ำอัดลมให้มีความซ่าจะก่อให้เกิดแก๊สได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด หรือ ถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเบียร์และไวน์แดง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ สุรา ไวน์ ค็อกเทล หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด มีฤทธิ์กระตุ้นและทำให้เกิดปัญหาในระบบย่อย ทำให้เกิดกรดไหลย้อน ซึ่ง เบียร์และไวน์แดง มีแก๊สแล้วยังหมักจากยีสต์ที่อาจทำให้สมดุลของแบคทีเรียในกระเพาะเสียไป และก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อยอาหารได้ ส่วนไวน์มีสารที่ทำให้ไวน์เป็นสีแดงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อย
- ชีส
อาหารพวกนม หรือชีส จะมีน้ำตาลแล็คโตส ซึ่งจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อแลคเตส แต่หากกระบวนการย่อยทำงานไม่ดีก็จะเกิดแก๊สและอาการท้องอืดได้
- เคี้ยวอาหารให้ช้าๆ
ควรเคี้ยวให้ช้าลง เพราะการเคี้ยวเร็วจะทำมีลมเข้าไปในท้องได้ค่ะ ฉะนั้นควรเคี้ยวให้ละเอียด แต่ละมื้อควรมีเวลารับประทานอย่างน้อย 20 นาที และควรเลี่ยงการรับประทานระหว่างยืน เดิน และดูโทรทัศน์
5 อาหารทำลายกระดูก กินบ่อยๆ เสี่ยงกระดูกบาง-หักง่าย
- อย่าดื่มน้ำพร้อมอาหาร
ห้ามดื่มน้ำตอนทานอาหาร เพราะโดยปกติแล้วเราจะกลืนอากาศเข้าไประหว่างดื่มน้ำและรับประทานอาหารอยู่แล้ว แต่หากยิ่งรับประทานและดื่มสลับกันระหว่างมื้ออาหารจะยิ่งทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะมากขึ้น ฉะนั้นควรเก็บน้ำไว้เป็นรายการสุดท้ายหลังรับประทานอาหารอิ่มแล้ว
- ไม่ควรรับประทานผักบางประเภท
เช่น เชอรี่ หัวหอม ผักกาดขาว แอปเปิ้ล เห็ด และข้าวโพด ผักผลไม้เหล่านี้ที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้คือถั่วทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กขนาดใหญ่ หรือถั่วที่ขึ้นชื่อว่าดีต่อสุขภาพอย่างถั่วเหลือง ซึ่งลำไส้เล็กย่อยไม่หมดจึงเหลือไปถึงลำไส้ใหญ่ ทำให้แบคทีเรียสร้างแก๊สขึ้นได้ แนะนำว่าให้กินผักแบบปรุงสุกเพราะมีแก๊สที่น้อยกว่าแบบกินสด
- การออกกำลังการหนักเกินไป
มีผลการศึกษาเปิดเผยว่า 71% ของนักวิ่งมีปัญหาเรื่องการย่อย แก๊สในกระเพาะ และท้องอืด เพราะระหว่างการออกกำลังกายเรามีแนวโน้มจะหายใจทางปาก ซึ่งทำให้ได้รับอากาศเข้าท้องมากเกินไป
- ติดเคี้ยวหมากฝรั่ง
การเคี้ยวมากๆ ทำให้เรากลืนลมเข้าไปมาก นอกจากนี้สารไซลิทอลในหมากฝรั่งหลายชนิดยังก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ค่ะ
โรคกระเพาะและกรดไหลย้อน นับเป็นโรคที่น่ารำคาญสำหรับคนเมืองที่มีไลฟ์ไสตล์ที่เร่งรีบและไม่เลือกกินจึงทำให้เกิดการสะสมแก๊สและไขมัน การกินอาหารให้ถูกหลัก ครบ 5 หมู่และสะอาดในปริมาณที่เหมาะสมรวมถึง 3 มื้อ ตรงต่อเวลา ไม่กินของแสลงที่ระคายเคืองต่อกระเพาะก็จะช่วยบรรเทาอาการควบคู่ไปกับรับการรักษาจากแพทย์ร่วมด้วย ก็จะช่วยรักษาโรค แก๊สในกระเพาะสมดุลได้อย่างแน่นอนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล และ โรงพยาบาลราชวิถี
อาหารช่วยย่อย อุดมเอนไซม์ ลดอาการท้องอืดซ่อมแซมลำไส้ให้สมดุล
อาหารลดกรดไหลย้อน กินดี-กินถูกหลัก-ไม่กินแล้วนอนช่วยบรรเทาอาการได้