โรคกระเพาะหายขาดได้หรือไม่ ? เทคนิคป้องกันไม่ให้ป่วยแถมลดความเครียดได้!
หนึ่งในโรคเรื้อรังและพบบ่อยในชาวออฟฟิศ บางวันมื้อเช้าคือบ่าย 2 เร่งรีบวิ่งเข้าประชุม ออกมานั่งพิมพ์งานจมอยู่กับความเครียดและกดดันจนกระเพาะประท้วง แนะเทคนิคป้องกันไม่ได้ป่วย ลดความเครียด รวมทั้งหากเป็นแล้วทำยังไงไม่ให้กำเริบ แพทย์เผยวิธีรักษาให้หายขาด!
โรคกระเพาะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วจนดูเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง กินยาเดี๋ยวก็ดีขึ้นก็หาย แต่ไม่น้อยหรือแทบทั้งหมด มีอาการเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ปวดทีทรมานจนบางครั้งทำงานหรือทำกิจกรรมอะไรไม่ได้เหมือนเดิม ซึ่งนับเป็นโรคที่บั่นทอนสุขภาพโรคหนึ่งเลยทีเดียว โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานประจำ ที่มีชีวิตรูทีนและเร่งรีบ บางครั้งทั้งวันแทบจะไม่ได้กินข้าว มื้อเช้าจริงๆ เกือบบ่าย 2 อย่างนี้ ชีวิตอยู่ได้ด้วยกาแฟ น้ำชงหวาน
อดอาหารเย็นไม่ใช่ทางออกลดน้ำหนักที่ดี แนะเทคนิคกินทุกมื้อได้ไม่ต้องอด!
แผลในกระเพาะอาหาร อาการเตือนต้องรีบรักษา ก่อนเจอภาวะแทรกซ้อนอันตราย!
กว่าจะได้พักร้านข้าวก็ปิดหมดแล้ว สุดท้ายก็ต้องพึ่งร้านสะดวกซื้อ ไม่แปลกเลยค่ะ ที่กระเพาะจะประท้วง ด้วยการปวดจุดๆ แสบๆ ซึ่งนับเป็นสัญญาณแรกรีบรักษาเลย!
สาเหตุหลักของโรคกระเพาะ
- ปล่อยให้ท้องว่างนานๆ ทั้งกินไม่ทัน และไม่มีเวลากิน น้ำย่อยที่ควรจะย่อยอาหารเลย มากัดกระเพาะแทน
- ความเครียด กระตุ้นเซลล์ในกระเพาะให้หลั่งกรดมากขึ้น ส่งผลให้อาหารไม่ย่อย แสบท้อง อืด แน่น
- ทานอาหารรสจัด ของแซ่บมักอร่อยเสมอไม่เกินจริง! ไม่ว่าจะเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด ต่างก็เป็นตัวการทำร้ายสุขภาพดีๆ
วิธีกันไม่ให้เป็นโรคกระเพาะ
- หาของว่างติดโต๊ะไว้ เช่น ขนมปัง หรือแอปเปิ้ล ไว้รองท้องก่อนทานอาหารเต็มมื้อ
- หลังจากงานหรือประชุมที่เครียดจบสิ้น ลองสร้างเซฟโซนเล็กๆ ใส่หูฟังเปิดเพลงโปรดที่ชอบ แล้วฮัมตามเบาๆ รับรองว่าหายเครียดดีเลย
- ลุกไปหาขนมยืดเส้นยืดสาย บ้างจะได้ไม่เครียดนะคะ
- หาเวลาหลังเลิกงานไปออกกำลังกายระบายความกดดัน
- ชิมก่อนปรุงและพยายามไม่ปรุงอาหาร หรือถ้ารู้ตัวว่ากินรสจัดไปแล้ว ให้ดื่มน้ำตามมากๆ
สัญญาณโรคกระเพาะอักเสบ เป็นหนักขณะไหนเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร?
เป็นแล้วต้องดูแลตัวเองยังไงไม่ให้กำเริบ
ถ้ารู้ว่าเป็นโรคนี้เข้าให้แล้ว หรือแม้แต่สงสัย ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวางแผนรักษา การกินอาหารก็ช่วยได้เหมือนกัน คือกินแต่พออิ่ม ไม่ควรกินถี่เกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะทำงานหนัก หลั่งกรดออกมาตลอดเวลา ส่งผลให้หายช้า ควรทานอาหารที่ย่อยง่าย และ หลีกเลี่ยงอาหารทอดไขมันสูง ลดหรืองดอาหารกระตุ้นน้ำย่อย เช่น อาหารรสจัด ของดอง น้ำอัดลม ชา และกาแฟ, งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ที่จะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร
โรคกระเพาะสามารถรักษาให้ให้หายขาดได้หรือไม่
หายขาดได้ แต่ใช้ระยะเวลาแตกต่างกันในแต่ละกรณี ถ้าเป็นแผลในกระเพาะอาหารสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วย การกินยารักษาแผล แต่ถ้าในกรณีที่กระเพาะอักเสบเรื้อรัง ก็ต้องใช้เวลาในการปรับพฤติกรรมคนไข้ และให้ยาช่วยรักษาตามอาการ
สามารถซื้อยาทานเองได้หรือไม่
สามารถปรึกษาเภสัชกรเพื่อรักษาเบื้องต้นได้ เช่น ทานยาลดกรดเพื่อลดอาการแสบร้อน แต่ถ้ามีอาการเรื้อรังเกินกว่าสองอาทิตย์ ควรมาพบแพทย์ เพราะบางทีกระเพาะอาจเป็นแผล ยาลดกรดก็ไม่ช่วยอะไร อีกทั้งการกินยาลดกรดเป็นเวลานาน มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม ทำให้กระดูกบางลงได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
เครียดลงกระเพาะ เช็กอาการจุกลิ้นปี่- สาเหตุ แบบไหนควรรีบพบแพทย์
“กล้วยหอม”ผลไม้เติมความสดชื่น ป้องกันท้องผูก แต่กินเกินอาจแคลอรีพุ่ง!