9 ข้อเท็จจริง โรคNCDs ที่มากกว่า 9 ล้านคนต้องเสียชีวิตก่อนอายุ 60ปี
โรคNCDsหรือกลุ่มโรคเรื้อรังภัยเงียบที่คร่าชีวิตเกือบ 8 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 1 ใน 3เกิดขึ้นในวัยอายุก่อน 60 ปี กับข้อเท็จจริง 9 ข้อต้องรู้
กลุ่มโรคเรื้อรัง (NCDs) ประกอบด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ที่แต่ละปี คร่าชีวิตเกือบ 8 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 1 ใน 3เกิดขึ้นในวัยอายุก่อน 60 ปี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มคนในวัยทำงาน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรัง NCDs เกิดจากพฤติกรรม ซึ่งโรงเรื้อรังส่งผลกระทบอย่างมากในกลุ่มคนยากจน
ป่วยกลุ่มโรค NCDs ควรกินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษา-คุมโรค
โรค NCDs สาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก พบไทยป่วยสูง 14 ล้านคน
9 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง (NCDs)
- ปัจจุบันทั่วโลกประสบปัญหากลุ่มโรคเรื้อรัง (NCDs) ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 71% ของคนทั่วโลก หรือกว่า 41 ล้านคน เสียชีวิตจาก NCDs
- ประมาณ 80% ของผู้เสียชีวิตจาก NCDs อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
- มากกว่า 9 ล้านคนที่ต้องเสียชีวิตจาก NCDs ก่อนอายุ 60 ปี
- ทั่วโลก ผู้หญิง และผู้ชาย มีความเสี่ยงต่อ NCDs เท่ากัน
- โรคทั้งหมดของ NCDs สามารถป้องกันได้ กลุ่มโรคเรื้อรัง NCDs สามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดอาหารขยะ เพิ่มการออกกำลังกาย ไม่ดื่มสุรา
- ในปี 2008 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี มีภาวะอ้วนสูงถึง 1.5 พันล้านคน
- ในปี 2010 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะอ้วนสูงถึง 43 ล้านคน
- การสูบบุหรี่ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ 6 ล้านคนต่อปีในปี 2020 ตัวเลขจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7.5 ล้านคนต่อปี นับเป็น 10% ของการเสียชีวิตทั้งหมด
- การลดปัจจัยเสี่ยงของการก่อโรค NCDs เป็นการป้องกันที่ได้ผลมากที่สุด
ถ้าหากสามารถกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรค NCDs ได้ จะลดการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 75% และลดการเกิดโรคมะเร็งได้ถึง 40%
3 นิสัย “วัยทำงาน” เสี่ยงกลุ่มโรคNCDs เรื้อรังอัตราเสียชีวิตสูง
พฤติกรรมเสี่ยงโรค NCDs
สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้ จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ
ปรับพฤติกรรมเลี่ยงก่อโรค NCDs
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารฟาดฟู้ด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
- พักผ่อนให้เพียงพอผ่อนคลายความเครียด
- ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล
ภาพจาก : freepikและshutterstock
"โซเดียม" ตัวการก่อโรคNCDs ไม่ติดต่อแต่เรื้อรังอันตรายถึงชีวิต