"กรดไหลย้อน" ไม่ควรนอนตะแคงขวา เสี่ยงอาการกำเริบ!!!
นอนตะแคงขวา มีส่วนเกี่ยวข้องและเพิ่มความเสี่ยงโรคกรดไหลย้อนได้เป็นเรื่องจริง เพราะหากเรานอนราบหัวต่ำ หลังจากรับประทานอาหารภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง เพราะอาหารและกรดจะยังค้างอยู่ที่กระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถไหลย้อนกลับมาที่บริเวณหลอดอาหารได้
ทางการแพทย์ได้อธิบายว่าถุงเก็บอาหารในกระเพาะจะอยู่ทางด้านซ้าย เมื่อเรานอนตะแคงซ้าย ถุงจะย้อยลงรูเปิดหลอดอาหารที่ลงไปยังกระเพาะจะอยู่เหนือระดับกรดและอาหารที่อยู่ในกระเพาะ ฉะนั้นกรดจึงจะไม่ไหลย้อนขึ้นมา แต่หากนอนตะแคงขวา รูเปิดหลอดอาหารจะอยู่ต่ำกว่าระดับของกรดและอาหารในกระเพาะ ทำให้สามารถย้อนกลับมาได้ ซึ่งทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนมากขึ้นนั่นเอง
คำแนะนำสำหรับผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน
- กินและไม่ควรนอนทันที เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการกรดไหลย้อนขึ้นมา แต่หากต้องการนอนจริงๆ ควรนอนตะแคงซ้ายจะดีกว่า
อาหารลดกรดไหลย้อน กินดี-กินถูกหลัก-ไม่กินแล้วนอนช่วยบรรเทาอาการได้
ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น
- ไม่ควรนอนหรือเอนหลังภายใน 3 ชั่วโมง หลังมื้ออาหาร
- ควรจะนอนหัวสูง หนุนหัวเตียงสูงอย่างน้อย 6-8 นิ้วขึ้นไป เพราะถ้านอนหัวต่ำ กรดก็จะไหลย้อนขึ้นมามากขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน หรือไม่รับประทานมากจนเกินไป ได้แก่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อคโกแลต อาหารมัน เผ็ด น้ำผลไม้ เช่น ส้ม องุ่น มะเขือเทศ
- ควบคุมน้ำหนัก ไม่ใส่เสื้อผ้าที่รัดหรือคับเกินไป
- ไม่กินอาหารจนอิ่มกินไปโดยดพาะมื้อเย็น
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่กินเร็วเกินไป
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
อาการและสัญญาณกรดไหลย้อน
- แสบร้อนบริเวณหน้าอก
- คลื่นไส้ ท้องอืด แน่นท้อง
- เรอบ่อย และเรอเปรี้ยว
- หายใจมีเสียงดังหวีด
- เวียนศีรษะ
- มีเสมหะ หรือของเหลวรสเปรี้ยวไหลขึ้นมาที่ลำคอ
- กลืนอาหารลำบาก คล้ายมีก้อนมาขวางอยู่ที่คอ
- เสียงแหบ
- มีอาการไอเรื้อรัง
- มีกลิ่นปาก หรือมีฟันผุ
“โรคกระเพาะ” และ “กรดไหลย้อน” แม้ไม่ใช่โรคเดียวกันแต่ก่อมะเร็งได้เหมือนกัน
โรคกรดไหลย้อนเป็นง่ายแต่รักษายาก และไม่หายขาด ดังนั้น ปรับพฤติกรรมการกิน กินให้เป็นเวลา และไม่กินดึก และจัดท่านอนอย่างเหมาะสม และไม่ป่วยเลยตั้งแต่ต้น นับว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด!
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
“กรดไหลย้อน” ปล่อยไว้นานเสี่ยง “มะเร็งหลอดอาหาร” ได้ แล้วอะไรคือสัญญาณโรค?