"ไวรัสตับอักเสบบี" เป็น พาหะ-ติดเชื้อไม่มีอาการ ต้องรักษาหรือไม่ ?
เชื่อหรือไม่ ? ประชากรเกือบ 1 ใน 3 ของโลกเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และประมาณ 400 ล้านคนกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง สถิติในปี 2552 พบว่าไทยมีผู้ติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 8 ของประชากรหรือราว 3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่มีอาการผิดปกติ กว่าจะรู้ตัวก็ลุกลามกลายเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับแล้ว
พาหะของโรค คือผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อยู่ในร่างกายแต่ไม่มีอาการตับอักเสบ บุคคลที่เป็นพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ โดยสามารถพบได้ในสารคัดหลั่งทุกชนิดของผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะในกระแสเลือด จึงสามารถแพร่เชื้อได้จากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่งได้ โดยช่องทางที่พบว่าเป็นสาเหตุให้มีการแพร่เชื้อมากที่สุดก็คือ ทางเพศสัมพันธ์และการถ่ายทอดจากแม่ที่มีเชื้อสู่ทารก เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือดและแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ตับ
“มะเร็งตับ-ตับแข็ง” จาก “ไวรัสตับอักเสบบี” เช็กสัญญาณเสี่ยงโรค
“ไวรัสตับอักเสบ” มีกี่ชนิด? ละเลยเสี่ยง “มะเร็งตับ” อันตรายถึงชีวิต
บางรายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด คลื่นไส้ อาเจียน ตับโตและตัวตาเหลืองได้ แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน จากนั้นภูมิต้านทานของร่างกายจะพยายามกำจัดเชื้อ หากไม่สามารถกำจัดได้หมดก็จะเกิดภาวะ “ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง”
สัญญาณ ไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบมักจะไม่ทราบว่าตัวเองกำลังป่วยด้วยไวรัสตับอักเสบ เพราะจะมีอาการเพียงแค่เป็นไข้ เป็นหวัด ปวดเมื่อยตามตัวเหมือนการเป็นไข้ทั่วๆ ไป ซึ่งอาการเหล่านี้เองทำให้เราไม่สามารถบอกได้เลยว่าเรากำลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่หรือไม่ จนกระทั่งอาการเริ่มแสดงออกหนักขึ้นเช่น มีอาการตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับจะทำงานหนักกว่าปกติเพื่อต่อต้านกับเชื้อไวรัส อาการเหล่านี้จะช่วยบ่งชี้ได้ว่าเรากำลังติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่นั่นเอง อย่างไรก็ตามอาการจะดีขึ้นภายใน 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสตับอักเสบได้แล้ว และมักจะเป็นแล้วหายภายใน 6 เดือน หลังจากนั้นจะไม่กลับมาเป็นอีก
เป็นพาหะ-ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการต้องรักษาไหม ?
เป็นคำถามที่พบได้บ่อย หลายรายคิดว่าไม่มีอาการก็ไม่น่าจะต้องทำอะไร แต่ในความเป็นจริง จากข้อมูลที่มีการศึกษาติดตามผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังไปนาน 5 ปี จะพบว่ามีผู้ป่วยเกิดภาวะตับแข็งประมาณร้อยละ 8-20 คือมีอาการตัวบวมขาบวม ตัวตาเหลือง ซึม สับสน ซึ่งเกินจะเยียวยารักษาให้ดีขึ้น ต้องรอรับบริจาคตับเพื่อต่อการมีชีวิตอยู่ หรืออาจเสียชีวิตด้วยภาวะตับวาย หรืออาจตรวจพบว่ามีก้อนขนาดใหญ่ในตับ ซึ่งก็คือ...มะเร็งตับ
3 โรคตับคนรุ่นใหม่ จุดเริ่มต้นมะเร็งตับ ป้องกันได้แค่ปรับพฤติกรรม
แนวทางการรักษาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบีสามารถแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในร่างกายได้ การติดตามดูนิสัยของเชื้อไวรัสว่าปริมาณเชื้อมีเท่าไร ความสามารถในการแบ่งตัวเร็วหรือช้า และทำลายตับมากหรือน้อย จะเป็นเครื่องมือที่นำมาสู่การประเมินแนวทางการรักษาให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลทำลายตับ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานถั่วบดซึ่งมักมีเชื้อราบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อตับ การรับประทานยาบางชนิด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลเปาโล
“มะเร็งตับ” จากไวรัสตับอักเสบ เช็กอาการสุ่มเสี่ยง รู้ก่อนยับยั้งมะเร็งทัน
สัญญาณ “มะเร็งตับอ่อน” พบเพียง 1 ข้อควรพบแพทย์ ผู้สูบบุหรี่เสี่ยงสูง 3 เท่า