สัญญาณมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยในไทย!
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่หลายคนมองข้ามแต่อันที่จริงพบได้บ่อยในไทย 1 ใน 5 มะเร็งโลหิตวิทยา เช็กอาการเริ่มต้น ความเสี่ยงของโรค!
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มะเร็งโลหิตวิทยาที่พบบ่อยที่สุดในโลก และเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทยมะเร็งชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากต่อมน้ำเหลือง หรือเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ที่มีหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคโดยการขนส่งน้ำเหลืองไปตามหลอดน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกัน หรือทำลายเชื้อโรคที่โดยตรง จะพบต่อมน้ำเหลืองได้ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ เต้านม หรือบริเวณขาหนีบ ฯลฯ
ต่อมน้ำเหลืองโต อาการแบบไหนรีบพบแพทย์? อาจเสี่ยงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
คลำเจอก้อนที่คอ กดเจ็บอาจอันตรายน้อยกว่าไม่เจ็บ เช็กความเสี่ยงโรค!
Freepik/Racool_studio
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมี 2 ชนิด
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin lymphoma (NHL) ที่พบบ่อยในไทย
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Hodgkin disease (HD)
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ช่วงอายุ 60 – 70 ปี
- ชายพบเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง
- การติดเชื้อ แบคทีเรีย Helicobacter pylori และ การติดเชื้อไวรัส EBV
- ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วย HIV พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
- โรคภูมิแพ้ตัวเอง พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
- การสัมผัสสารเคมี อาทิ ยาฆ่าแมลงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบ ฯลฯ
- เป็นไข้ หนาวสั่น ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก
- มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
- เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ต่อมทอนซิลโต
- อาการคันทั่วร่างกาย
- ปวดศีรษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)
ผู้หญิงเสี่ยงมะเร็งมากกว่าผู้ชาย? เช็กสัญญาณร่างกายเปลี่ยนต้องระวัง!
ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 1 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองเพียงบริเวณเดียว
- ระยะที่ 2 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือง ตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป
- ระยะที่ 3 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่คนละด้านของกระบังลม
- ระยะที่ 4 : มีรอยโรคกระจายออกไปเกินตำแหน่งเริ่มต้นที่พบ เช่น บริเวณตับ, ไขกระดูก, หรือปอด
ปัจจัยกระตุ้นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ล้วนเกิดจากพฤติกกรรมการกินและการใช้ชีวิต อาทิ การเลือกกินอาหาร เช่น ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์ เนย ชีส สิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม อากาศร้อนจัด รวมทั้งการอดนอน ขณะที่ผู้หญิงก็พบการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด ก่อนหรือหลังมีประจำเดือน ขณะมีประจำเดือนด้วย ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
มะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา แตกต่างจาก มะเร็งกระดูกอย่างไร ?
คนไข้วัย 38 ปี ไม่มีอาการผิดปกติ! แต่ตรวจเจอมะเร็งหายาก 1 ในล้าน