แดดร้อนจัดทำลายดวงตา เสี่ยงกระจกตาเสื่อม-ริ้วรอยร่องลึก แนะวิธีถนอมสายตา
อากาศเมืองไทยที่ร้อนอบอ้าวแดดเปรี้ยงแบบไม่พัก อีกทั้งยังมีมลภาวะจากฝุ่น ที่ไม่ได้ทำลายแค่ผิวแต่ทำร้ายดวงตาด้วย ซึ่งจากรายงานของ WHO พบว่า ประมาณ 20% ของต้อกระจกอาจมีสาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวีมากเกินไป แนะเทคนิคถนอมดวงตา
ปกติเราสามารถปกป้องผิวหนังจากแสงแดดด้วยการใช้ครีมกันแดด ซึ่งแน่นอนว่าปกป้องได้ถึง 98% ของร่างกาย แต่หลายคนอาจมากข้าม 2 % อย่างดวงตา ที่อาจได้รับอันตรายจากแสงแดด ดังนั้นธรรมชาติจึงช่วยปกป้องดวงตาด้วยการห่อหุ้มด้วยกระดูกเบ้าตา มีเปลือกตา ขนคิ้ว และขนตาเป็นเกราะป้องกันอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้การหดแคบลงของรูม่านตา การหลับตาหรือการหรี่ตาก็เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยปกป้องดวงตาตามธรรมชาติเมื่อถูกกระตุนด้วยแสงแต่จะไม่ถูกกระตุ้นด้วยรังสียูวี
รู้ทัน 8 โรคหน้าร้อน ภัยเงียบที่มากับอากาศแฝงตัวอยู่ในอาหาร
ตากแดดนานๆ เสี่ยง “มะเร็งผิวหนัง” จริงหรือไม่? สัญญาณของโรคคืออะไร?
ดังนั้นแม้ในวันที่ไม่มีแสงแดดจ้า ร่างกายก็ยังคงได้รับรังสียูวีในปริมาณมาก ทำให้ประสิทธิภาพของกลไกป้องกันดวงตาก็มีข้อจำกัดเช่นกันแสงแดดประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รังสียูวี (UV Rays)ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
- รังสียูวี ซี (UV C rays, 100 – 280 nm) เป็นรังสียูวีที่มีพลังงานสูงที่สุดและสามารถก่อให้เกิดอันตรายกับผิวหนังและดวงตาได้มากที่สุด
- รังสียูวี บี (UV B rays, 280 – 320 nm) เป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยกว่ารังสียูวี ซี ถูกกรองโดยชั้นโอโซนได้บางส่วน รังสีบางส่วนที่ทะลุผ่านลงมายังโลกในปริมาณน้อยจะกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ทำให้สีผิวคล้ำขึ้น ส่วนรังสีในปริมาณมากจะทำให้ผิวหนังไหม้ เกิดจุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่น และเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งผิวหนัง
- รังสียูวี เอ (UV A rays, 320 – 400 nm) เป็นรังสีที่มีพลังงานต่ำกว่า 2 ชนิดแรก แต่สามารถทะลุผ่านกระจกตาเข้าไปสู่เลนส์ตาและจอตาได้ การได้รับรังสีชนิดนี้เป็นปริมาณมากอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจกและบางการวิจัยพบว่าอาจมีผลต่อการเกิดจุดภาพชัดเสื่อมด้วยเช่นกัน
อาการของดวงตารับแสงแดดมากเกินไป
- ตาแห้ง
- มีอาการแสบ เคืองตา
- ตามัวชั่วขณะ
ดวงตากับอันตรายจากแสงแดด
- เปลือกตา สีผิวเปลี่ยน มีจุดด่างดำ ริ้วรอยรอบดวงตา นอกจากนี้ยังมีรายงานพบว่า มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกตาบางชนิด ที่อาจเกี่ยวเนื่องมาจากการได้รับแสงแดดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- เยื่อบุตา มีการเสื่อมของเยื่อบุตาบริเวณที่ชิดกับขอบตาดำ เรียกว่า ต้อลม ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองจากลม ฝุ่น รังสียูวี อาจรบกวนการมองเห็น หรือหากมีการอักเสบ จะทำให้มีอาการปวดและระคายเคืองได้
- กระจกตา การอักเสบเฉียบพลันของกระจกตา ทำให้มีอาการปวดตามาก น้ำตาไหล มักจะเกิดอาการประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากได้รับรังสียูวีปริมาณมาก เช่น แสงสะท้อนจากหิมะหรือรังสียูวีจากการเชื่อมโลหะโดยไม่ส่วมใส่แว่นป้องกัน อาการมักจะเป็นอยู่ชั่วคราวประมาณ 1 – 2 วัน
- เลนส์ตา การเกิดต้อกระจก แม้ว่าต้อกระจกจะเกิดจากการเสื่อมตามวัย แต่พบว่าการได้รับรังสียูวี ทำให้เป็นต้อกระจกมากขึ้นได้ ในแต่ละปีมีประชากรกว่า 16 ล้านคนทั่วโลกตาบอดจากต้อกระจก จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประมาณ 20% ของต้อกระจกอาจมีสาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวีมากเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้
- จอตา ในคนหนุ่มสาวเลนส์ตาที่ยังใสอยู่ไม่สามารถดูดซับรังสียูวีไว้ได้หมด จึงมีโอกาสที่รังสียูวีจะเข้าไปทำลายจอตาทำให้เกิดจอตาเสื่อมได้ แม้ว่าในจอตาของเราจะมีสารหรือเม็ดสีตามธรรมชาติที่ช่วยปกป้องจอตา แต่สารเหล่านี้จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้กระบวนการป้องกันจอตาตามธรรมชาติลดลงและเกิดการเสื่อมของจอตาได้ง่ายขึ้น เมื่อได้รับรังสียูวี นอกจากนี้บางการศึกษาเชื่อว่ารังสียูวีน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะจุดรับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ
เตือนอันตราย! PM 2.5 ภัยร้ายใกล้ดวงตา เลี่ยงต่อการติดเชื้อ
ถนอมสายตาจากแดด
- สวมแว่นตากันแดดประเภทที่ย้อมสารป้องกันรังสียูวี องค์การอาหารและยาของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานการป้องกันรังสี UV ของแว่นกันแดดไว้ว่า ต้องป้องกัน UVA ได้อย่างน้อย 95% และ UVB ไม่น้อยกว่า 99% ซึ่งประสิทธิภาพการป้องกันรังสียูวีไม่ได้ขึ้นอยู่กับสีหรือระดับความเข้มของเลนส์
- เลนส์ควรมีขนาดใหญ่และกว้างสามารถปิดบังดวงตาจากแสงแดดได้ทุกองศา
- ทาครีมบำรุงรอบดวงตาเป็นประจำ
แว่นกันแดดนอกจากจะป้องกันรังสียูวีแล้ว แว่นกันแดดที่ดีควรมีคุณสมบัติอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่
- Blue – Blocking Lenses ช่วยให้เห็นวัตถุไกล ๆ ได้ง่ายขึ้น สามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้ทั้งหมด
- Polarized Lenses ช่วยตัดแสง ลดการเกิดแสงแตกกระจาย เช่น แสงแดดสะท้อนจากหิมะหรือผิวน้ำ
- Photochromic Lenses สามารถปรับความเข้มของสีเลนส์ได้ตามปริมาณแสงที่เปลี่ยนแปลง
- Polycarbonate Lenses ช่วยป้องกันการกระแทกหรืออุบัติเหตุที่ดวงตา
- Mirror – Coated Lenses ช่วยลดแสงที่มองเห็นด้วยตา
- Gradient Lenses มี 2 ชนิด คือ Single – Gradient Lenses ซึ่งมีสีเข้มด้านบน สีอ่อนด้านล่าง ช่วยลดแสงแตกกระจายและเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการขับรถ อีกชนิดหนึ่ง คือ Double – Gradient Lenses ซึ่งจะมีสีเข้มด้านบนและล่าง สีอ่อนตรงกลาง เหมาะสำหรับกีฬาทางน้ำหรือกีฬาฤดูหนาว
นอกจากนี้การสวมหมวกที่มีปีกกว้าง กางร่มทุกครั้งที่ออกแดด จะช่วยลดปริมาณแสงยูวีได้ถึงร้อยละ 50 ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ๆ ก็จะช่วยปกป้องทั้งผิวและดวงตาของคุณของแสงแดดที่ร้อนผ่าวที่เหมือนซ้อมตกนรกได้มากเลยทีเดียวค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
ซัมเมอร์นี้! เลือดแว่นกันแดดอย่างไร? ปกป้องดวงตาภัยจากแดดสูงสุด
ตาใสปิ๊ง! ด้วยอาหารบำรุงดวงตาจากธรรมชาติ ป้องกัน-ชะลอปัญหาด้านสายตา