อายุน้อยอัลไซเมอร์ อาการ-ปัจจัยเสี่ยง ไม่ต้องรอให้แก่ก็สมองเสื่อมได้!
ปกติภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์มักเกิดในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบในคนอายุน้อยมากขึ้น เหตุผลเพราะอะไร ? อาการเริ่มต้นคืออะไร?
ภาวะสมองเสื่อมในคนอายุน้อย (Dementia in younger) เริ่มพบมากขึ้นถึง 6.9% ของจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน จึงมักถูกมองว่าเป็นเพียงเรื่องของความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน เลยไม่ได้สังเกตความผิดปกติ ละเลยคิดว่าไม่อันตราย จนกลายเป็นภัยเงียบที่ไม่รู้ตัว
สาเหตุของโรคสมองเสื่อมในคนอายุน้อย
- คนในครอบครัวมีประวัติว่าเป็นภาวะสมองเสื่อมตอนอายุน้อยๆ
- ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ มักพบในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
อัลไซเมอร์คืออะไร? ทำไมถึงถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามในสังคมผู้สูงอายุ
สัญญาณอัลไซเมอร์ ขี้ลืมแบบไหน? รีบพบแพทย์ก่อนสูญเสียการใช้ชีวิต
ซึ่งล้วนเกิดจากพฤติกรรม ทำให้เส้นเลือดฝอยในสมองตีบ ส่งผลให้เซลล์สมองตาย
- ฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะฮอร์โมนไทรอยด์ที่มีระดับต่ำกว่าปกติ
- ภาวะร่างกายขาดวิตามินบี 12 หากขาดเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อม
- สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดสมองตีบ ส่วนแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี12 ทั้งนี้การดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นระยะเวลานานหรือดื่มในปริมาณมากอาจทำลายสมองส่วนต่างๆได้
- การติดเชื้อในสมอง เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส และไวรัสอื่นๆ
- ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือเนื้องอกสมอง
อาการเบื้องต้นโรคสมองเสื่อมในคนอายุน้อย
- ลืมเรื่องง่ายๆ เช่น วัน เดือน ปี สถานที่ที่เพิ่งไปมา ลืมนัดสำคัญหรือบางคนถึงขั้นลืมวันเกิดตัวเอง มักจะต้องใช้ตัวช่วย เช่น สมาร์ทโฟน หรือสมุดโน้ตมาช่วยจำ
- บุคลิกภาพเปลี่ยน เช่น พูดไม่ได้ใจความ บางครั้งพูดติดๆ ขัดๆ หรือพูดซ้ำๆ ทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารกับคนรอบข้างถดถอยลง
- การตัดสินใจแย่ลง การตัดสินใจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือต้องใช้เวลานานในการตัดสินใจ
- มักเกิดความผิดพลาดในการกะระยะ การบอกสี บอกความแตกต่าง ซึ่งเป็นปัญหามากถ้าผู้ป่วยต้องขับรถ
- ภาวะเครียด ซึมเศร้า แยกตัวออกจากสังคม ไม่ว่าจะครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
- ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ไม่มีสมาธิ กระวนกระวาย ย้ำคิดย้ำทำ
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจจะไม่ได้มีเพียงแค่การหลงลืมเท่านั้น จะต้องอาศัยอาการอื่นๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้นประกอบการวินิจฉัย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว ต้องใช้การสังเกตโดยคนรอบข้าง สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญภาวะสมองเสื่อมอยู่หรือไม่ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบและวินิจฉัย ซึ่งมีวิธีการตรวจหลายอย่างดังนี้
ระยะภาวะสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์ เผยความรุนแรงของโรคก่อนสูญเสียความทรงจำ
วินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
- ตรวจสมองด้วยเครื่องสแกนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อดูความผิดปกติของเส้นเลือดในสมอง เนื้อสมองตายจากการขาดเลือดหรือเนื้องอกในสมอง
- เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจ ในกรณีสงสัยการติดเชื้อเช่น เอชไอวี ไวรัส หรือซิฟิลิส
- ตรวจวัดระดับวิตามินบี12 ในร่างกาย
- ตรวจความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์
การรักษาโรคสมองเสื่อมในคนอายุน้อย จะเริ่มจากการรักษาสาเหตุของภาวะที่นำไปสู่ภาวะเซลล์สมองเสื่อมหรือตาย มักพิจารณาให้สำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นของโรค เพื่อประคองระดับของอาการไม่ให้แย่ลงเร็ว หรือใช้วิธีการบำบัดทางจิตใจและพฤติกรรม โดยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้มีการพูดคุย ร่วมกิจกรรม หรือเข้าร่วมกลุ่มบำบัด (Group therapy) เป็นการพาผู้ป่วยกลับเข้าสังคมอีกครั้ง บำบัดด้วยศิลปะ การฝึกสมาธิ การเล่นดนตรี รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
ภาพจาก : freepik
8 วิธีลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ แก่ไปความจำยังดี สุขภาพแข็งแรง!
ยีน“อัลไซเมอร์”ส่งต่อทางพันธุกรรม ตรวจเจอป้องกัน-ชะลอความเสื่อมได้!