“มะเร็งปอด”เนื้องอกโตเร็ว พบป่วยมากในไทย เป็นได้แม้ไม่สูบบุหรี่!
ปัจจุบันมะเร็งไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวอีกต่อไป ไม่ว่าใครก็เป็นได้แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอะไรเลย รู้จักมะเร็งปอด ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก
ปัจจุบันพบอุบัติการณ์โรคมะเร็งปอด ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงที่สุด
หมอกฤตไท "เพจสู้ดิวะ" แจ้งข่าวเศร้า ผมคงอยู่ได้อีกไม่นาน
“มะเร็งปอด” ที่ไม่ใช่แค่สูบบุหรี่กับ 7 สัญญาณเตือนโรคระยะแรก
โดยในปี 2012 มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดทั่วโลก 1,590,000 คน สำหรับประเทศไทย ปี 2008 มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ถึง 8,403 คนนอกจากนี้โรคนี้ยังพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และผู้สูงอายุมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย จึงไม่ควรมองข้ามการตรวจเช็กร่างกายและดูแลตนเองให้ห่างไกลมะเร็งปอด
มะเร็งปอดคืออะไร?
มะเร็งปอดเป็นเนื้องอกของปอดชนิดโตเร็ว ลุกลามสู่อวัยวะข้างเคียง และกระจายตัวไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เกิดจากเซลล์ของเนื้อเยื่อในปอดแบ่งตัวเร็วผิดปกติจนควบคุมไม่ได้ จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ และแพร่กระจายเป็นจำนวนมากไปตามอวัยวะต่างๆ โดยมะเร็งปอดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) เซลล์จะมีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตค่อนข้างเร็ว มะเร็งปอดชนิดนี้พบไม่มาก คือราว 10-15 % แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) มะเร็งปอดชนิดนี้จะมีการแพร่กระจายได้ช้ากว่า และถ้าหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ จะสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด มะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 85-90%
สาเหตุจากปัจจัยการเกิดมะเร็งปอด
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สารก่อมะเร็งที่อยู่ในบุหรี่และมลภาวะต่าง ๆ อยู่ในสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ซึ่งผู้สูบบุหรี่โดยตรงและผู้ที่ได้ควันบุหรี่โดยอ้อมจากควันบุหรี่จากผู้อื่นเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ นอกจากนั้นพบว่าสารก่อมะเร็งอาจมาจากสภาวะแวดล้อมและการทำงาน ได้แก่ Radon และ Asbestos เป็นต้น
ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความบกพร่องทางกรรมพันธุ์ หรือความเสื่อมของเซลล์ ทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมเซลล์ที่ผิดปกติได้
จะเห็นได้ว่าบุหรี่ไม่ใช่ปัจจัยการก่อมะเร็งปอด!
ทั้งนี้ผู้ป่วยมะเร็งปอดมักมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด แต่ในกรณีที่โรคลุกลาม นอกจากอาการที่ปอดแล้ว อาการจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็งลุกลามไป
ตรวจมะเร็งปอดอย่างไร
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ประกอบด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ที่สำคัญจะพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมตามข้อบ่งชี้ ได้แก่ เอกซเรย์ปอด ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอก หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณทรวงอกเมื่อผลการตรวจภาพของปอดพบรอยโรคที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งจะต้องมีการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยด้วยผลทางพยาธิวิทยา (Pathology) ร่วมด้วยเสมอ การนำตัวอย่างเซลล์ที่รอยโรคมาตรวจ อาจทำได้โดยการส่องกล้องเข้าไปทางหลอดลม หรือโดยการใช้เข็มเจาะผ่านทางผนังช่องอกขึ้นกับความเหมาะสม
อาการ-ความเสี่ยง"มะเร็งปอด" ที่คนไทยเสียชีวิตวันละ 40 คน
การรักษาโรคมะเร็งปอด
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือการพิจารณาตำแหน่ง ขนาดและระยะของเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งวิธีการรักษามะเร็งปอด มีดังนี้
- การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งในบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจจะไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปวิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
- การฉายรังสี (Radiotherapy) เป็นการนำพลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น แต่วิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่ได้มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แต่อาจใช้เฉพาะจุดเพื่อควบคุมการลุกลาม การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กลืนลำบาก ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
- การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการกระตุ้นให้ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายไปตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็ง
- การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยาเพื่อกำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วในร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบของยาที่ต้องฉีดเข้าเส้นเลือด
- การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (Targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ และวิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนกับการใช้ยาเคมีบำบัด
อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปการรักษามะเร็งมักจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและอาการผลข้างเคียงของแต่ละวิธี ทั้งนี้โรคมะเร็งปอดมักจะไม่ค่อยมีอาการแสดงออกในช่วงระยะแรก ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงให้ประโยชน์ทั้งในแง่การเฝ้าระวังและการรักษา เพราะเป็นมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้หากพบเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล
ภาพจาก : Freepik
ผู้หญิงเสี่ยงมะเร็งมากกว่าผู้ชาย? เช็ก 5 มะเร็งที่พบมาก-สัญญาณเตือน
ฝุ่น PM2.5 เพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 3 เท่า-พัฒนาการเด็กช้าลง