ไขมันในเลือดสูงเสี่ยงหลายโรค นำไปสู่การเสียชีวิตฉับพลันได้
รู้หรือไม่ ? “ไขมันในเลือดสูง” เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่นำไปสู่หัวใจวายเฉียบพลันเสียชีวิตได้,โรคหลอดเลือดสมองตีบที่นำไปสู่ 'อัมพฤกษ์ อัมพาต' ทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย
ไขมันในเลือดสูงเกิดจาก พฤติกรรมการกินอาหารที่มีไขมันสูงเป็นหลัก เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้
รู้จัก “ไขมันทรานส์” ตัวการเสี่ยงโรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ในอาหารจานโปรด
มื้อเช้าวันหยุดแบบไหน? ที่แย่สำหรับสุขภาพหัวใจ-ไขมันและโซเดียมสูง
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่เกิดโรคในคนผอมได้
- ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
- ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
- การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จำพวกอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ เป็นต้น
- มีภาวะเครียด และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
ชนิดของไขมันในเลือด มีทั้งที่เป็นประโยชน์และให้โทษต่อร่างกาย
- High-Density Lipoprotein หรือ (HDL) เป็น ไขมันชนิดดี มีความหนาแน่นสูง ช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ การมีไขมัน HDL ในเลือดสูงจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มไขมัน HDL ให้เราได้
- Low-Density Lipoprotein หรือ (LDL) เป็น ไขมันชนิดไม่ดี ส่วนใหญ่มาจากไขมันสัตว์ เป็นคอเลสเตอรอลที่จะไปสะสมตามผนังของหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ทั้งหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองจากน้ำตาลและแป้ง หรือจากอาหารที่เรารับประทาน หากมีปริมาณมากเกินไปก็ก่อให้เกิดโรคได้
เราสามารถดูแลตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยการรับประทารอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งอาหารที่จะช่วยเพิ่มไขมันดีลดไขมันเลวให้กับร่างกายนั้นมีอยู่หลายชนิด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะอาจทำให้ได้รับแคลอรีมากเกินพอดี
- ดาร์กช็อกโกแลต ช่วยลดการก่อตัวของคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีในเลือดได้
- ไวน์แดง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี แถมยังได้คุณประโยชน์จากองุุ่น เช่นเดียวกับอาหารเสริมที่สกัดจากองุ่น แต่ไม่ควรดื่มเยอะเกินไป แนะให้ดื่มเพียงวันละ 1 แก้ว
- ปลาทะเลไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ช่วยให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง
- ถั่ว อุดมด้วยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ช่วยลดระดับไขมันในเลือด
- มะเขือยาว ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลผ่านผนังลำไส้ได้
“อ้วนลงพุง” พฤติกรรมก่อโรคเรื้อรัง มะเร็ง- เบาหวาน - ไขมันพอกตับ
อย่างไรก็ตามการ 'ตรวจไขมันในเลือด' จะทำให้เราทราบถึงระดับไขมันในแต่ละชนิดในร่างกาย ซึ่งแพทย์จะได้แนะนำวิธีการลดไขมันเลวเพิ่มไขมันดี ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือหากพบระดับไขมันที่เริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพและหลอดเลือด ก็จะได้รีบรักษาด้วยการกินยาลดไขมัน โดยแพทย์เพื่อทำการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล และ โรงพยาบาลสมิติเวช
รู้หรือไม่ ? ผอมไปก็เสี่ยงโรคได้ ทั้งไขมันในเลือดสูง – กระดูกพรุน
ลดน้ำหนักแบบ“คีโต ไดเอต” กินมัน(ดี)เพื่อเบิร์นไขมัน