“เสริมภูมิคุ้มกัน”ป้องกันโรคงูสวัด- ติดเชื้อฉวยโอกาสและมะเร็ง
เหนื่อยง่าย-ป่วยบ่อยหนึ่งในสัญญาณภูมิคุ้มกันต่ำสาเหตุของไวรัสฉวยโอกาสทำร่างกายทรุด! เผยเคล็ดลับฟื้นฟูภูมิต้านทาน
โรคงูสวัด หนึ่งในโรคติดเชื้อฉวยโอกาสเมื่อร่างกายอ่อนแอลง ที่มักเกิดกับผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนเมื่อหายแต่ไวรัสยังคงซ่อนอยู่ในปมปลายประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอลง ไม่ว่าจะจากการพักผ่อนน้อย ความเครียด หรือโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคร่วมเรื้อรัง เช่น ปอดอักเสบ เบาหวาน หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง ซึ่งผู้ป่วยจะเกิดผื่นที่มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส กระจายไปตามผิวหนังที่เส้นประสาทนั้นๆ คล้ายรอยงูเลื้อย มีอาการปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย
งูสวัดพันรอบเอวตายจริงหรือไม่ ? เคยติดเชื้อแล้วป่วยซ้ำได้อีกหรือไม่?
“โรคงูสวัด”สัญญาณแรกที่คนพักผ่อนน้อยต้องระวัง วิธีรักษา-ป้องกัน
ฉะนั้นการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงจะทำให้โรคงูสวัดไม่สามารถต้านภูมิต้านทานได้!
ภูมิต้านทานต่ำ อาจแสดงออกมาผ่านการรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาหรือเป็นหวัดป่วยบ่อยหรือเกิดผื่นแพ้ ผิวหนังอักเสบเป็นต้น อีกทั้งยังทำให้คุณมีโอกาสติดเชื้อและโรคร้ายแรงได้ อาทิ โรคมะเร็งต่าง ๆ หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ที่อันตรายถึงชีวิต
รู้หรือไม่ ? ระบบภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ หากพ่อแม่มีร่างกายแข็งแรง ลูกก็จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีตาม แต่แม้ธรรมชาติร่างกายจะป่วยง่าย เราก็สามารถเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ด้วยการดูแลสุขภาพ เช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น
ป่วยอีสุกอีใสมาก่อนต้องระวังงูสวัด เผยอาการแทรกซ้อนอันตราย!
4 ข้อควรปฏิบัติเสริมภูมิต้านทานก่อนป่วย
- ทานอาหารต้านโรค นอกเหนือจากการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรเสริมด้วยอาหารที่ช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งโดยมากจะอยู่ในผักผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี อาทิ ผักใบเขียวจัดหรือสีเหลืองส้ม เห็ดต่าง ๆ และแร่ธาตุซิลีเนียม หรือสังกะสีที่พบในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม หรือถั่ว เป็นต้น
- ออกกำลังกาย ช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น แล้วทำให้เม็ดเลือดขาวในเนื้อเยื่อต่าง ๆ แข็งแรงเพื่อจัดการกับเชื้อโรคได้ง่าย อีกทั้งร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมาหลังการออกกำลังกายเพื่อช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และความวิตกกังวล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยได้ โดยเราควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 30 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับให้สนิทและให้ได้อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง เพราะการเข้านอนเร็วจะช่วยให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน DHEA (สารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิงและชายที่ทำหน้าที่ช่วยต้านความเครียดและกระตุ้นภูมิต้านทาน) ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง เราสามารถฝึกผ่อนคลายจิตใจตนเองได้ด้วยการกำหนดลมหายใจหรือนั่งสมาธิ เป็นต้น เพราะมีงานวิจัยออกมาว่า การนั่งสมาธิสามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน DHEA ซึ่งนอกเหนือจากมีหน้าที่สำคัญช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้วยังมีบทบาทในการต้านโรคมะเร็งอีกด้วย
สำหรับผู้ที่ทานผักยากหรือไม่มั่นใจว่าทานผักผลไม้ได้เต็มที่ การทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกันก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจแต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานทุกครั้งด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
ภาพจาก Freepik และ shutterstock
วิธีรักษาอาการปวดปลายประสาทโรคงูสวัด เทคนิคทำให้แผลผื่นหายเร็ว!
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด 2 ชนิด เชื้อเป็นกับเชื้อตายใครบ้างควรฉีด?