6 สัญญาณ “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ความผิดปกติร่างกายระบบขับถ่ายไม่ควรมองข้าม!
มะเร็งที่ความรุนแรงหนึ่งชนิด คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะผู้ป่วยส่วนมากมักไม่รู้ตัวกว่าจะรู้ก็โรคลุกลามไปไกลแล้ว สัญญาณของโรคจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระวัง!
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) กลายเป็นมะเร็งที่หลายคนให้ความสนใจ หลังพบว่ามีแนวโน้มความรุนแรงและพบผู้ป่วยรายใหม่มากขึ้นและมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งมะเร็งลำไส้มากเป็นลำดับที่ 3 แต่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โดยจากสถิติปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพศชาย 10 คนต่อประชากรชาย 100,000 คน และเพศหญิง 7 คนต่อ 100,000 คน แนะสัญญาณ และวิธีป้องกันตัวเอง เพราะ นอกจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งแล้ว พฤติกรรมการทานอาหารยุคใหม่นี้แหละคะ คือ สาเหตุหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผู้สูงอายุ “เบื่ออาหาร” อาจสะท้อนภาวะซึมเศร้า-ปัญหาสุขภาพ
คุณภาพการนอนที่ดี กำจัดขยะในสมองได้ ตื่นมาสดชื่นไม่ต้องพึ่งคาเฟอีน!
Freepik/ thanasak
มะเร็งลำไส้ใหญ่

6 สัญญาณโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ท้องผูกบ่อยจนกลายเป็นเรื่องปกติ อาจมาจากหลากหลายพฤติกรรมการกิน ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานไม่ดี หรือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในวัยทำงาน แต่หากปล่อยให้เรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต
- ท้องเสียสลับกับท้องผูก การที่อุจจาระมีลักษณะแข็งและเหลวสลับกัน แบบมีอาการเรื้อรัง ถึงแม้ว่าจะกินอาหารที่เหมาะสมไม่ได้เป็นสาเหตุให้ท้องเสียก็ยังมีอาการนี้อยู่ นี่อาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากภายในลำไส้
- อุจจาระลีบเป็นลำเล็ก มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนมากมักเริ่มจากติ่งเนื้อเล็กๆในลำไส้ แล้วจึงพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งในภายหลัง การมีติ่งเนื้อขึ้นขวางภายในลำไส้นี้จึงทำให้อุจจาระที่เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่มีลักษณะถูกบีบให้เป็นลำเล็กลีบ ดังนั้นหากสังเกตหากผิดปกติให้รีบพบแพทย์!
- มีเลือดปนมากับอุจจาระเกิดจากอุจจาระที่แข็งเมื่อเบียดกับติ่งเนื้อที่ขึ้นผิดปกติภายในลำไส้เกิดเป็นแผลทำให้มีเลือดออกและปนออกมาในบางครั้งที่ขับถ่าย
“เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ” จุดเปลี่ยนสุขภาพที่ “พีเค” ร่วมคุย “น้าเน็ก” ในวัยขึ้นเลข 5
- กินอาหารเท่าเดิมแต่น้ำหนักลดลักษณะอาการคือน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบเดิมหรือมากกว่าเดิม
- อ่อนเพลียอ่อนแรงแบบไม่มีสาเหตุ อาจเกิดจากการที่มีเลือดออกในลำไส้ ปนออกมากับอุจจาระ หากเสียเลือดจากการขับถ่ายมากอาจมีภาวะซีด และโลหิตจางร่วมด้วย และยิ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียอ่อนแรงต่อเนื่องมากขึ้นอีก
มะเร็งลำไส้ใหญ่ หากตัดเรื่องกรรมพันธุ์ออกไป นับเป็นมะเร็งที่ต้องกันได้ หากปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพลำไส้ หลีกเลี่ยงอาหารไหม้เกรียมหรือปนเปื้อน ไม่ประมาทมองว่าโรคร้ายคงไม่เหมาะกับเรา หมั่นสังเกตตัวเอง รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทำให้โอกาสเข้าถึงการรักษาและรอดชีวิตที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
เข้าใจ “เนื้องอก” ผ่านประสบการณ์ “พีค” อันตรายไหม-เป็นซ้ำได้หรือไม่