สายพันธุ์ “มะเร็งปอด” ระยะไหน? แพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
ผู้ป่วย “มะเร็งปอด” หากไม่สามารถผ่าตัดได้ มักเสียชีวิตภายใน 1 ปีหลังการวินิจฉัยโรค และแน่นอนว่ามะเร็งเป็นโรคที่มักแสดงอาการเมื่อระยะลุกลามไปเยอะมากแล้ว ฉะนั้นการใส่ใจปอดใส่ใจระยะปัจจัยเสี่ยงและอาการสัญญาณเตือนแรกนับเป็นสิ่งที่จำเป็น
มะเร็งปอด (Lung Cancer) เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวของปอดที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถควบคุมได้ จนเกิดเป็นก้อนเนื้อร้าย ซึ่งสามารถลุกลามและกระจายไปอวัยวะอื่นๆ ได้ โดยโรคมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) มะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเช่นกัน
“มะเร็งปอด”เนื้องอกโตเร็ว พบป่วยมากในไทย เป็นได้แม้ไม่สูบบุหรี่!
สัญญาณแรกมะเร็งปอด ไอเรื้อรังติดต่อกัน 2 สัปดาห์ไม่ควรมองข้าม!
ระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ
- ระยะที่ 1 ระยะจำกัด (Limited Stage) พบเซลล์มะเร็งอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวเท่านั้น
- ระยะที่ 2 ระยะลุกลาม (Extensive Stage) เซลล์มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) มะเร็งชนิดนี้พบได้ประมาณ 85-90% จะแพร่กระจายได้ช้ากว่าชนิดเซลล์เล็ก และหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด
ระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยมักไม่แสดงความผิดปกติออกมา
- ระยะที่ 2 : พบมะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด โดยในระยะที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกจากร่างกาย
- ระยะที่ 3 : พบมะเร็งแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
- ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่มะเร็งกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น
อาหารต้านมะเร็งปอด-ป้องกันเซลล์ถูกทำลาย ลดความเสี่ยงปอดอักเสบ
อาการแสดงมะเร็งปอดลุกลาม
ในระยะแรกของโรคมะเร็งปอด ผู้ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก แต่จะมีอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อโรคเริ่มลุกลามมากขึ้น ดังนี้
- ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด
- หายใจลำบาก หายใจเหนื่อยหอบ
- หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด
- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
- เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน
- ปอดติดเชื้อได้ง่าย
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ และเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
ภาพ : Freepik และ shutterstock
หมอกฤตไท "เพจสู้ดิวะ" แจ้งข่าวเศร้า ผมคงอยู่ได้อีกไม่นาน
นักวิชาการขอเป็นกำลังใจให้ครอบครัว"หมอกฤตไท"