ไวรัสตับอักเสบบี ไม่มีอาการก็เป็นพาหะได้ แพร่เชื้อผ่านสารคัดหลั่ง!
รู้หรือไม่ ? 1 ใน 3 ของโลกเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ ขณะที่คนไทยราว 3 ล้านรายติดเชื้อไวรัสชนิดเรื้อรัง มักไม่มีอาการจนกลายเป็นพาหะกว่าจะรู้ตัวก็ลุกลามเป็นตับแข็ง-มะเร็งตับแล้ว!
ประชากรเกือบ 1 ใน 3 ของโลกเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และประมาณ 400 ล้านคนกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง จากข้อมูลปี พ.ศ. 2552 พบว่าไทยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังสูงถึงร้อยละ 8 ของประชากรหรือราว 3 ล้านคน ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่มีอาการผิดปกติ กว่าจะเข้ามารับการตรวจรักษา ก็พัฒนาเกินระยะที่จะสามารถทำการรักษาให้หายได้ หรือที่น่ากลัวกว่าคือ ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับระยะลุกลามแล้ว
ชนิด“ไวรัสตับอักเสบ”ปัญหาสาธารณสุขไทย แม้ไม่มีอาการแต่เป็นพาหะได้!
“ตับอักเสบ” สัญญาณจุดเริ่มต้นตับแข็ง-มะเร็งตับ ไม่ได้มีแค่สาเหตุเดียว!
Freepik/Fantastic Studio
ตับอักเสบ

พาหะในการส่งต่อเชื้อ “ไวรัสตับอักเสบบี”
ไวรัสตับอักเสบบี สามารถพบได้ในสารคัดหลั่งทุกชนิดของผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะในกระแสเลือด จึงสามารถแพร่เชื้อได้จากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่งได้ โดยช่องทางที่พบว่าเป็นสาเหตุให้มีการแพร่เชื้อมากที่สุดก็คือ
ทางเพศสัมพันธ์และการถ่ายทอดจากแม่ที่มีเชื้อสู่ทารก
เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือดและแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ตับ บางรายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด คลื่นไส้ อาเจียน ตับโตและตัวตาเหลืองได้ แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน จากนั้นภูมิต้านทานของร่างกายจะพยายามกำจัดเชื้อ หากไม่สามารถกำจัดได้หมดก็จะเกิดภาวะ “ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง”
เป็นพาหะตับอักเสบบีต้องทำอะไรหรือไม่?
หลายรายคิดว่าไม่มีอาการก็ไม่น่าจะต้องทำอะไร แต่จากข้อมูลที่มีการศึกษาติดตามผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังไปนาน 5 ปี จะพบว่ามีผู้ป่วยเกิดภาวะตับแข็งประมาณร้อยละ 8-20 คือมีอาการตัวบวมขาบวม ตัวตาเหลือง ซึม สับสน ซึ่งเกินจะเยียวยารักษาให้ดีขึ้น ต้องรอรับบริจาคตับเพื่อต่อการมีชีวิตอยู่ หรืออาจเสียชีวิตด้วยภาวะตับวาย
แนวทางการรักษาไวรัสตับอักเสบบี
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อาศัยร่างกายมนุษย์ในการดำรงชีพ จึงสามารถแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในร่างกายได้ การติดตามดูนิสัยของเชื้อไวรัสว่าปริมาณเชื้อมีเท่าไร ความสามารถในการแบ่งตัวเร็วหรือช้า และทำลายตับมากหรือน้อย จะเป็นเครื่องมือที่นำมาสู่การประเมินแนวทางการรักษาให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
สัญญาณเตือน “ไขมันพอกตับ” จุดเริ่มต้นสารพัด ตับแข็ง-มะเร็งตับ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยรักษาโรคตับ ได้!
- การดูแลตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลทำลายตับ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานถั่วบดซึ่งมักมีเชื้อราบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อตับ
- การรับประทานยาบางชนิด
ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นการช่วยให้ตับแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการพัฒนาของโรคตับ นอกจากนี้สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากในผู้ติดเชื้อคือ ต้องไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังเป็นเหมือนภัยเงียบ ค่อยๆ เกิดโรคร้ายโดยที่ผู้ที่ติดเชื้อไม่มีอาการ จึงจำเป็นที่ต้องได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว การติดตามการดำเนินของโรค และการรักษาที่เหมาะสมโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อยืดอายุของตับให้อยู่กับคุณไปนานที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
“ไขมันพอกตับ” ภัยเงียบที่คนไทย กว่า 30% ป่วยและเสี่ยงโรคตับไม่รู้ตัว!
6 วิตามินตัวช่วยเรื่องสุขภาพ แต่กินมากไป อาจทำร้ายตับเสี่ยงตับอักเสบ!