“ไขมันในเลือดสูง” ต้นตอสารพัดโรค-ตัวเลขใบรับรองแพทย์แบบไหนไม่ปกติ?
ปกติร่างกายสามารถสร้างไขมันได้จากตับเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่จำเป็นของร่างกาย แต่หากมีการรับประทานไขมันจากอาหารมากเกินไป บวกกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ อาจทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายผิดปกติและเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงที่เป็นจุดเริ่มต้นอีกสารพัดปัญหาสุขภาพที่จะตามมา
ไขมันในเลือดมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อร่างกาย โดยจะทราบได้จากค่าผลการตรวจไขมันในเลือด ผู้ทำการตรวจต้องงดอาหาร ก่อนทำการตรวจเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงค่าไขมันต่าง ๆ ดังนี้
- Total cholesterol เป็นค่าคอเลสเตอรอลรวมในร่างกาย รวมทั้งชนิด HDL, LDL และ non-HDL
- Low density lipoprotein (LDL) เป็นคอเลสเตอรอล ชนิดที่ไม่ดี หากมีไขมันชนิดนี้สูงจะทำให้มีการสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ หลอดเลือดเปราะ เสี่ยงต่อการแตกและตีบตัน
6 ความเสี่ยง “ไขมันในเลือดสูง” ก่อโรคหัวใจ ที่คนผอมก็เป็นได้!
ไขมันในเลือดสูงเสี่ยงหลายโรค นำไปสู่การเสียชีวิตฉับพลันได้
- High density lipoprotein (HDL) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี จะช่วยนำคอเลสเตอรอลไปใช้ ลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
- Non-HDL เป็นผลของ Total cholesterol หักด้วย HDL จึงประกอบด้วย LDL และไขมันชนิดอื่น ๆ เช่น very-low-density lipoprotein (VLDL) ซึ่งรวมถึง Triglycerides ด้วย เนื่องจาก triglycerides สามารถสะสมในหลอดเลือดและทำให้เกิดหลอดเลือดตีบแคบและผลเสียอื่น ๆ ได้คล้ายกับ LDL จึงจัดเป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี
ค่าไขมันในเลือดที่ปกติมีความแตกต่างไปตามอายุและเพศ โดยทั่วไปแล้วในผู้ที่อายุมากกว่า 20 ปี ควรมีค่า
- Total cholesterol : < 200 mg/dL
- LDL: < 130 mg/dL
- Triglycerides: < 150 mg/dL
- HDL: มากกว่า 40 mg/dL ในเพศชาย และมากกว่า 50 mg/dL ในเพศหญิง
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด
- ชายและหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
- บุคคลที่เสพสารเสพติดอย่างสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์บ่อย
- กรรมพันธ์จากคนในครอบครัวที่มีประวัติ โรคหัวใจ ไทรอยด์ และไขมันในเลือดสูง
- บุคคลที่มีดัชนีมวลน้ำหนักจากการคํานวณค่า BMI (Body Mass Index) ที่สูงกว่าตามมาตรฐาน
- บุคคลที่แสดงอาการผิดปกติทางกายภาพเช่น แน่นหน้าอก หน้ามืด ใจสั่น วินเวียนศีรษะร่วมติดต่อกัน
สาเหตุและปัจจัยการเกิดไขมันในเลือดสูง
- การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์
- ไม่ออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
- กรรมพันธุ์
- โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคตับ ตับอ่อน ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำในรังไข่จำนวนมาก โรคไตวาย โรคเบาหวาน
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัส HIV เป็นต้น
หากปล่อยให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่าง ๆ อาทิ ภาวะหัวใจขาดเลือดโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจหยุดเต้น และ โรคไต
10 อาหารกระตุ้นไมเกรน และอาหารช่วยบำบัด เลือกกินได้ไม่ต้องปวดหัว
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะไขมันในเลือดสูง
เมื่อตรวจพบภาวะไขมันในเลือดสูง หากระดับไม่สูงมาก แพทย์อาจแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ขนม เบเกอรีต่าง ๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักแต่หากปริมาณไขมันในเลือดสูงมาก หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดไขมันเพื่อช่วยลดระดับไขมันในเลือด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
ทำไมอาหารแปรรูปถึงเสี่ยง “มะเร็งกระเพาะอาหาร” โรคที่พบมากในคนเอเชีย