"เหงื่อออกตอนกลางคืน" ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม อาจเป็นสัญญาณบอกโรค!
อากาศร้อนอาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ “เหงื่อออกตอนกลางคืน” ที่สามารถแก้ได้ด้วยการระบายอากาศที่สุดร้อนภายในห้อง หรือ เลือกเปิดพัดลมและแอร์เพื่อให้หลับได้สบายมากขึ้น แต่หากอากาศในห้องเย็นแล้ว แต่ยังมีเหงื่อออก ควรคำนึงถึงโรคอะไรบางอย่างที่มีอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือน
ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เกิดเป็นกระบวนการต่างๆ ซึ่งกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม (Metabolism) ก็เป็นอีกกระบวนการทำงานที่สำคัญของร่างกาย ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงอาหารเป็นพลังงาน ทำให้ร่างกายเกิดความร้อน ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดความร้อน ร่างกายก็จะมีกลไกในการควบคุมหรือระบายความร้อน นั้นออกมาในรูปแบบของ “เหงื่อ” เพื่อให้ความร้อนในร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือเรียกว่า
การหลั่งเหงื่อ คือการถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากกระบวนการต่างๆ ในร่างกายออกไป
นอนกรนแบบไหนสัญญาณอันตราย ? เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับเผยสาเหตุ-วิธีรักษา
มะเร็งกระเพาะอาหาร ตัวการและระยะของมะเร็ง-กรุ๊ปเลือดไหนเสี่ยงที่สุด?

ซึ่งการที่เรามีเหงื่อมากๆ ทำให้เราเกิดอาการไม่สบายตัว ยังอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกาย หรือเป็นหนึ่งในอาการของโรคร้ายแรงได้ด้วย
สาเหตุของเหงื่อออกเวลานอน!
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperthydrosis) คือภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมาก แม้ในสภาพอากาศปกติ ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะอาการออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน กลุ่มนี้จะมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ซึ่งเกิดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย คนไข้ในกลุ่มนี้ จะมีเหงื่อออกในบริเวณบางส่วนของร่างกาย เช่น ใบหน้า ศีรษะ รักแร้ ฝ่ามือ ซึ่งในกลุ่มที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติบริเวณฝ่ามือ อาจเรียกว่า ภาวะเหงื่อมือ หรือ เหงื่อออกมือ เป็นต้น
มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ในกลุ่มวัยรุ่น ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 30-40 ผู้ป่วยบางรายมีเหงื่อออกมากที่มือจนเขียนหนังสือหรือจับสิ่งของไม่ได้เลยก็มี
- กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย คนไข้ในกลุ่มนี้ จะมีเหงื่อในปริมาณมาก ออกทั่วร่างกาย แม้กระทั่งในเวลานอน ซึ่งมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของโรคอื่น ๆ เช่น
- โรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้ร่างการมีการเผาผลาญสูง
- โรควัณโรคปอด
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะอ้วนมาก ๆ
- การติดเชื้อในร่างกาย
- หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน
- เบาหวาน
- การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในอาการของ โควิดโอไมครอน แต่ก็ควรพิจารณาอาการป่วยอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย
ภาวะหนังตาตก เรื่องไม่ปกติหากกระทบการใช้ชีวิต เจอในเด็กต้องรีบรักษา!
การรักษาในเบื้องต้นนั้นแพทย์จะต้องจำแนกคนไข้ก่อนว่ามีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติในระดับใด โดยดูจากลักษณะการออกของเหงื่อ เช่น คนไข้กลุ่มที่มีอาการในระดับทุติยภูมิ แพทย์จะทำการตรวจในด้านอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง เช่น การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อหาภาวะไทรอยเป็นพิษ หรือการรักษาร่วมกันกับแพทย์เฉพาะทางด้านต่อมไร้ท่อ ในกรณีที่คนไข้มีภาวะอ้วนมากๆ หรือเป็นโรคอ้วน เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ กระทรวงสาธารณสุข
เตือนภัยหน้าร้อน! ฮีทสโตรก เสี่ยงรุนแรงทำลายระบบสมอง! อันตรายถึงชีวิต
รับมือพายุฤดูร้อน ดูแลสุขภาพป้องกันสุขอนามัยป้องกันโรคจากน้ำและอาหาร