สาเหตุรอยดำตามซอขาหนีบ-ซอกลับ ปัญหากวนใจที่แก้ได้!
รู้หรือไม่ ? รอยดำตามซอกลับ อาจสะท้อนปัญหาสุขภาพ แนะวิธีแก้ปัญหาให้หายอย่างถาวรคืนผิวสวยใส เพิ่มความมั่นใจ
เมื่อปัญหากวนใจ โดยเฉพาะสาว ที่ต้องหมดความมั่นใจกับ ซอกดำหรือคล้ำ ตามซอกขาหนีบ ใต้รักแร้ ข้อพับ รอยบิกินี่ ซอกคอ ร่องก้น หรือแม้กระทั่งจุดซ่อนเร้น แม้หลายคนจะลองหาวิธีแก้มาแล้วหลายวิธี แต่ก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าไหร่ และที่จริงปัญหามันเกิดจากอะไรกันแน่!
สาเหตุรอยดำตามซอก
- จากการเสียดสี เช่น ขาหนีบดำ เกิดจากขาทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะใครที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีรูปร่างที่อวบ เพราะการเสียดสีนานๆ จะทำให้ผิวหนังหมองคล้ำได้
คอดำ-รักแร้ดำ อาจไม่ใช่แค่ปัญหาความสวยงามแต่บอกโรคเบาหวาน-มะเร็งได้
นวัตกรรมลดความอ้วน “กลืนบอลลูน” ลดได้ไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับใครบ้าง?
- การกำจัดขนผิดวิธี บ่อยและรุนแรงเกินไป โดยเฉพาะใต้รักแร้ ทำให้ผิวได้รับการเสียดสี บาดเจ็บซ้ำๆ บางครั้งเกิดขนคุด รูขุมขนอุดตัน ผิวจึงตอบสนองด้วยการผลิตเม็ดสีมากขึ้น จึงทำให้เกิดรอยคล้ำตามมา
- การแพ้หรือระคายเคือง ไม่ว่าจะจากเครื่องสำอาง โลชั่นทาผิว น้ำหอม บางครั้ง รอยดำอาจเข้มขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เนื่องจากการระคายเคืองอ่อนๆ ส่งผลให้ผิวบริเวณนั้นผลิตเม็ดสีได้มากกว่าปกติ
- ความอับชื้น หากบริเวณนั้นเกิดความอับชื้นขึ้นมา อาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราได้ ส่งผลให้เกิดตุ่มคัน ผด หรือสิว หากมีตุ่มคัน เราจึงเผลอไม่ได้ที่จะเกาจนเกิดการอักเสบของผิวหนัง ส่งผลให้มีรอยดำตามมาได้ โดยเฉพาะบริเวณที่ดูแลไม่ถึง
- เสื้อผ้าหรือกางเกงที่สวมใส่รัดแน่นเกินไป ก็อาจทำให้ผิวหนังเกิดการเสียดสีกับผ้า ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของรอยดำตามซอกได้
- กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน ความเครียด หรืออาการภูมิแพ้ ซึ่งบางครั้งเป็นปัจจัยที่เกิดจากภายใน อาจส่งผลให้เกิดรอยดำ คล้ำได้เช่นกัน
- ภาวะตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลง อาจส่งผลให้ผิวของคุณแม่ตั้งครรภ์บางคน มีรอยดำคล้ำ หรือมีสีเข้มขึ้นตามต้นคอ ข้อพับ ขาหนีบและหัวนม รักแร้ ซึ่งปกติแล้วรอยดำคล้ำเหล่านี้จะหายไปเองหลังการคลอดบุตร
- ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อาจพบปื้นสีดำบริเวณคอ ซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะผิวคล้ำ หนา และมีลักษณะเหมือนกำมะหยี่ มักจะเกิดบริเวณรักแร้ คอ และขาหนีบเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินเนื่องจากระดับอินซูลินที่สูง จะไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังมีการเจริญมากขึ้นเรียกว่า อะแคนโทสิส นิกริแคนส์ (Acanthosis nigricans) ผิวหนังลักษณะนี้มักพบในผู้ที่รูปร่างอ้วนมากๆ นอกจากนี้ยังพบได้ในโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งทางเดินอาหาร และจากโรคความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด และในผู้ที่ได้รับยาบางชนิดเช่น ยาคุมกำเนิด และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
นวัตกรรมลดความอ้วน “กลืนบอลลูน” ลดได้ไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับใครบ้าง?
4 วิธีลดรอยดำตามซอกเพิ่มความมั่นใจ
- ใช้กรดผลไม้หรือครีมผสมสารไวท์เทนนิ่ง ผิวคนเราจะผลัดเซลล์ได้เอง ทุก 28 วัน แต่ด้วยอายุที่มากขึ้นหรือการเสียดสีบ่อยๆ ทำให้การผลัดเซลล์ผิวอาจไม่เป็นไปตามปกติ การใช้กรดผลไม้ (Alpha Hydroxy Acid-AHA) จะช่วยเร่งให้ผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้เซลล์ที่เกิดมาใหม่ก็จะมีสีใกล้เคียงกับสีผิวโดยกำเนิดมากขึ้น แต่การเลือกซื้อควรเลือกกรดผลไม้ ชนิดที่มีความเข้มข้นต่ำ ไม่เกิน 15% เพราะถ้าเลือกสารที่มีความเป็นกรดเข้มข้นสูงอาจกัดผิว จนไหม้ อักเสบและดำถาวรได้
- งดใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ำหอมมากจนเกินไป หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เคยใช้แล้วแพ้ ระคายเคือง เมื่อมีผื่นแพ้ระคายเคืองตามซอก ข้อพับ ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรแกะ เกา เพราะอาจจะเกิดการอักเสบตามมาได้
- ลดน้ำหนักได้ผลเสมอจากการที่ขาเบียดกันจากภาวะน้ำหนักเกิน แนะนำให้ลดน้ำหนักและออกกำลังกาย และไม่ใส่กางเกงที่รัดแน่นจนเกินไป
- การใช้เลเซอร์แก้ปัญหา การลดรอยดำด้วย Pigment Laser (เลเซอร์ในกลุ่มที่จัดการกับเม็ดสี)ปัจจุบันมีเลเซอร์หลายชนิดสามารถทำให้เม็ดสีจางลงได้ดี ควรเลือกชนิดเลเซอร์ ให้เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละคนต้องใช้ความชำนาญของแพทย์ในการพิจารณา เพราะหากมีการปรับค่าของแสงเลเซอร์ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้รอยดำกลับกลายเป็นมีสีคล้ำขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
ภาพจาก : shutterstock
ผิวแห้งคันเป็นขุย เกิดจากอะไร? ปัญหาผิวหนังปล่อยทิ้งไว้อาจอักเสบได้!
ไฝแบบไหน? สัญญาณมะเร็งผิวหนัง มีเยอะเสี่ยงมากกว่าคนอื่น 7 เท่า!