สาเหตุภาวะไขมันในเลือดสูง ที่หลายคนเสี่ยงป่วยเป็นแบบไม่รู้ตัว!
ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปี 2557 พบว่า กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้น มีภาวะไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่ามาตรฐาน กว่า 26 ล้านคน ต้นตอของสารพัดโรคที่มีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดทวีความรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง เช็กอันตรายจากภาวะไขมันในเลือดสูง!
จากรายงานการเสียชีวิตขององค์การอนามัยโลก(WHO) ในปี 2559 พบทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตปีละ ประมาณ 56.9 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ 1 ประมาณการผู้เสียชีวิต 9.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ16.2 สำหรับประเทศไทย จากรายงานกระทรวงสาธารณสุขพบแนวโน้มอัตราเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 120-125 คนต่อประชากร 100,000คน ซึ่งข้อมูลระกว่าปี 2556-2560 พบแนวโน้มมากขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง และส่วนใหญ่มาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม
“ไขมันในเลือดสูง” ไม่มีสัญญาณเตือนแต่เสี่ยงสารพัดโรค
กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน! ความเสี่ยง“ไขมันในเลือดสูง” ที่คนผอมต้องระวัง!
อย่างไรก็ตามมีรายงานผลการสำรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ของ เมื่อพ.ศ.2557 พบว่ามีประชาชนมีไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดคือ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 44 หรือประมาณ 26 ล้านคน ผู้ชาย 41% หญิงพบ 47%
ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร?
จุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงหลายโรคที่เริ่มต้นจากพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารไขมันสูง ละเลยการออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งต้องอธิบายต่อว่า เลือดในร่างกายมนุษย์มีหน้าที่ลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ รวมถึงไขมัน ซึ่งไขมันมีหลายชนิดและทำหน้าที่ภายในร่างกายแตกต่างกันไป สำหรับภาวะไขมันในเลือดสูง หรือ Hyperlipidemia เป็นภาวะทางสุขภาพอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ว่าร่างกายมีไขมันชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกายอยู่ในระบบไหลเวียนเลือดมากเกินไป และอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคบางโรคที่ร้ายแรงต่อร่างกายได้ ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงส่วนใหญ่มักสังเกตได้จากระดับ คอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์สูง บางคนอาจมีสาเหตุจากไขมันชนิดเดียว หรือทั้ง 2 ชนิดก็ได้
ไขมันในเลือดสูงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
สาเหตุหลัก ๆ ของภาวะไขมันในเลือดสูงเกิดจากร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลจากอาหารมากเกินความจำเป็น ซึ่งปกติแล้วคอเลสเตอรอลเป็นสารส่วนประกอบของคล้ายไขมัน (Lipoprotein) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับเนื้อเยื่อต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองจากตับ และปกติสามารถถูกสร้างในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันได้เพียงพออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการที่ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นก็ไม่ได้มีสาเหตุจากอาหารเพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจเกี่ยวข้องการใช้ชีวิตประจำวันวัน และภาวะบางอย่างในร่างกายร่วมกับสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกหลายปัจจัย
สาเหตุที่พบได้จากชีวิตประจำวัน
- การสูบบุหรี่ หรือสูดควันบุหรี่มือสอง
- การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือขาดการออกกำลังกาย
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ๆ
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว
- พบในไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนื้อสัตว์ติดมัน หนังไก่ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เนื้อสัตว์แปรรูป เช่นไส้กรอก เบคอน แฮม
- พบในไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
- พบในขนมที่ทำจากเนย นม ไข่ กะทิ เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี ไอศกรีมนม น้ำสลัดครีม ขนมบัวลอย กล้วยบวชชี
- พบในเครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนผสม นมข้นหวาน ครีมเทียม เช่น มิลค์เชค กาแฟ 3 in1 ชานมไข่มุก ชาเย็น กาแฟเย็น
- พบในอาหารทอดกรอบ เนื่องจากอาหารทอดกรอบนิยมใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่นไก่ทอด หมูทอด
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ พบในเนยขาว ครีมเทียม เนยเทียม มาการีน โดนัท คุกกี้ พาย อาหาร fast food เช่น เฟรนฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ขนมกรุบกรอบต่าง ๆ ของทอด ไก่ทอด
ไขมันในเลือดสูงเสี่ยงหลายโรค นำไปสู่การเสียชีวิตฉับพลันได้
สาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคหรือภาวะบางอย่าง
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome: PCOS)
- ภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight)
- โรคไต
- โรคเบาหวาน
- โรคตับ
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
อาการภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูงไม่ได้มีอาการที่ชัดเจน สังเกตได้ยาก แต่เมื่อร่างกายมีไขมันเลวจำนวนมากเป็นเวลานาน ๆ จะเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดงซึ่งทำให้เลือดไหลเวียนได้ลำบากอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น วิงเวียนศีรษะ ปวดหัวบ่อย ดังนั้นภาวะไขมันในเลือดสูงนับว่าเป็นภาวะที่ไม่ได้มีอาการที่ชัดเจน แต่ในระยะยาว คนที่ไม่ดูแลหรือตรวจสุขภาพเป็นประจำอาจแสดงอาการเมื่อไขมันในเลือดก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งมีอาการ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยเป็นต้น หน้ามืด เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ , กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข
ภาพจาก : freepik
รู้จัก “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ตัวการทำไขมันในเลือดสูง!
“น้ำมันมะพร้าว” ช่วยควบคุมน้ำหนัก-ลดไขมันในเลือดได้จริงหรือไม่?