เช็กอาการโรคนอนไม่หลับ เพิ่มโรคเรื้อรัง เสี่ยงป่วยซึมเศร้า 2 เท่า!
การนอนที่ดีคือการนอนที่มีคุณภาพหลับสนิทไม่ผวาตื่นกลางดึง ตื่นมาสดชื่น แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังควรรีบปรึกษาแพทย์!
การนอนหลับ ปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิต หากเรานอนหลับพักผ่อนได้ดีและเพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง สดชื่นแจ่มใส ไม่หงุดหงิดง่าย แต่ในบางคนที่พบว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ ควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนบั่นทอนสุขภาพ และเพิ่มอัตราความเสี่ยงโรคและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร!
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน เป็นภาวะนอนหลับยาก หลับไม่สนิทหรือหลับๆ ตื่นๆ
7 อาการนอนผิดปกติ และวิธีรักษาตามสาเหตุ! เสี่ยงสำลักขณะหลับ
วิจัยพบคนที่ถูก“ผีอำบ่อย”เกิดจากคุณภาพการนอน-ปัญหาสุขภาพกายและจิตแย่

หากไม่ได้รับการรักษาโดยตรงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตได้ โรคนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ส่วนมากมักจะเกิดในผู้หญิงและผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และเกิดได้จากหลายปัจจัย จึงแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ
- ลักษณะของบุคคล นอนหลับไม่ลึก หูไว ตื่นง่ายหรือมีความวิตกกังวลง่าย
- ปัจจัยกระตุ้น อาทิ การเปลี่ยนงาน การเสียชีวิตของคนที่รัก การหย่าร้าง
- พฤติกรรมของผู้ป่วย การนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานๆ
- การดื่มกาแฟช่วงเวลาเย็นหรือก่อนนอน นอนกลางวันหลังบ่ายสามโมง เป็นต้น
อาการของการนอนหลับ
- นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง
- นอนหลับไม่สนิท
- ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น
- มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง สมาธิลดลง ความสนใจและความจำลดลง อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย
- เกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวัน
4 วิธีช่วยให้การนอนหลับเป็นเรื่องง่ายขึ้น เหตุผลทำไมต้องนอนก่อน 5 ทุ่ม
อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย เพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า และยังสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และอาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิต
โรคนอนไม่หลับเรื้อรังยังเพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถและอุบัติเหตุจากการทำงานได้ ดังนั้นควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการแพทย์
เคล็บลับคนหลับยาก ลองปรับ 7 พฤติกรรมช่วยให้นอนหลับสบายไม่ต้องพึ่งยา!
วิจัยพบ “นอนไม่พอ” เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่ม 47% สมรรถภาพทางเพศเสื่อม!