ฟื้นฟูปอดหลังหายโควิด19 ฝึกหายใจ-ออกกำลังกายอย่างไรให้ปอดแข็งแรง
ปอดอวัยวะที่ได้รับผลกระทบที่สัมพันที่สุดหลังติดเชื้อโควิด19 และต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้เต็มสรรถภาพ แนะวิธีฟื้นฟูและ 5 ท่าฝึกหายใจ
หลายคนคงทราบดีว่าเชื้อโควิด-19 เป็นการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลักซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่ได้รับหรือมีการติดเชื้อชนิดอื่นๆ สุขภาพและภูมิคุ้มกันที่ไม่เท่ากันของแต่ละคนรวมถึงระยะเวลาในการรักษา โดยระดับความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ เล็กน้อยและแสดงอาการรุนแรง ส่งผลให้เกิดความอันตรายถึงชีวิต เมื่อรักษาหายแล้ว จะเกิดพังผืด สร้างรอยแผลเป็นในปอด ทำให้สมรรถภาพปอดลดลง รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด จนไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่
“ปอดทะลุ” ภัยที่นักสูบเลือกเองเผยสัญญาณเสี่ยง รักษาไม่ทันอันตรายถึงชีวิต
“ปอดอักเสบ” ภาวะแทรกซ้อนอันตรายไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้!
สภาพปอดหลังรักษาโควิด-19
- ช่วงที่ 1 เป็นช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังหายจากโรค ยังพบฝ้าขาวที่ปอดในฟิล์มเอกซเรย์ แต่มีปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงที่ติดเชื้อ
- ช่วงที่ 2 ช่วงสัปดาห์ที่ 3 - 4 หลังจากที่หายจากโรค ร่างกายมีการฟื้นฟูกลับมาบ้างแล้ว แต่จะยังรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่แข็งแรง ไม่กะปรี้กะเปร่า
การฟื้นฟูหลังจากรักษาโรคโควิด-19
ออกกำลังกายเบา ๆ ขยับขา เคลื่อนไหวบ่อย ๆ
อาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบา ๆ ลุกเดินบ่อย ๆ ไม่อยู่เฉย พยายามเคลื่อนไหวขา เพื่อทำให้เลือดเกิดการไหลเวียน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด โดยไม่หักโหมจนเกินไป เช่น ยืดงอขา หรือยืดเหยียดปลายเท้า เป็นต้น
“มะเร็งปอด” ที่ไม่ใช่แค่สูบบุหรี่กับ 7 สัญญาณเตือนโรคระยะแรก
ฝึกการหายใจ บริหารปอด ควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้า ๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วหายใจเข้าใหม่ให้ลมเต็มปอดแล้วค่อย ๆ หายใจออกช้า ๆ เป็นการทำให้พังผืดที่ปอดมีการขยับทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และปอดจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา
- ท่าที่ 1 ฝีกหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ หายใจเข้าทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้าหรือด้านข้าง หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง
- ท่าที่ 2 วางมือข้างหนึ่งที่หน้าอก อีกข้างใต้ลิ้นปี่ หายใจเข้าทางจมูก ท้องป่องดันมือด้านล่างขึ้น หายใจออกเป่าปาก ท้องยุบ ทำซ้ำ 5 - 10 รอบ ระหว่างรอบอาจจะมีการพักประมาณ 30 วินาที
- ท่าที่ 3 หายใจให้ทรวงอกขยาย วางมือสองข้างที่ชายโครง หายใจเข้าให้ซี่โครงบานออก หายใจออกให้ซี่โครงยุบ ทำซ้ำ 3 - 4 รอบ
- ท่าที่ 4 หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้า หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง ทำซ้ำ 5-10 รอบ
- ท่าที่ 5 หายใจออกอย่างแรง นั่งโน้มตัวไปด้านหน้า หายใจเข้าค้างไว้ 1-3 วินาที หายใจออกอย่างแรงทางปาก 1-3 ครั้งติดกันโดยไม่หายใจเข้า ทำซ้ำ 1 - 2 รอบ การฝึกหายใจดังกล่าวควรทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
หากมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว แน่นหน้าอก ปวดหัวเวียนหัว ใจสั่น ตามัว เหงื่อออกมาก หรือมีอาการซีดเขียว ควรหยุดออกกำลังกายทันที ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวดังที่กล่าวมาข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
หมอมนูญเผย วัคซีนรุ่นใหม่ แม้ไม่ป้องกันติดเชื้อแต่ลดความรุนแรงโควิด19ได้
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากลองโควิด มีเปอร์เซ็นต์การเกิดมากน้อยแค่ไหน ?