“โรคกระเพาะ” และ “กรดไหลย้อน” แม้ไม่ใช่โรคเดียวกันแต่ก่อมะเร็งได้เหมือนกัน
“โรคกระเพาะ” และ “โรคกรดไหลย้อน”โรคเรื้อรังที่สร้างความสับสนและมีผู้ป่วยไม่น้อยที่คิดว่าเป็นโรคเดียวกัน เพราะตำแหน่งอาการใกล้เคียงกัน ซึ่งถึงแม้ 2 โรคนี้จะแตกต่างกันเล็กน้อยแต่หากทิ้งไว้เรื้อรังอาจร้ายแรงก่อเป็นโรคมะเร็งได้ทั้งคู่
อาการโรคกระเพาะ VS โรคกรดไหลย้อน
- โรคกระเพาะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย และมักเป็นๆ หายๆ โดยจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร คืออาจปวดก่อนหรือหลังกินอาหาร
- โรคกรดไหลย้อน” มักจะเกิดอาการหลังมื้ออาหาร 30-60 นาที ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่ เรอบ่อย และรู้สึกเหมือนมีน้ำรสขมหรือรสเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาทางปาก
“โรคกระเพาะอาหาร”ปวดท้องแบบไหน อาการใดบอกความรุนแรง รู้ก่อนเป็นแผลทะลุ
เช็กอาการ ปวดจุกแน่นหน้าอกแบบนี้ โรคหัวใจหรือกรดไหลย้อน ?
ถึงแม้จะเป็นโรคเบสิกดูไม่อันตรายเท่าที่ควร แต่เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษา หากปล่อยทิ้งเอาไว้ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารการกิน ก็อาจจะเรื้อรังถึงขั้นเป็นมะเร็งได้เหมือนกันค่ะ
สัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ที่เกิดจากโรคกระเพาะเรื้อรัง
หากอาการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่...เริ่มทวีความรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถนอนหลับได้! มีอาการอาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด กลืนอาหารลำบาก น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีก้อนในท้อง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แบ่งตามระยะของโรค ดังนี้
สัญญาณของโรคมะเร็งหลอดอาหารที่เกิดจากโรคโรคกรดไหลย้อน
หากอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก...เพิ่มความถี่มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมไปถึงอาการกลืนอาหารลำบาก หรือกลืนแล้วรู้สึกว่ามีก้อนในลำคอ เจ็บหน้าอก และยาลดกรด..ไม่สามารถใช้บรรเทาอาการได้อีกต่อไป นี่คือสัญญาณบ่งบอกว่าคุณควรไปพบแพทย์ด่วน!!
โดยมะเร็งหลอดอาหารแบ่งเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กยังอยู่เฉพาะในตัวหลอดอาหารยังไม่ลุกลาม
- ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้นลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
- ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามทะลุเนื้อเยื่อต่างๆ ของหลอดอาหารและมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
- ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปหรือกระจายไปอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น
วิธีการรักษา มะเร็งหลอดอาหาร
- การผ่าตัด จะเป็นวิธีการรักษาในมะเร็งระยะต้นๆ และเป็นมะเร็งหลอดอาหารในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ โดยผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป
- รังสีรักษา โดยทั่วไปมักเป็นการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด หรือฉายรังสี เคมีบำบัด และผ่าตัด ซึ่งจะเป็นไปตามข้อบ่งชี้การแพทย์เป็นรายๆ ไป
“กรดไหลย้อน” ปล่อยไว้นานเสี่ยง “มะเร็งหลอดอาหาร” ได้ แล้วอะไรคือสัญญาณโรค?
“มะเร็งกระเพาะอาหาร” อาหารไม่ย่อย-ท้องอืด สัญญาณเล็กๆ หากมองข้ามอาจลุกลาม
ลดความเสี่ยงโรคด้วยการปรับพฤติกรรม
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่างและกินในปริมาณที่พอดี พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงความเครียด
ถึงจะมีการแยกออกเป็น 2 โรค แต่รู้หรือไม่ ? โรคกรดไหลย้อนจะเกิดขึ้น...เมื่อคุณป่วยเป็นโรคกระเพาะมาอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตจึงไม่เพียงแค่รักษาอาการกระเพาะอักเสบ แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อนได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลพญาไท
อาหารลดกรดไหลย้อน กินดี-กินถูกหลัก-ไม่กินแล้วนอนช่วยบรรเทาอาการได้
กลุ่มอาหารต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคที่พบมากในไทยเป็นอันดับที่ 4