4 ระยะก่อนเป็นโรคตับ-มะเร็งตับ เผยตับมีพังผืดกับตับแข็งต่างกันอย่างไร?
ตับนับอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญ และหากมีความผิดปกติจะแสดงอาการออกมาชัดเจนและหากไม่รีบรักษาโรคอาจลุกลามและเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว
โรคตับนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีโรคที่เกี่ยวข้องกับตับมากมาย อาทิ ไขมันพอกตับที่นำไปสู่ภาวะอันตรายอื่นๆ ไวรัสตับอักเสบ ตับแข็ง มะเร็งตับ ซึ่งล้วนมีสาเหตุที่หลากหลาย ทั้งด้านพันธุกรรมและการใช้ชีวิต การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีโอกาสให้ตับได้ฟื้นฟูจนนำมาซึ่งโรคตับในคนอายุน้อยได้
“โรคตับ” สัญญาณและสาเหตุ อ่อนเพลียหนัก- คันตามตัว รีบพบแพทย์
“ตับแข็ง” จากไวรัสตับอักเสบ-ไขมันสะสม เผยสัญญาณอันตรายถึงชีวิต
ทำไมตับจึงสำคัญ
ตับนับเป็นอวัยวะสำคัญและถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาอวัยวะภายใน มีหน้าที่หลักๆ คือการสร้างน้ำดีเพื่อการช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย พร้อมกับช่วยกรองของเสียให้เป็นของดีเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อใดก็ตามที่ตับเกิดโรคหรือมีปัญหา เช่น มีไขมันพอกตับ ติดเชื้อไว้รัสตับอักเสบ ตับแข็ง ร่างกายส่วนอื่นๆ ก็จะแย่ไปด้วยทั้งระบบ
ตับมีพังผืดกับตับแข็งต่างกันอย่างไร?
- ตับมีพังผืด คือ ตับที่มีการอักสบมาก และป็นการอักเสบเรอรัง คือ มีการตรวจซ้ำแล้วค่าการทำงานของตับสูงผิดปกติ เป็นระยะเวลานานเกิน 6 เดือน และเมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จนเกิดเป็นภาวะที่เรียกว่า พังผืด หรือ Liver Fibrosis โดยทั่วไปแบ่งย่อยเป็น 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1-2 เป็นพังผืดตับระยะต้น
- ระยะ 3-4 เป็นพังผืดระยะรุนแรง
- ตับแข็ง คือ ตับที่มีการอักเสบและมีพังผืด ระยะ 4 ต่อเนื่องเป็นเวลานานจนกระจายตัวกันไปทั่วเนื้อตับ ทำให้กลายป็นตับแข็ง นั่นคือสภาพเนื้อตับเริ่มทำงานได้ไม่ดีแล้ว และมักมีอาการแสดงออกมาให้เห็น เช่น ท้องมาน ขาบวม ตัวและตาเหลือง เป็นต้น
ระยะไขมันพอกตับนำไปสู่ “ตับแข็ง” หรือ “มะเร็งตับ”
- ระยะแรก ไขมันสะสมในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีอาการ หรือการอักเสบเกิดขึ้นภายในตับ
- ระยะ 2 เมื่อมีไขมันสะสมอย่างต่อเนื่องที่ตับ ตับจะเริ่มเข้าสู่ภาวะอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษาหรือรักษาไม่หายก็มีก็มีโอกาสจะกลายเป็น “ตับอักเสบเรื้อรัง”
- ระยะ 3 เมื่อโรคลุกลามหรือเป็นเรื้อรังจะเกิดภาวะการอักเสบรุนแรงขึ้น หรือเกิดพังผืดสะสมไปเรื่อยๆ เซลล์ตับจะค่อยๆ ถูกทำลาย
- ระยะ 4 เมื่อเซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นๆ ตับจะทำงานไม่ได้เพราะเกิดภาวะ “ตับแข็ง” และอาจลุกลามจนเป็น “มะเร็งตับ” ในที่สุด
อาการจากตับแข็งสู่ตับวาย อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้น รักษาได้หรือไม่?
วิธีการตรวจตับอักเสบ
ทำได้ด้วยการตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ SGOT SGPT แต่การตรวจพังผืดตับ สามารถตรวจด้วยเครื่องมือพิศษ ช่น การตรวจอัลตราซาวด์ตับ การตรวจหาพังผืดตับ (Fibroscan) หรือการเจาะเนื้อตับ ถือเป็นวิธีมาตรฐาน แต่ข้อจำกัดคือทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลี่ยงโรคตับ
ผู้ที่มีความเสี่ยงประเภทน้ำหนักตัวเกิน ชอบปาร์ตี้ ดื่มกินหนักๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ถ้าไม่อยากเป็นโรคไขมันพอกตับ จนนำไปสู่โรคตับแข็ง ก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่
- เลิกสูบบุหรี่ หรือไม่อยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่
- เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ จิบน้ำบ่อยๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ ลดการกินของหวาน ของมัน
- ออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 160 นาที
- ระวังเรื่องน้ำหนักตัวอย่าให้เกินมาตรฐาน
- ขับถ่ายเป็นประจำ ระวังอย่าให้ท้องผูก
- หากมียาที่ต้องกินประจำควรปรึกษาแพทย์
- รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ให้อยู่ในภาวะที่ปกติที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ภาพจาก : shutterstock
8 สัญญาณ “ไขมันพอกตับ”ภัยพฤติกรรมเลี่ยงละเลยอาจพ่วงมะเร็งตับ-ตับแข็ง
“มะเร็งตับ” จากไวรัสตับอักเสบ เช็กอาการสุ่มเสี่ยง รู้ก่อนยับยั้งมะเร็งทัน