กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากลองโควิด มีเปอร์เซ็นต์การเกิดมากน้อยแค่ไหน ?
โควิด19 มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมกับโรคหัวใจ หากป่วยด้วยโรคหัวใจและติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้อาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าคนทั่วไป ซึ่งยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ชัดเจนว่าเจอมากน้อยเพียงใด แต่ในบางการศึกษารายงานการเสียชีวิตที่เกิดจากภาวะหัวใจโดยตรงจากการติดเชื้อโควิด-19 พบได้ถึง 7 – 10% และในผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรงพบว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้มากถึง 40% เลยทีเดียว
โรคหัวใจกับภาวะลองโควิด
ภาวะอาการทางโรคหัวใจที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากการติดเชื้อโควิด-19 หรือภาวะโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) จากรายงานพบว่า อาการที่อาจพบร่วมด้วยของการเป็นโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) อยู่ในกลุ่มเดียวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าพบอุบัติการณ์ของการเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังติดเชื้อโควิด-19 มากน้อยเพียงใด
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนเชื้อเป็น (mRNA) กลุ่มวัยรุ่นชายเสี่ยงกว่า
11 ความเสี่ยง “โรคหัวใจ” เช็กอาการเจ็บหน้าอกแบบไหนควรพบแพทย์
แต่พบน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการมีภาวะแทรกซ้อนขณะที่กำลังมีการติดเชื้อโควิด-19 ในบางการศึกษารายงานการเสียชีวิตที่เกิดจากภาวะหัวใจโดยตรงจากการติดเชื้อโควิด-19 พบได้ถึง 7 – 10% และในผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรงพบว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้มากถึง 40% เลยทีเดียว
อาการลองโควิด ที่พบได้บ่อย เช่น
- เจ็บหน้าอก หรือ ใจสั่น
- หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจลำบาก
- อาการไอ
- ปวดศีรษะ
- สูญเสียการได้กลิ่น หรือ รับรส
- ปวดตัว
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ปวดตามข้อ
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- เจ็บคอ
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะลองโควิด? ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ร้อยละ 10-20 อาจมีภาวะลองโควิดได้ ในบางงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยถึงครึ่งหนึ่งมีอาการของภาวะลองโควิดอย่างน้อยหนึ่งอาการ โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะลองโควิดมากขึ้นได้แก่
- ผู้ป่วยที่อยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล
- ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย
- ผู้ป่วยสูงอายุ
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด เบาหวาน ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวด้านจิตใจ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบกับวัคซีนโควิด-19
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบได้ไม่บ่อยนักและส่วนมากพบได้ในการฉีดวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งจากรายงานพบว่าภาวะดังกล่าวนี้ไม่ได้มีความรุนแรงและพบได้หลังจากการฉีดวัคซีนชนิด mRNA โดยเฉพาะหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้ว 3 วันจนถึง 2 สัปดาห์ เกือบทั้งหมดตรวจพบความผิดปกติเล็กน้อยจากการเจาะเลือดหรือตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเกือบทั้งหมดหายได้เองและหายสนิท ซึ่งตัวเลขจากการศึกษาพบเพียงประมาณ 1 ใน 100,000 ถึง 200,000 คน
อาการของคนที่มีภาวะโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) ที่แสดงออกทางด้านของหัวใจอาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่ของภาวะใจสั่น เหนื่อย เพลีย หรือบางครั้งอาจมีอาการเจ็บหน้าอก ลักษณะการเจ็บหน้าอกไม่เฉพาะเจาะจง บางคนมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจง แต่อาจมีการตรวจเลือด หรือทำภาพสแกน หรือ MRI เพื่อดูความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจและยังไม่มีมาตรฐานการรักษาที่ชัดเจนในปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์โรคหัวใจ อย่างไรก็ตามเมื่อหายจากโควิด-19 ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กทันที โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย
"อาการใจสั่น" แบบไหนควรพบแพทย์เสี่ยงสัญญาณโรคหัวใจ
ภาวะลองโควิดป้องกันได้หรือไม่ ?
วิธีการป้องกันภาวะลองโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สวมใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง เลี่ยงบริเวณแออัด รวมถึงดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล หากเคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วยังมีอาการดังกล่าวที่สงสัยว่าจะเป็นภาวะลองโควิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ให้การวินิจฉัย และรักษา บรรเทาอาการได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลสมิติเวช
ความเครียดก่อภาวะ Broken Heart Syndrome ภัยเงียบกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
อาการแบบไหน? ลองโควิด(Long COVID) ที่ยังไม่มีสาเหตุ-วิธีรักษาจำเพาะ