ท้องอืด-แน่นท้อง รักษาไม่หายแนะทดสอบไฮโดรเจนทางลมหายใจ HBT
เวลาที่แน่นท้องหรือท้องอืดแต่ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง ทำการรักษาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น การทดสอบไฮโดรเจนทางลมหายใจ (Hydrogen Breath Test) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะไม่เพียงช่วยวินิจฉัยโรคแบบเชิงลึก ยังทดสอบง่ายและไม่เป็นอันตราย นำไปสู่การตรวจวินิจฉัยที่นำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง
การทดสอบไฮโดรเจนทางลมหายใจ (Hydrogen Breath Test : HBT) เป็นการทดสอบเพื่อวินิจฉัยการย่อยน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตที่ผิดปกติ โดยจะใช้น้ำตาลจากผลไม้ (ฟรุกโตส) และน้ำตาลจากนม (แลคโตส) เป็นตัวทดสอบ เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยการแพ้นมหรือน้ำตาลจากผลไม้ นอกจากนี้ยังวินิจฉัยการเติบโตที่ผิดปกติของแบคทีเรียในลำไส้เล็กที่ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติในช่องท้อง ทำให้ทราบต้นตอของปัญหาช่องท้องที่แท้จริง
เครียดท้องอืดบ่อย สัญญาณ “ลำไส้แปรปรวน” แพทย์ชี้ไม่เชื่อมโยงมะเร็งลำไส้
วิธีทดสอบภูมิแพ้ สะกิดผิว-เจาะเลือด แตกต่างกันอย่างไร?เหมาะกับใครบ้าง?
ใครที่ต้องทดสอบ HBT
- ผู้ที่ท้องอืด แน่นท้อง รักษาแล้วไม่ดีขึ้น
- ผู้ที่เรอบ่อย ผายลมบ่อย
- ผู้ที่ปวดแน่นท้องแต่หาสาเหตุไม่พบ
- ผู้ที่รับประทานนมแล้วท้องเสีย
ขั้นตอนการทดสอบ HBT
ขั้นตอนการทดสอบไฮโดรเจนทางลมหายใจ เพียงผู้ป่วยเป่าลมหายใจเข้าถุงทดสอบก่อนดื่มน้ำตาล 1 ครั้ง จากนั้นจึงเป่าลมหายใจเข้าถุงทดสอบซ้ำอีก 3 – 9 ครั้ง ระยะเวลาในการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง หลังการตรวจผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
การเตรียมตัว HBT
- ก่อนทดสอบ 1 เดือน งดยาปฏิชีวนะและยาระบายทุกชนิด
- ก่อนทดสอบ 1 วัน ห้ามรับประทานอาหารอื่น นอกจากขนมปังขาว ข้าวขาว ไข่ต้ม มันฝรั่ง ไก่หรือปลาต้มหรืออบ ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยเท่านั้น ชาหรือกาแฟดำไม่ใส่นมและน้ำตาล น้ำเปล่า
- ก่อนทดสอบ 12 ชั่วโมง งดรับประทานอาหารทุกชนิดและงดดื่มน้ำ
- ก่อนทดสอบ 2 ชั่วโมง แปรงฟันให้สะอาด
- ก่อนทดสอบ 1 ชั่วโมง ห้ามหลับหรือออกกำลังกายทั้งก่อนและระหว่างการทดสอบ
- งดเคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม งดสูบบุหรี่และเลี่ยงควันบุหรี่อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนและระหว่างการทดสอบ
5 ท่าออกกำลังกายบริหารลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเรื่องขับถ่าย
ผลข้างเคียงจากการHBT
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดมวนท้องระหว่างทดสอบ
- ถ่ายเหลวเล็กน้อยระหว่างทดสอบ
ข้อดีของการตรวจ HBT
• เพื่อประเมินการเจริญ และการแพร่ของแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
• ติดตามผลการรักษาได้แม่นยำ
• ไม่มีความเจ็บปวด และไม่ใช้สารรังสี
• ทราบผลภายใน 30 นาที
อย่างไรก็ตามการทดสอบต้องเป็นไปตามมาตราฐานภายใต้การดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล
ภาพจาก : Freepik
ท้องผูกเป็นปกติ 1ใน 5 สัญญาณเสี่ยง“มะเร็งลำไส้” ที่ไม่ควรมองข้าม
"ท้องผูกเรื้อรัง" เร่งแก้ไขก่อนก่อนลำไส้พัง-ขั้นไหนควรพบแพทย์