พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ทำไมคนยุคใหม่ถึงเสี่ยงมากกว่า?
มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1 ใน 5 มะเร็งที่พบมากที่สุดในไทย คร่าชีวิต 3 พันคนต่อปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากพันธุกรรมยังเชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตคนยุคใหม่ ที่เร่งรีบและมองข้ามการออกกำลังกาย
มะเร็งลำไส้ เป็นมะเร็งที่พบบ่อย 1 ใน 5 ของไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง คร่าชีวิตคนไทยไปกว่า 3,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มที่คนไทยจะเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นอีก 2.4 เท่าในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะคนเมืองที่ใช้ชีวิตแบบรีบเร่ง ทานอาหารจานด่วน เน้นกินเนื้อแดง อาหารแปรรูป กินอาหารปิ้งย่าง และทานผัก-ผลไม้น้อยลง ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้
“มะเร็งลำไส้ใหญ่” สัญญาณคล้ายโรคทั่วไป แต่ห้ามละเลยเสี่ยงลุกลามรุนแรง
หญิงวัย 29 มีไข้สูง ปอดอักเสบมีฝ้า จากเชื้อแบคทีเรีย ไมโคพลาสมา
พฤติกรรมการกินเสี่ยงมะเร็งลำไส้
- กินอาหารปิ้งย่าง-แปรรูป เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้
เชื่อว่าหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า การทานอาหารปิ้งย่าง หรืออาหารแปรรูปมากเกินไป เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง เพราะเมื่อย่างเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียมหรือมีรอยดำจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งติดมากับอาหาร หากกินบ่อยๆ จะสะสมในร่างกายและเป็นมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้
- ชอบกินของติดมันและเนื้อแดงมากเกินไป
ทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม ในปริมาณมาก
- ไม่ทานผัก-ผลไม้ หรือทานน้อยเกินไป ไม่มีตัวช่วยทำความสะอาดลำไส้ ขับถ่ายไม่คล่อง
- ไม่ออกกำลังกาย
- เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
- สูบบุหรี่จัด และต่อเนื่องยาวนาน
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำ
นอกจากเรื่องอาหารการกินแล้ว ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ ยังมาจากพันธุกรรม ที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ หรือมีมะเร็งในส่วนอื่นๆ ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาก ยิ่งควรได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกัน
โรคมะเร็งลำไส้ ในระยะแรกจะยังไม่แสดงออกการมากนัก และอาการเริ่มแรกจะคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น น้ำหนักลด ท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายผิดปกติ มีเลือดออกทางทวาร หรืออุจจาระมีลักษณะเปลี่ยนไป อุจจาระมีเลือดปน มีสีคล้ำ หรือกลิ่นเหม็นผิดปกติ หากมีการปวดท้องร่วมด้วย ลักษณะการปวดขึ้นอยู่กับก้อนมะเร็งและตำแหน่งที่พบ เช่น ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดบิดอย่างรุนแรง เป็นต้น
ความเสี่ยง “ไขมันสะสม” อันตรายต่อตับ-ค่าไขมันในเลือด บั่นทอนสุขภาพ!
วิธีคัดกรองมะเร็งลำไส้รักษาได้
ในเบื้องต้น การตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจอุจจาระ เป็นต้น โดยวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การส่องกล้อง เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและให้ความแม่นยำได้ดี ทำให้แพทย์ทั่วโลกเลือกใช้วิธีนี้ การส่องกล้องยังสะดวกสบายกับตัวผู้ป่วย เพราะไม่ต้องตรวจบ่อยๆ ในกรณีที่ไม่พบความผิดปกติ สามารถตรวจในระยะ 5-10 ปีได้ และหากพบก้อนเนื้อ ก็สามารถเก็บชิ้นเนื้อได้ทันที
โรคมะเร็งสำไส้ หากตรวจพบเร็ว โอกาสรักษาหายจะสูงมาก ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติหรือมีอาการน่าสงสัย ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กให้แน่ใจ จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
เดินวันละ 1 หมื่นก้าว ช่วยฟื้นสุขภาพ โรคประจำตัวดีขึ้นจริงหรือไม่?
ริ้วรอยตามช่วงอายุ วัย 30+ ความหย่อนคล้อยเริ่มชัด! เผยเทคนิคชะลอวัย