อาหารควรเลี่ยงเมื่อปวดเข่า กินเยอะบวมน้ำเสี่ยงอักเสบเพิ่ม
เคยสังเกตหรือไม่ ? เวลากินอาหารบางอย่างทำไมถึงทำให้ปวดเข่ามากกว่าเดิม จากปกติที่มีอาการปวดเข่าอยู่แล้ว เพราะเวลาปวดเข่าไม่ว่าจะครั้งไหนๆ ก็รู้สึกทรมานเสมอ จะดีกว่าไหมถ้ารู้ว่าเวลาปวดเข่าห้ามกินอะไร ?
อาการปวดเข่า (Knee Pain) เป็นอาการที่เกิดความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าข้างใดข้างหนึ่ง หรือเกิดขึ้นทั้งสองข้าง โดยมักจะรู้สึกว่าไม่สามารถยืดเข่าได้อย่างเต็มที่ รู้สึกตึง พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย อาจนำไปสู่อาการอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคข้อเข่าเสื่อม ไขข้ออักเสบ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า การเลือกกินอาหารที่ดีสามารถช่วยทำให้ร่างกายหายเจ็บปวดได้กลับกัน หากยังคงเลือกกินอาหารที่สุ่มเสี่ยงก็อาจสร้างเจ็บปวดได้มากกว่าเดิม กระตุ้นโรคเก่าสร้างโรคใหม่ได้
5 สุดยอดอาหารอร่อยแซ่บนัว แต่กินเยอะดันเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
3 กลุ่มอาหาร กินเยอะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน กระตุ้นโรคเรื้อรัง!
Freepik/lazy_bear
ของทอด

10 อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อปวดเข่า
- แป้งขัดขาว
คนปวดเข่า ข้ออักเสบควรหลีกเลี่ยง เพราะการรับประทานแป้งขัดขาวจะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น เนื่องจากแป้งขัดขาวเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวเมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ยิ่งรับประทานแป้งขัดขาวจะเพิ่มน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายจนส่งผลดังกล่าวได้
- อาหารแปรรูป
ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่แปรรูปจากเนื้อสัตว์เช่น แฮม ไส้กรอก เบคอน หรือจะเป็นอาหารแปรรูปจากผักผลไม้ อาหารกระป๋อง ฯลฯ หากผู้ที่อาการปวดเข่ารับประทานจะยิ่งเพิ่มอาการ ทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ หรือการรับประทานเนื้อแดงในปริมาณมากอาจทำให้นำไปสู่โรคข้ออักเสบได้
- อาหารรสหวาน
สำหรับผู้ที่ปวดเข่าอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงอีกหนึ่งอย่างคืออาหารที่มีรสหวาน มีน้ำตาลเยอะ ซึ่งมักพบได้ทั่วไปในน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไอศกรีม เค้ก คุกกี้ และขนมหวานอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าเมื่อยิ่งรับประทานอาหารที่มีรสหวานจะยิ่งส่งผลไม่ดีต่ออาการปวดเข่า เนื่องจากจะยิ่งกระตุ้นเนื้อเยื่อ และข้อต่อให้เกิดการระคายเคือง ยิ่งไปกว่านั้นอาจนำไปสู่โรคอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
- อาหารรสเค็ม
การบริโภคอาหารรสเค็มที่มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงอย่างเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ฯลฯ มาก จะทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมน้ำได้ และยิ่งไปกว่านั้นจะทำให้คนที่ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม มีอาการกำเริบเพิ่มขึ้นอีก
- อาหารโซเดียมสูง
โซเดียมจะกระตุ้นให้เซลล์กักเก็บน้ำไว้มากเกินไป ทำให้ร่างกายบวมน้ำมีน้ำหนักตัวมากขึ้น ส่งผลต่อการรับน้ำหนักของหัวเข่า ทำให้หัวเข่าเสื่อมเร็วขึ้น นอกจากนี้โซเดียมยังส่งผลให้เกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
อาหารท้องผูก กินเยอะยิ่งทำให้ถ่ายยาก เพราะขัดขวางระบบย่อยอาหาร
- อาหารไขมันสูง
ส่วนใหญ่มักมีวิธีการปรุงอาหารด้วยน้ำมันทำให้อาหารประเภทนี้จะมีไขมันอิ่มตัวสูงมาก นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายส่วนอื่นๆ แล้ว ยังส่งผลเสียต่ออาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมอีกด้วย เพราะจะยิ่งเพิ่มอาการอักเสบให้กับข้อมากขึ้น ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เปลี่ยนวิธีการปรุงจากทอดเป็นการอบแทนเพื่อลดปริมาณไขมันจะดีกว่า
- อาหารกรดไขมันโอเมก้า-6
แหล่งอาหารธรรมชาติที่มีกรดไขมันโอเมก้า-6 เช่น ข้าวโพด ดอกคำฝอย ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน น้ำมันคาโนลา ถั่ว และเนื้อสัตว์ มีส่วนทำให้อาการอักเสบแย่ลงหากบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-6 ในปริมาณมาก
- เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูง
การปรุงเนื้อสัตว์ด้วยอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดสาร AGEs หรือสารเร่งความชรา ซึ่งจะเข้าไปทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำให้อวัยวะเสื่อมเร็วขึ้น เป็นต้นตอของโรคต่างๆ มากมาย รวมถึงโรคข้อเข่าเสื่อม
- คาเฟอีน
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมามากกว่าปกติทางปัสสาวะ เมื่อร่างกายสูญเสียแคลเซียมเป็นปริมาณ ก็อาจทำให้มวลกระดูกบางลง เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมด้วยเช่นกัน
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ จะเข้าไปรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของยาบรรเทาอาการปวดเข่า และยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ดื่มมาเป็นเวลานานอาจยิ่งทำให้เพิ่มความรุนแรง ละความถี่ของโรคเก๊าท์ได้
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อปวดเข่า
เมื่อเกิดอาการปวดเข่าขึ้น ไม่ว่าจะปวดเข่าจากสาเหตุอะไรก็ตาม จะต้องมีวิธีดูแลตัวเอง และดูแลหัวเข่าให้สามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ หรือทำให้อาการปวดเข่าบรรเทาลง
- ออกกำลังกายประเภทที่ไม่ลงน้ำหนักตัวที่เข่ามาก เช่น ว่ายน้ำ
- เป็นผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ควรออกกำลังเบาๆ บริหารกล้ามเนื้อเข่าสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้เข่าไม่ต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
- หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้ปวดเข่า เช่น นั่งยองๆ ย่อตัว นั่งกับพื้น
- ไม่ใช้งานหัวเข่าหนักเกินไป เช่น ยืนนานๆ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
- ควรนั่งเก้าอี้ที่มีระดับความสูงเหมาะสม (เบาะของเก้าอี้จะสูงประมาณหัวเข่า)
- เลือกรองเท้าที่พื้นมีความนุ่ม ขนาดกระชับพอดีเท้า ไม่ใส่ส้นสูง
- หากมีอาการบาดเจ็บหรือปวดเข่ามาก ให้ประคบร้อน เย็น และใช้ยานวด
- หลีกเลี่ยงห้องน้ำที่เป็นโถนั่งยอง
- หากปวดเข่ามากจนทำให้เดินลำบาก ควรใช้ไม้เท้าช่วยค้ำยัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
อาหารที่ควรกินหลังศัลยกรรม แผลหายฟื้นตัวไว ลดความเสี่ยงแผลติดเชื้อ!
เมนูเสริมแคลเซียมช่วยบำรุงฟัน ชะลอความเสื่อม ลดเลือดออกตามไรฟัน!