ตาล้า-ปวดหัว ขณะทำงานหน้าจอ สัญญาณป่วย Computer Vision Syndrome
ชาวออฟฟิศหลายคนต้องประสบกับปัญหา ปวดตา ตาพร่ามัว หลังนั่งทำงานไปได้ไม่กี่นาที ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้อาจป่วยเป็นโรคซีวีเอส (CVS)
Computer Vision Syndrome หรือ โรคซีวีเอส (CVS) คือ อาการของคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น จ้องจอคอมพิวเตอร์เกินสองถึงสามชั่วโมง ส่งผลให้มีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบางครั้งจะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย
อาการของ CVS
-
ตาเมื่อยล้า
-
ตาแห้ง แสบตา
-
ตาสู้แสงไม่ได้
-
ตาพร่ามัว
-
ปวดศีรษะ
สาเหตุโรคตา CVS
การจ้องคอมพิวเตอร์หรือตั้งใจทำบางสิ่งบางอย่างเป็นเวลานานๆ ประกอบกับอยู่ในห้องแอร์
สัญญาณต้อในตา แบบไหนแทบไม่มีอาการ? ชนิดไหนควรรีบรักษาเสี่ยงตาบอด!
ต้อกระจก ภัยการมองเห็นผู้สูงอายุ ปล่อยทิ้งไว้อาจสูญเสียการมองเห็นได้!

- การกระพริบตาน้อยลง ตาเริ่มแห้ง ก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายในตา
- แสงจ้าหรือแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า
- ตำแหน่งการจัดวางจอคอมพิวเตอร์ ระยะห่างจากจอภาพที่เหมาะสม ควรจัดจอภาพให้อยู่ในระยะพอเหมาะที่ตามองสบายๆ ไม่ต้องเพ่ง
โดยเฉลี่ยระยะจากตาถึงจอภาพควรเป็น 0.45 ถึง 0.50 เมตร
- ตาอยู่สูงกว่าจอภาพโดยเฉพาะผู้ที่ใช้แว่นสายตาที่มองทั้งระยะใกล้ และไกล จะต้องตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้มองตรงกับเลนส์แว่นตาที่ใช้มองใกล้
วิธีป้องกัน หรือแก้ไขอาการ CVS
-
ละสายตาจากคอมพิวเตอร์บ้าง หลังจากใช้ไปแล้ว ประมาณ 20 – 30 นาที
-
มองออกไปไกลๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลาย และช่วยในกระพริบตามากขึ้น
-
ควรหยุดพักสายตาเป็นเวลา 2-4 นาที แล้วค่อยลืมตาขึ้นทำงานใหม่
-
กรณีตาแห้ง ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา จะช่วยบรรเทาอาการปวดตาและแสบตาได้
-
ปรับแสงสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป
-
ควรนั่งให้มีระยะห่างจากจอคอมพิวเตอร์กับดวงตา ประมาณ 40-50 ซม. และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา
-
ใส่แว่นตากรองแสงคอมพิวเตอร์ ช่วยลดแสงเข้าดวงตา ทำให้รู้สึกสบายตา
อ่อนเพลีย-ปวดเมื่อยง่าย อาจเป็นสัญญาณขาดวิตามินดี เสี่ยงโรคกระดูกพรุน
ทั้งนี้ไม่ควรมองข้ามการบำรุงสายตา โดยเฉพาะอาหารที่ควรกินให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย เลือกวิตามินบำรุงสายตาที่มี วิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินซี (Vitamin C) ผสมอยู่ด้วย นอกจากนี้ผักตระกูลคะน้า เช่น ผักคะน้า เคล ผักโขม ปวยเล้ง หรือส้มเขียวหวาน ยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต้อกระจกได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
มีโรคประจำตัวออกกำลังกายได้หรือไม่ ? แนะเทคนิคดูแลสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น
ปรับวิธีคิดแก้นิสัยขี้ระแวง ลดความเครียด เลี่ยงโรควิตกกังวล ซึมเศร้า