“วัยทอง”กับปัญหาปัสสาวะเล็ด แนะวิธีชะลอความเสื่อมอุ้งเชิงกราน
ปัสสาวะเล็ด สิ่งที่ฟังดูเหมือนเรื่องเล็ก แต่อาจไม่เล็กอย่างที่คิด แม้ว่าปัสสาวะเล็ดอาจเกิดได้กับผู้หญิงทุกคน แต่หากเมื่อไหร่ที่เริ่ม “เล็ด” บ่อย จนเลอะเทอะ สร้างความรู้สึกไม่มั่นใจ กระทบต่อการใช้ชีวิตแบบนี้ อย่าปล่อยไว้ เพราะอาจส่งผลให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ในอนาคต ซึ่งมักพบบ่อยในสตรีวัยทอง แนะวิธีรักษาชะลอความเสื่อมของอุ้งเชิงกราน
ปัสสาวะเล็ด ไม่ใช่แค่เรื่องของวัย
วัยทอง ความเสื่อมของอวัยวะที่ไม่ควรมองข้ามของผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป แม้ว่าสาเหตุหลักๆ ของปัสสาวะเล็ด คือการที่กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหย่อนตัว จนทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกราน กดเบียดกับท่อและกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเกิดการไอ จาม หรือการออกแรงที่ทำให้แรงดันในช่องท้องมากขึ้น จึงทำให้เกิดการเล็ดของปัสสาวะออกมาได้
อายุน้อยปัสสาวะเล็ดได้ไหม ?
เป็นได้! ยิ่งหากคุณมีน้ำหนักมาก ออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก
รับมือวัยทอง – วิธีสังเกตเข้าข่ายหรือยัง?ก่อนกระดูกพรุน-ปัสสาวะเล็ด
“วัยทอง” ปัญหาที่แก้ด้วย “ฮอร์โมนทดแทน” และการตรวจสุขภาพประจำปี
หรือทำงานที่ต้องมีการออกแรงยกของหนักเป็นประจำ ก็มีโอกาสที่จะเผชิญปัญหาปัสสาวะเล็ดได้ เพราะการหย่อนหยานของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานก่อนวัยเนื่องจากแรงดัน
ทำไมกลั้นปัสสาวะไม่ได้
- ปวดปัสสาวะรุนแรง จนเกิดการปัสสาวะราด พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งปวดปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะช่วงกลางคืน หากเป็นมากอาจถึงกับปัสสาวะรดที่นอน
- ปัสสาวะเล็ด เมื่อมีแรงกดในช่องท้อง เช่น ขณะยกของหนัก ไอ หรือจาม ซึ่งส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะ จนมีปัสสาวะปริมาณเล็กน้อยเล็ดออกมาทั้งๆ ที่ไม่ได้ปวดปัสสาวะ มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือเคยคลอดบุตร
- ปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโตเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมากจนล้นไหลออกมาเอง
- ปัสสาวะเล็ดตามออกมาเล็กน้อย หลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว ทำให้เปียกชื้นหรือส่งกลิ่น พบมากในผู้หญิงที่มีปัญหาถุงน้ำบริเวณท่อปัสสาวะ และในผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต
สาเหตุปัสสาวะเล็ดราด
- กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ส่งผลให้มีการบีบตัวไวและไม่เป็นเวลา ทำให้ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะเล็ดได้ อาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท หรือจากการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงกลุ่มโรคกระเพาะปัสสาวะไวกว่าปกติ (overactive bladder) ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด
- อวัยวะขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมถึงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่คอยพยุงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะหย่อนยาน รวมถึงหูรูดท่อปัสสาวะมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลากหลาย ทั้งการคลอดบุตร ความอ้วน มีเนื้องอกในช่องท้อง และภาวะไอเรื้อรัง ส่งผลให้ไม่สามารถเก็บกักปัสสาวะไว้ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีแรงกดตรงช่องท้อง เช่น หัวเราะ ไอ หรือจาม
- อายุเพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายมีความเปลี่ยนแปลง เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อตัว และแห้งจนเป็นปัจจัยเสี่ยง ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้เช่นกัน
- การรับประทานยาบางชนิด อาจทำให้ปัสสาวะเล็ดราด เช่น ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
- ปัญหาทางสมองหรือร่างกาย ปัสสาวะเล็ด ซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของระบบขับถ่ายโดยตรง แต่เกิดจากปัญหาทางสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม หรือปัญหาด้านร่างกายทำให้ไปห้องน้ำได้ลำบาก
- โรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะ เช่น เบาหวาน โรคสมองเสื่อม และต่อมลูกหมากโต
- รับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม เครื่องดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ โดยสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทำให้ท่อปัสสาวะเปิด จึงทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาได้
เตือน! 5 โรคร้ายของวัยทองต้องระวัง ก่อนสุขภาพจิตพังสุขภาพแย่
การรักษาปัสสาวะเล็ดราด
- หากปัสสาวะเล็ด เมื่อมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น อาจให้ผู้ป่วยฝึกขมิบ เพื่อบริหารหูรูดให้กระชับและมีแรงกลั้นปัสสาวะ
- หากเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท หรือมีปัญหากระเพาะปัสสาวะไวกว่าปกติ แพทย์จะรักษาเบื้องต้น ด้วยการปรับพฤติกรรม โดยปรับลดปริมาณการดื่มน้ำ รวมถึงควบคุมการปัสสาวะ ให้เป็นเวลา บางรายอาจมีการให้ยารับประทานเพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- กรณีที่ไม่สามารถใช้ยารับประทาน หรือใช้ไม่ได้ผล อาจรักษาด้วยการใส่ยาเข้ากระเพาะปัสสาวะ ช่วยยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- การผ่าตัด เพื่อเสริมแรงต้านบริเวณท่อปัสสาวะ ช่วยให้การทำงานของท่อปัสสาวะดีขึ้น เป็นการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก เห็นผลเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง การผ่าตัดทำโดยผ่านทางหน้าท้อง หรือผ่านช่องคลอด แพทย์จะเลือกวิธีการผ่าตัดให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดปัญหาปัสสาวะเล็ด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มกระตุ้น การปัสสาวะ เช่น แอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ
- หลีกเลี่ยงยาบางชนิด โดยปรึกษาแพทย์ว่ายาตัวใดมีผลต่อปัญหาปัสสาวะเล็ด
- ดูแลและควบคุมโรคประจำตัว รวมถึงรักษาอาการไอจามเรื้อรัง รักษาอาการท้องผูก
- ออกกำลังกายที่เหมาะสมครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน
- พยายามไม่อ้วน ด้วยการควบคุมน้ำหนักตัวให้พอดี
- ฝึกขมิบช่องคลอด ซึ่งเป็นการบริหารกล้ามเนื้อเชิงกรานให้แข็งแรงขึ้น ผู้ป่วย 60-80% จะมีอาการดีขึ้น ภายใน 3 เดือน หากมีการบริหารอย่างถูกต้องในระยะเวลาที่พอเหมาะ ทั้งนี้วิธีการบริหารมีหลายวิธี เช่น การฝึกขมิบค้างไว้ โดยทำวันละ 3 ชุด ชุดละ 20 ครั้ง แต่ละครั้งนาน 6-8 วินาที นอกจากนี้ยังมีการฝึกขมิบแบบเร็วๆ ประมาณ 10-20 ครั้งต่อชุด การขมิบถี่ๆ วิธีนี้จะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะที่บีบตัวกะทันหันคลายตัวได้ การฝึกขมิบช่องคลอดสามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี แต่ถ้าหยุดทำ ก็มีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นอีก
- การปรับพฤติกรรม โดยงดเครื่องดื่มคาเฟอีน (ชา กาแฟ โกโก้ น้ำอัดลม) เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ รวมถึงไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป ปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันคือ 1-1.5 ลิตร โดยค่อยๆ แบ่งดื่มไปตลอดวัน
ทางเลือกการรักษาปัสสาวะเล็ด ด้วย “เลเซอร์”
ไม่ต้องผ่าตัดก็บอกลาปัญหาปัสสาวะเล็ดได้ด้วย “Vaginal Lift” เลเซอร์ 360 องศาที่ถูกคิดค้นและพัฒนาเพื่อเนื้อเยื่อช่องคลอดโดยเฉพาะ โดยจะส่งพลังงานไปกระตุ้นให้เนื้อเยื่อช่องคลอดเกิดการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใหม่ ผนังช่องคลอดจึงหดเล็กลง กระชับตึง และมีความแข็งแรงมากขึ้น ใช้เวลาในการทำทำประมาณ 10 นาที ไม่เจ็บ ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแค่อาจมีความรู้สึกอุ่นเล็กน้อยขณะทำแนะนำให้ทำ 3 ครั้ง จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเว้นระยะห่างประมาณ 4-6 สัปดาห์ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการทำคือก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ 4-5 วันหลังรับการเลเซอร์
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลสมิติเวช
เทคนิคต้านความแก่บอกลาอาการวีนแตก-วัยทองในผู้หญิง
5 สมุนไพรที่วัยทองควรติดบ้าน บำรุงเลือดลมสตรีและประจำเดือนมาไม่ปกติ