ตะคริวบ่อย-อ่อนเพลีย ร่างกายอาจสะสม “พิษโลหะหนัก”มากเกินไปเสี่ยงมะเร็ง
รู้หรือไม่ ? สารโลหะนัก ซ่อนอยู่ทุกที่ไม่ว่าจะระวังแค่ไหน หากได้รับสารดังกล่าวมากเกินไป อาจสะท้อนมาในรูปแบบอาการเหนื่อยทั่วไป และหากตกค้างในร่างกายมาก จะเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งได้
โลหะหนัก คือ โลหะที่มีความถ่วงจําเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป มีอัตราการสลายตัวค่อนข้างช้า จึงสามารถสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป และ “ไม่ว่าเราจะดูแลตัวเองดีแค่ไหน ก็เสี่ยงมีโลหะหนักในร่างกายโดยไม่รู้ตัวอยู่ดี” เพราะอาจปนเปื้อนอยู่ในทุกที่รอบตัว ไม่ว่าจะในอากาศ อย่างฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม อาหารที่มีการปนเปื้อนอย่างอาหารทะเล ผักผลไม้สดที่อาจมียาฆ่าแมลงหลงเหลืออยู่ ในน้ำดื่ม รวมไปถึงเครื่องสำอาง
อัตราป่วย“มะเร็งปอด” จากฝุ่น PM2.5 สูงขึ้น แนะกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงพื้นที่โล่งแจ้ง
รู้จัก “แอสปาร์แตม” ที่ WHO เตรียมขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง-สุขภาพพัง
การได้รับสารพิษจากแหล่งเหล่านี้ทีละน้อยอาจจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในทันที แต่เมื่อใดก็ตามที่มีสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายมากเกินไป ย่อมส่งผลร้ายกับสุขภาพอย่างแน่นอน
สารโลหะหนักที่พบบ่อย พบได้ที่ไหนบ้าง?
- อะลูมิเนียม มักปนเปื้อนอยู่ในดิน ฝุ่นละออง น้ำดื่ม อาหาร ภาชนะบรรจุต่างๆ รวมไปถึงยาบางชนิด
- สารหนู มักปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้ อาหารทะเล ยาแผนโบราณที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับหนังและโลหะ
- ปรอท พบมากในแหล่งที่มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง โลหะ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์
- ตะกั่ว พบได้ในแหล่งอุตสาหกรรมทั่วไป โดยมักปนเปื้อนอยู่ในดิน น้ำ และอากาศ
- แคดเมียม พบได้ในแหล่งอุตสาหกรรม ยาสูบ บุหรี่ พลาสติก และยาง
สัญญาณเตือนร่างกายมีโลหะหนักตกค้างมากเกินไป
- อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
- นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
- สมองตื้อ ไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ค่อยออก
- ผื่น ลมพิษ
- เป็นตะคริวบ่อย ชาตามปลายมือปลายเท้า
รู้หรือไม่ ? หากการมีโลหะหนักตกค้างในร่างกายมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง
การตรวจสารพิษโลหะหนักในร่างกาย สามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ เป็นวิธีการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการรอผลจากห้องปฏิบัติการ 5-7 วัน ผู้เข้ารับการตรวจต้องงดน้ำงดอาหาร และควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน โดยขั้นตอนในการตรวจก็จะมีการเจาะเลือด และเก็บตัวอย่างปัสสาวะเหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไป
5 เรื่องเข้าใจผิดการดีท็อกซ์ร่างกาย ย้ำยาระบายไม่ช่วยลดน้ำหนัก
ใครบ้างที่ควรตรวจโลหะหนักในร่างกาย?
- ผู้ที่อยากดูแลสุขภาพอย่างเจาะลึก
- ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือใกล้แหล่งโรงงาน
- ผู้ที่เผชิญฝุ่นควันและมลภาวะบนท้องถนนเป็นประจำ
- ผู้ที่ชอบทำสีผม ทำเล็บ รวมถึงช่างทำผม
- ผู้ที่ชอบทานอาหารทะเลเป็นประจำ
- ผู้ที่มีวัสดุอุดฟันที่ทำจากสารอะมัลกัม (วัสดุอุดฟันสีเงิน)
Toxic Clearing คือ นวัตกรรมการบำบัดโดยการล้างพิษและขจัดของเสียที่สะสมภายในร่างกายผ่านวิตามินบำบัดสูตรกำจัดสารพิษ (Chelation) ด้วยการให้วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ทางหลอดเลือดดำ (IV Drip) เพื่อเข้าไปจับสารโลหะหนักที่เป็นพิษและขับออกมาผ่านทางปัสสาวะ โดยใช้เวลาการให้วิตามินประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ส่วนจะต้องทำบ่อยแค่ไหน แพทย์จะพิจารณาจากปริมาณโลหะหนักที่ตรวจพบเป็นรายบุคคล
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
รู้จักภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง จนสูญเสียอวัยวะส่วนปลาย