9 อาการเบาหวาน สัญญาณที่อาจมองข้าม เช็กก่อนคุมไม่ได้อันตรายถึงชีวิต
เบาหวาน โรคที่เกิดจากความผิดปกติของอินซูลิน (Insulin) ภาวะแทรกซ้อนอันตราย เช็กสัญญาณก่อนคุมโรคได้!
“เบาหวาน” หลายคนอาจมองว่าเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรงอะไร เพียงแต่ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดในอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่รู้หรือไม่เป็นหนึ่งในโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายมาก หากคุมเบาหวานไม่ได้ อาจป่วยเป็นโรคหัวใจ ป่วยเป็นโรคไตจนต้องฟอกถ้าป่วยเป็นโควิดช่วงที่น้ำตาลในเลือดสูงอาจป่วยหนักจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันและสังเกตสัญญาณโรคจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ
ชนิดโรคเบาหวานตามสาเหตุของโรค เช็กสัญญาณเสี่ยงโรคแทรกซ้อนอันตราย
ป่วยเบาหวานก็ออกกำลังกายได้ ยึดหลัก FITT ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น!
Freepik/ bvb1981
โรคเบาหวาน

สัญญาณเตือนเบาหวาน
- กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ
- ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะปริมาณมากกว่าปกติ
- หิวบ่อย กินอาหารมากกว่าเดิม
- น้ำหนักลดหรือเพิ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ
- สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- มีแผลและแผลหายช้ากว่าปกติ
- ชา ปวดแสบ ปวดร้อน หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ที่ปลายมือปลายเท้า
- ผิวหนังแห้ง คัน
กลุ่มอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อะไรกินได้กินดี อะไรควรหลีกเลี่ยง!
ปัจจัยเสี่ยงเบาหวาน
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน
- ความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)
- สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
- ไม่ออกกำลังกาย (physical inactivity)
- ดื่มสุราสูบบุหรี่
- สตรีที่มีโรคถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovary syndrome)
- เคยตรวจพบ ระดับน้ำตาลสะสม Hemoglobin A1C (Hb A1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 5.7 % , ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (Impaired fasting glucose) คือมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ไขมันชนิดชนิดเอชดีแอล (HDL) น้อยกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ ไตรกลีเซอไรด์(TG) มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ผู้ป่วยที่มีประวัติประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง
เบาหวานเป็นภัยเงียบที่มาแบบไม่รู้ตัว เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการมาก่อน ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน อาทิ มีภาวะอ้วน มีญาติหรือคนในครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวาน เป็นต้น แม้ยังไม่มีอาการก็ควรตรวจคัดกรองเบาหวานเป็นประจำทุกปี เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนแสดงอาการ อาจเป็นหนักและเกิดผลข้างเคียงที่ยากจะรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
3 วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยความดันสูง-เบาหวานช่วยชะลอโรค
วิธีอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ เช็กไขมันปริ่มเพดาน เสี่ยงเบาหวาน ตับผิดปกติ