ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ในผู้สูงอายุ สาเหตุและการป้องกัน!
ผู้สูงอายุหกล้ม เรื่องใหญ่ ไม่เกินจริง เพราะเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนมากมาย ชวนรู้จัก ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย สาเหตุใหญ่ในผู้สูงอายุต้องรีบป้องกันแก้ไข!
หลังจากอายุ 40 ปี กล้ามเนื้อและระบบต่างๆของร่างกาย จะมีความแข็งแรงลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเมื่ออายุ 80 ปีจะมวลกล้ามเนื้อจะลดลงถึง 50% รวมถึงมีการเพิ่มของไขมันที่แทรกในชั้นกล้ามเนื้อ การลดลงของเซลล์ประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองและกล้ามเนื้อ การลดลงของฮอร์โมนบางชนิด ความสามารถในการเปลี่ยนโปรตีนเป็นพลังงานลดลง เสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลถึงการทำงาน เช่น การทรงตัว การเคลื่อนไหวต่าง ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงการหกล้ม เป็นต้น
สูงวัยหลงลืมแบบไหนเสี่ยงอัลไซเมอร์ เทียบอาการสัญญาณควรพบแพทย์
ปัญหาการนอนหลับผู้สูงอายุ ต้นตอโรคแทรกซ้อนต้องระวัง!
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) พบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรืออาจพบได้ในช่วงอายุที่น้อยหรือมากกว่านี้ขึ้นกับหลายปัจจัย และสามารถพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยในผู้ที่อายุ 60 ปี พบได้ประมาณ 5-13% และพบมากขึ้นเป็น 11-50% ในผู้ที่อายุ 80 ปี โดยช่วงอายุที่เริ่มมีอาการอาจมากหรือน้อยกว่านี้
สาเหตุของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
- โรคประจำตัวต่าง ๆ อาทิ ถุงลมโป่งพอง โรคไต มะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ภาวะพร่องอินซูลินและเบาหวาน
- การอักเสบในร่างกาย
- ความผิดปกติของเซลล์ไมโตคอนเดรีย
- การลดจำนวนสารสื่อประสาทในร่างกาย
- ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง
- การเคลื่อนไหวลดลง
- การขาดสารอาหารโดยเฉพาะประเภทโปรตีน
- ภาวะน้ำหนักเกิน
การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การวัดพลังบีบของมือ (Handgrip test)
- การวัดความสามารถในการลุกนั่ง (Chair stand test)
- การวัดความเร็วในการเดิน (Walking speed test)
- การทดสอบสมรรถภาพร่างกายแบบผสมผสาน เช่น Short physical performance battery (SPPB) และ Timed-up and go test (TUG) เป็นต้น
- การวัดมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ
- Dual-energy X-ray absorptiometry (DEXA หรือ DXA) เป็นการใช้รังสีเอกซเรย์กำลังต่ำเพื่อวัดมวลกล้ามเนื้อมวลไขมัน และความหนาแน่นของกระดูก
- Bioelectrical impedance analysis (BIA) เป็นการวัดไขมันในร่างกายเทียบกับกล้ามเนื้อ
- ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก กล้ามเนื้อ แร่ธาตุ และ %ไขมัน แบบละเอียด Advance Bone Densitometer มีความแม่นยำมากกว่าระบบอื่นๆ ถึง 40%*
การป้องกัน ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นที่โปรตีน ควรรับประทานโปรตีน 1-1.3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- อาหารเสริมบางชนิดอาจช่วยป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยได้ เช่น วิตามินดี, เวย์โปรตีน, ครีเอทีน (Creatine)
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจร่างกายและประเมินสมรรถภาพทางกาย
ผู้สูงอายุ “เบื่ออาหาร” อาจสะท้อนภาวะซึมเศร้า-ปัญหาสุขภาพ
การดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการขาอ่อนแรง
- ควรป้องกันการพลัดตกหกล้ม อาจมีอุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า คอกช่วยเดิน
- จัดดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยต่อการเคลื่อนไหว
- ช่วยดูแลให้มีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
- จัดอาหารที่มีประโยชน์และมีส่วนประกอบของโปรตีนเพียงพอที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- พาไปตรวจติดตามกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
แนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เช่น การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านและเพิ่มความแข็งแรงของกลามเนื้อ การออกกำลังกายป้องกันการหกล้ม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไป ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการเริ่มออกกำลังกาย ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงในผู้สูงอายุได้ แต่โดยส่วนใหญ่อาการมักค่อยเป็นค่อยไป หากมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างฉับพลันควรระวังภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน และควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
เท้าบวมในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร? มีอาการเจ็บร่วมให้รีบพบแพทย์!
8 ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยการทรงตัว กระดูกแข็งแรง!