ซัมเมอร์นี้! เลือดแว่นกันแดดอย่างไร? ปกป้องดวงตาภัยจากแดดสูงสุด
เป็นที่ทราบกันดีว่าการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการผิวไหม้จากแดดและมะเร็งผิวหนัง แต่รู้หรือไม่? ว่าแสงแดดเป็นอันตรายต่อดวงตาด้วย การป้องกันดวงตาที่ดีที่สุดคือแว่นกันเดด แล้วเลือกแบบไหนเหมาะกับเรา ? และได้มาตราฐานลดความเสี่ยงทางตา
แสงแดดไม่ใช่แค่ทำร้ายผิวหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคลดแดด หรือฮีทสโตรกแล้ว ยังก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทางดวงตา เช่น ต้อกระจก ต้อเนื้อ จอประสาทตาเสื่อม และโรคตาอักเสบได้และเพื่อปกป้องดวงตา ควรสวมแว่นกันแดดแม้ในวันที่มีเมฆมากก็ตาม โดยแว่นที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ดีที่สุด
ทำไมต้องปกป้องดวงตา ? แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet-UV ) 3 ชนิด คือ
- Ultraviolet A - UVA มีอำนาจทะลุทะลวงสูงสุดผ่านชั้นโอโซน ด้วยความยาวคลื่น 315 - 400 นาโนเมตร
ค่าระดับความแรงของแดดแค่ไหน? เสี่ยงผิวไหม้แดดพัฒนาเป็นมะเร็งผิวหนังได้
ตากแดดนานๆ เสี่ยง “มะเร็งผิวหนัง” จริงหรือไม่? สัญญาณของโรคคืออะไร?
นอกจากส่งผลทำให้ผิวเหี่ยวย่น เกิดจุดด่างดำ และแก่ก่อนวัย ยังทำอันตรายต่อดวงตาส่วนหลังที่เรียกว่าจุดภาพชัด (Macula) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเรตินาที่ส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อแปลแสงเป็นภาพ ช่วยให้มองเห็นรายละเอียดชัดเจน
- Ultraviolet B - UVB รังสีของแสงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดผิวไหม้ เกรียมแดด และเป็นอันตรายต่อดวงตาส่วนหน้า ที่เป็นบริเวณของกระจกตาและเลนส์ ซึ่งเลนส์มีหน้าที่เปิดรับแสงและทำงานร่วมกับกระจกตาเพื่อโฟกัสที่เรตินา
- Ultraviolet C - UVC ถูกดูดซึมไปในชั้นโอโซนของบรรยากาศ จึงไม่สามารถลงมายังผิวโลก แต่การศึกษาในปัจจุบันพบว่าบางพื้นที่มีโอโซนลดลง อาจทำให้แสง UVC ผ่านลงมาสู่โลกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รังสียูวีที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เครื่องเชื่อม เตียงอบผิวแทน และเลเซอร์ ก็สามารถส่งผลเสียต่อดวงตาได้เช่นกัน
โรคของดวงตาที่เกิดจากรังสียูวี
- กระจกตาอักเสบเนื่องจากรังสียูวี
- ต้อกระจก (Cataracts)
- จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular degeneration)
- ต้อเนื้อ (Pterygium)
- มะเร็งผิวหนังรอบดวงตา (Skin cancer around the eyes)
มาตรฐานขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่า แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐาน ควรป้องกันรังสียูวีเอได้อย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ และยูวีบีได้อย่างน้อย 99 เปอร์เซ็นต์ การที่เราจะทราบว่าแว่นตานั้นๆ สามารถป้องกันรังสียูวีได้หรือไม่ มีวิธีสังเกตง่ายๆ โดยดูจากขาแว่นด้านในจะมีสัญลักษณ์ CE ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานของยุโรปปรากฏอยู่
ตัดแสงสะท้อนได้ ควรเป็นแว่นโพลาไรซ์ ที่ตัดแสงสะท้อนได้ เนื่องจากเลนส์แว่นตาจะทำจากวัสดุต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น แก้ว หรือพลาสติก ซึ่งจะทำให้เห็นแสงสะท้อนได้ แว่นกันแดดที่ดีโดยทั่วไปควรตัดแสงได้ประมาณ 70-90 เปอร์เซ็นต์
เลือกใส่ให้เหมาะกับกิจกรรม
เลนส์ที่นิยมนำมาทำแว่นกันแดดมี 3 ชนิด คือ เลนส์ CR 39 เป็นเลนส์พลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด เพราะทนแรงขูดขีดได้ดี ช่วยป้องกันได้ทั้งรังสียูวีและอินฟราเรด ส่วนเลนส์แก้ว มีความใสและทนแรงขูดขีดได้ดีกว่าเลนส์พลาสติก แต่มีข้อเสีย คือ น้ำหนักมากและแตกได้ถ้ามีอุบัติเหตุที่รุนแรง และสุดท้าย คือ เลนส์พลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเบาที่สุด ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี มักนำมาใช้ในการทำแว่นสำหรับใส่เล่นกีฬาหรือกิจกรรมผาดโผน ช่วยป้องกันอันตรายจากดวงตาได้ดีที่สุด
สีของเลนส์ เลนส์ของแว่นกันแดดมีผลิตออกมาหลายสี โดยแต่ละสีก็มีข้อดีข้อด้อยในการใช้แตกต่างกันไป คือ
- สีดำ เหมาะกับกิจกรรมกลางแจ้งมากที่สุด
- สีเทา ช่วยกรองแสงและตัดแสงจ้า ไม่ทำให้สีเพี้ยน เหมาะในการใส่ไปเที่ยวทะเล
- สีส้มหรือสีเหลือง ช่วยให้การมองภาพในเชิงลึกดีขึ้น แต่มีการเพี้ยนของสี ไม่เหมาะนำมาใส่ขับรถ
- สีน้ำตาล ทำให้มองสีและแสงธรรมชาติได้คมชัดขึ้น เพิ่มวิสัยทัศน์ในการมอง โดยเฉพาะในการขับขี่รถยนต์หรือจักรยานยนต์
- สีเขียว ช่วยกรองแสงและตัดแสงได้ดีเหมือนสีเทา ช่วยให้สบายตา โดยเฉพาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
- สีชาและเทาดำ เหมาะในการใช้งานทั่วไป
รู้ทัน 8 โรคหน้าร้อน ภัยเงียบที่มากับอากาศแฝงตัวอยู่ในอาหาร
เลือกกรอบให้เข้ากับใบหน้า
สำหรับใบหน้าสี่เหลี่ยมควรใส่แว่นกรอบทรงโค้ง กลม ใบหน้ากลมควรใส่แว่นกรอบใหญ่ปิดโหนกแก้มจะทำให้หน้าดูเล็กลงและเน้นแว่นทรงเหลี่ยม ใบหน้ายาวควรใส่แว่นกรอบรี ปิดตาให้หมด และหน้ารูปไข่สามารถใส่ทุกแบบ ก่อนซื้อควรสวมใส่แว่นเดินไปมา ก้มเงยดูว่าไม่ลื่นไหล และเช็คเลนส์ว่าแนบอยู่ในกรอบเลนส์ หรือขาเลนส์บิดเบี้ยวหรือไม่ จะช่วยให้เราเลือกแว่นที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับขนาดของใบหน้า
อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อแว่นจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจไม่สามารถกรองแสงยูวีได้ ในกรณีที่มีการเคลือบสีที่ตัวเลนส์ด้วย สีเหล่านี้จะทำให้ดวงตาเสมือนอยู่ในที่มืด ดวงตาคนเราปกติเวลาอยู่ในที่มืดม่านตาจะขยาย ดังนั้นถ้าใส่เลนส์ปลอมหรือเลนส์ไม่ดีหากม่านตาขยายก็กลายเป็นว่าแสงยูวีจะสามารถเข้าสู่ดวงตาได้เยอะขึ้น ทำให้ดวงตาเราได้รับอันตรายมากกว่าปกติ และเพิ่มความเสี่ยงกับโรคตามากขึ้น สังเกตได้ง่ายๆ หลังจากสวมใส่แว่น จะเกิดอาการผิดปกติที่เป็นผลข้างเคียงจากการที่แสงเข้าตา ทำให้มีอาการล้า ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล และแสบตาได้ สุดท้าย ไม่เพียงแต่เราควรจะสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันดวงตาเท่านั้น แต่ยังควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเข้มของแสงยูวีสูงร่วมด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลพญาไท
แพทย์เตือน! “ฮีทสโตรก” หน้าร้อนต้องระวัง! ภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต
สงกรานต์ปีนี้! เลือก“ครีมกันแดด”ให้เหมาะกับตัวเอง เล่นน้ำสู้แดดไม่ต้องกลัวผิวเสีย!